ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาซื้อขายธุรกิจ
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาซื้อขายธุรกิจ
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน
สัญญาซื้อขายกิจการหรือสัญญาซื้อขายธุรกิจ คือสัญญาที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ ผู้ขายกิจการซึ่งเป็นผู้ประกิจการ ธุรกิจ หรือร้านต่างๆ ซึ่งดำเนินการประกอบกิจการมาอยู่ก่อนแล้ว และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง ได้แก่ ผู้ซื้อกิจการซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจที่ซื้อขายกันดังกล่าวนั้น
กล่าวคือเข้ามาเป็นผู้มีอำนาจควบคุมการบริหารจัดการกิจการหรือดำเนินธุรกิจดังกล่าว กำหนดนโยบายหรือแนวทางในการดำเนินกิจการหรือธุรกิจ เข้ามารับผลประโยชน์ในการประกอบกิจการหรือธุรกิจ ได้รับผลกำไร ซึ่งรวมถึงรับภาระความเสี่ยงจากการดำเนินกิจการหรือดำเนินธุรกิจดังกล่าวด้วย เช่น ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ขาดทุน ความรับผิดตามกฎหมายในการดำเนินการกิจการหรือธุรกิจดังกล่าว
ในการจัดทำสัญญาซื้อขายกิจการหรือสัญญาซื้อขายธุรกิจ ผู้จัดทำควรมีข้อพิจารณา ดังต่อไปนี้ กำหนดความต้องการของผู้ซื้อกิจการว่าจะซื้อกิจการหรือธุรกิจส่วนใดบ้าง ต้องการซื้อทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เพื่อกำหนดสินทรัพย์ของกิจการหรือธุรกิจต่อไปว่าจะซื้ออะไรบ้าง เช่น อาคารสถานที่ประกอบกิจการ อุปกรณ์ สินค้าคงคลัง สิทธิการเช่า เครื่องหมายการค้า ข้อมูลความลับในการประกอบธุรกิจ สิทธิเรียกร้องในลูกหนี้การค้าของกิจการ หรือพนักงานซึ่งมีความรู้ความสามารถในการประกอบกิจการดังกล่าว
คู่สัญญาควร กำหนดกรอบระยะเวลาสำคัญต่างๆ เช่น วันที่ส่งมอบกิจการ วันที่จะไปจดทะเบียนโอนทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ (ถ้ามี) วันที่จะไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า (ถ้ามี) วันที่จะร่วมกันดำเนินการตรวจและนับสินค้าคงคลัง (ถ้ามี) เป็นต้น และเงื่อนไขอื่นๆ อันเกี่ยวกับการซื้อขายกิจการหรือธุรกิจ
ในการซื้อขายสินทรัพย์บางประเภทคู่สัญญาอาจมีหน้าที่ในการดำเนินการเพิ่มเติมตามกฎหมายด้วย เช่น การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ การจดทะเบียนการโอนสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (เช่น เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตรกรรมวิธี/กระบวนการผลิต) เป็นต้น นอกจากนี้ ในกรณีที่กิจการหรือธุรกิจเป็นกิจการหรือธุรกิจที่มีกฎหมายควบคุม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเจ้าของผู้ดำเนินกิจการหรือธุรกิจที่ได้รับอนุญาตดังกล่าวอาจจะต้องดำเนินการขออนุญาตเพื่อประกอบกิจการหรือธุรกิจใหม่หรือดำเนินการอื่นๆ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานผู้ให้อนุญาตประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้นๆ ด้วย
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667