IFRS9 หรือ TFRS9 (Thai Financial Reporting Standards 9) […]

IFRS9 หรือ TFRS9 (Thai Financial Reporting Standards 9) สำหรับประเทศไทย สภาวิชาชีพบัญชี (Thailand Federation of Accounting Professions : TFAC) ได้เริ่มบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งแน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฯ ในครั้งนี้ ถือเป็นการยกระดับงบการเงินของกิจการในไทยให้ดียิ่งขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี ย่อมส่งผลกระทบต่อกิจการที่มีเครื่องมือทางการเงินด้วยเช่นกัน ใน เงินลงทุน เงินให้สินเชื่อ ตราสารอนุพันธ์ ซึ่งรวมถึงสถาบันการเงินอีกด้วย

IFRS9 หรือ TFRS9 คืออะไร ?

         ในปัจจุบันคำว่า “มาตรฐานการรายงานทางการเงิน” (TFRS) เป็นชื่อที่เรียกกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาชีพบัญชี และ TFRS นี้เองเป็นมาตรฐานที่จำเป็นต่อการจัดทำงบการเงินที่นักลงทุน ที่ปรึกษาทางการเงิน ตลอดจนนักวิเคราะห์ให้ความสนใจในการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ

โดย TFRS ได้จัดทำขึ้นตาม IFRS ซึ่งถือได้ว่าเป็นภาษาทางธุรกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสื่อสารรายการธุรกิจที่เกิดขึ้นในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นรายการซื้อและขายในแต่ละวันหรือธุรกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การทำสัญญาเช่าสินทรัพย์

IFRS9 ใช้กับใครบ้าง ?

         IFRS9 นั้นไม่ได้บังคับใช้กับทุกบริษัท IFRS 9 บังคับใช้กับกิจการที่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities หรือ PAEs) เท่านั้น และไม่บังคับใช้แก่ กิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises หรือ SMEs หรือกิจการที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities)

IFRS9 อย่างง่าย

ประโยชน์ของ TFRS

         ให้ประโยชน์ในการรวบรวมและสะท้อนรายการธุรกรรมต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบที่อ่านและเข้าใจง่ายแก่นักลงทุน นอกจากนี้ งบการเงินของกิจการยังต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อแสดงความเชื่อมั่นในความถูกต้องตามที่ควรของฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของงบการเงินนั้น ซึ่งทั้ง TFRS และ รายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่มีการปรับปรุงให้มีการเปิดเผยข้อมูลชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ ยังมีประโยชน์ในการรวบรวมและสะท้อนรายการธุรกรรมต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบที่อ่านและเข้าใจง่ายแก่นักลงทุน นอกจากนี้ งบการเงินของกิจการยังต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อแสดงความเชื่อมั่นในความถูกต้องตามที่ควรของฐานะการเงิน ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของงบการเงินนั้น ซึ่งทั้ง TFRS และ รายงานของผู้สอบบัญชีแบบใหม่มีการปรับปรุงให้มีการเปิดเผยข้อมูลชัดเจนมากขึ้น ดังนั้นการสัมมนาครั้งนี้จึงเป็นการนำเสนอประเด็นที่ควรรู้ในการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงสำหรับผลกระทบของมาตรฐานดังกล่าวในอนาคต

IFRS 9 ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1. การจัดประเภทและวัดมูลค่า (classification and measurement)

IFRS9 อย่างง่าย

การจัดประเภทและวัดมูลค่า คือ มาตรฐานการบัญชีเดิมกำหนดให้พิจารณาการจัดประเภทและการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินจากวัตถุประสงค์ของการถือครอง แต่มาตรฐาน TFRS 9 กำหนดให้พิจารณาจากรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (business model) และลักษณะของกระแสเงินสดที่จะได้รับ (cash flow characteristics) นอกจากนี้ ยังกำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าหนี้สินทางการเงินด้วยวิธี amortized cost1 เพิ่มเติมจากมาตรฐานการบัญชีเดิมอีกด้วย

2. การด้อยค่า (impairment)

การด้อยค่า คือ มาตรฐานใหม่ที่กำหนดให้พิจารณากันเงินสำรองให้ครอบคลุมถึงความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต (Expected Loss: EL) โดยพิจารณาจากข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และใช้แบบจำลองในการประมาณ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss: ECL) ตามการจัดสถานะหรือชั้นสินทรัพย์ รวมถึงได้กำหนดวิธีการคำนวณเงินสำรองขึ้นใหม่ด้วย

3. การป้องกันความเสี่ยง (hedge)

IFRS9

การป้องกันความเสี่ยง คือ ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาจากมาตรฐานเดิมและเป็นทางเลือกที่กิจการสามารถเลือกนำมาถือปฏิบัติได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมการบริหารความเสี่ยงของกิจการที่ใช้เครื่องมือทางการเงินในการจัดการฐานะเปิดที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยงนั้น ๆ ในงบการเงิน โดยมาตรฐาน TFRS 9 ได้ปรับให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยสามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงเพียงบางส่วนได้สำหรับกิจการที่เลือกใช้การบัญชีป้องกันความเสี่ยงต้องกำหนดระดับประสิทธิผลของการป้องกันความเสี่ยงระหว่างรายการที่มีการป้องกันความเสี่ยง (hedge item) และเครื่องมือที่ใช้ป้องกันความเสี่ยง (hedging instrument) โดยต้องจัดทำเอกสารระบุกลยุทธ์ ความสัมพันธ์ของการป้องกันความเสี่ยง วัตถุประสงค์ ลักษณะของความเสี่ยงที่จะป้องกัน

IFRS9 กับผลกระทบต่อการแสดงรายการในงบการเงิน

         นอกจากมาตรฐาน TFRS 9 จะเปลี่ยนแปลงหลักการที่สำคัญในการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าแล้ว ยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการแสดงรายการบางรายการในงบการเงิน เช่น สินทรัพย์/หนี้สินทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยราคายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และกำไรขาดทุนอื่น ๆ ที่เกิดจากการวัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม รวมถึงจะมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการวัดมูลค่าสินทรัพย์ หนี้สิน และการกันเงินสำรองที่อาจเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งจะทำให้อัตราส่วนทางการเงินบางรายการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น (1) เปลี่ยนแปลงจาก Special Mention (SM) ratio เป็น stage 2 ratio ซึ่งอาจมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้น เนื่องจากขอบเขตการนับลูกหนี้ใน stage 2 กว้างกว่าการนับลูกหนี้ในรูปแบบเดิม (2) Net Interest Margin (NIM) อาจมีจำนวนสูงขึ้น เนื่องจากการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยจากส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนของลูกหนี้ NPL ที่ตามหลักเกณฑ์เดิมให้หยุดรับรู้เมื่อเป็นลูกหนี้ NPL อย่างไรก็ดี ส่วนที่รับรู้รายได้เพิ่มของ NPL นี้จะมีการตั้งสำรองเต็มจำนวน

IFRS9 การเตรียมความพร้อมของสถาบันการเงิน

          มาตรฐานใหม่นี้จะกระทบต่อกิจการที่ต้องถือปฏิบัติ เช่น กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งสถาบันการเงิน แต่ไม่รวมกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities: NPAEs) ที่ต้องปรับกระบวนการทำงาน ระบบงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลและการจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำแบบจำลอง (model) การใช้ดุลยพินิจและนโยบายต่าง ๆ ทำให้กิจการที่ต้องถือปฏิบัติตามมาตรฐาน TFRS 9 ต้องใช้เวลาในการปรับตัวค่อนข้างมาก ดังนั้น ที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อม สภาวิชาชีพบัญชีได้ร่วมกับผู้สอบบัญชี สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องผลักดันการนำ TFRS 9 ไปใช้ ทำการศึกษาหลักการผลกระทบวิเคราะห์ปัญหาในทางปฏิบัติ ตลอดจนเตรียมความพร้อม และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2559 โดย ธปท. ได้มีการสื่อสารและชี้แจงต่อสาธารณชน รวมทั้งสำรวจผลกระทบต่อระบบสถาบันการเงินและออกมาตรฐานการบัญชีและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในช่วงปลายปี 2561 ด้านสถาบันการเงินได้ทดลองคำนวณเงินสำรองตาม TFRS 9 (parallel run) แล้วในช่วงปี 2562 

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ifrs9 ติดต่อเรา

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.