ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาประณีประนอมยอมความ
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

รถชน ข้าวของเสียหาย หมิ่นประมาทและอื่น ๆ ไม่ต้องการขึ้นศาลหรือไปศาลให้ยุ่งยากเป็นคดีความใหญ่โต เลือกจับมือจบใน  “สัญญาประนีประนอมยอมความ” ทำข้อตกลงเงื่อนไขทั่วไป ตกลงค่าเสียหายและวิธีจ่ายที่เป็นธรรม ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายแก่ทุก ๆ ฝ่าย

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาประณีประนอมยอมความ

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน.

สัญญาประณีประนอมยอมความ คืออะไร

สัญญาประนีประนอมยอมความ หรือบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความ คือสัญญาซึ่งมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย (เช่น คู่พิพาท คู่ความ) อันได้แก่ ผู้รับสัญญา (เช่น ผู้เสียหาย โจทก์) ฝ่ายหนึ่ง และผู้ให้สัญญา (เช่น ผู้กระทำความเสียหาย ผู้กระทำความผิด จำเลย) อีกฝ่ายหนึ่ง ตกลงกันระงับข้อพิพาทระหว่างกันโดยการผ่อนผันให้แก่กัน ซึ่งส่งผลให้สิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทเดิมระงับสิ้นไปและเกิดเป็นสิทธิเรียกร้องใหม่ตามที่คู่สัญญาได้ตกลงผ่อนผันและประนอมให้แก่กันในสัญญาประนีประนอมยอมความ

การที่กฎหมายยอมรับให้มีการประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าในศาลหรือนอกศาล เนื่องจาก การประนีประนอมยอมความเป็นการระงับข้อพิพาทที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดทรัพยากร (เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย และการดำเนินการ) ในขณะที่คู่สัญญาต่างก็ยังได้รับความเป็นธรรมและได้รับการชดเชยจนเป็นที่พอใจ ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ตนเป็นผู้ตกลงยอมรับนั้นเอง

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

การจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ผู้จัดทำ ไม่ว่าจะเป็นตัวคู่สัญญาเองหรือตัวแทน ควรมีข้อพิจารณา ในรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยต้องตรวจเช็คอย่างละเอียดและครบถ้วน เช่น รายละเอียดของคู่สัญญา เช่น ชื่อ ที่อยู่ เพื่อการอ้างอิงที่ถูกต้อง รายละเอียดของคดี กรณีประนีประนอมยอมความในศาล เช่น หมายเลขคดีดำ ข้อหาหรือฐานความผิดที่ฟ้อง วันที่ฟ้อง ศาลที่รับคำฟ้อง รายละเอียดข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญา เช่น การกระทำผิดสัญญา การผิดนัดชำระหนี้ การทำละเมิด การกระทำความเสียหาย หรือการกระทำความผิดอาญาที่เป็นเหตุแห่งข้อพิพาท รายละเอียดข้อตกลงที่คู่สัญญาได้ตกลงประนีประนอมกันเรียบร้อยแล้ว เช่น การดำเนินการแก้ไขเยียวยา การชำระเงินค่าเสียหาย จำนวนเงิน และกำหนดระยะเวลาการชำระเงิน การเยียวยาชดใช้ต่างๆ รายละเอียดข้อตกลงอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญา (เช่น ทรัพย์สิน หรือการค้ำประกัน) เงื่อนไขการยอมความ

เมื่อคู่สัญญาเจรจาตกลงการประนีประนอมยอมความจนเป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ให้ผู้จัดทำระบุรายละเอียดและข้อความสำคัญในสัญญาครบถ้วน และจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นลายลักษณ์อักษรและให้คู่สัญญาหรือตัวแทนผู้มีอำนาจ ลงนามในสัญญาดังกล่าวให้เรียบร้อย ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สัญญาประนีประนอมยอมความต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

ในการเข้าทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องและความรับผิดเดิมที่เป็นเหตุแห่งข้อพิพาท (เช่น หนี้ ความผิด) ระงับสิ้นสุดลงและก่อสิทธิเรียกร้องและความรับผิดใหม่ตามที่ได้ตกลงกันในสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น คู่สัญญาต้องมั่นใจว่าสิทธิเรียกร้องและความรับผิดใหม่ตามที่ได้ตกลงกันเป็นที่พอใจและครอบคลุมความเสียหายใดๆ อย่างครบถ้วนแล้ว คู่สัญญาจะไม่สามารถกลับไปอ้างสิทธิเรียกร้องและความรับผิดเดิมที่ระงับไปแล้ว สิทธิเรียกร้องใหม่ที่เกิดขึ้นตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีกำหนดอายุความ 10 ปี ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมีกำหนดอายุความเท่าใด โดยอายุความตามสิทธิเรียกร้องเดิมย่อมสะดุดหยุดลง

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667