ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาประกอบธุรกิจแฟรนไซส์
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

ธุรกิจเฟรนไชส์นับเป็นธุรกิจแห่งยุคสมัย อยากลองเป็นเจ้าแห่งการประกอบธุรกิจเฟรนไชส์ ทั้งข้อตกลงผลกำไร และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจ เพื่อความเข้าใจของทุก ๆ ฝ่าย ดาวน์โหลดสัญญานี้เลย ถูกต้อง บังคับใช้ได้จริง และมีผลตามกฎหมาย

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับสัญญาประกอบธุรกิจแฟรนไซส์

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

สัญญาประกอบธุรกิจแฟรนไซส์ คืออะไร ?

สัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์หรือสัญญาการให้สิทธิประกอบธุรกิจ คือสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้ให้สิทธิในการประกอบธุรกิจหรือที่มักรู้จักในชื่อแฟรนไชส์ซอร์ และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจหรือแฟรนไชส์ซี โดยที่ในสัญญานั้น แฟรนไชส์ซอร์จะอนุญาตให้แฟรนไชส์ซีประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ตามเงื่อนไขหรือตามข้อกำหนดในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ โดยที่ ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้สิทธินั้นอาจเป็นธุรกิจประเภทใดและขนาดใดก็ได้ เช่น ธุรกิจร้านอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม ร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น

โดยที่ แฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้ออกแบบและเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นซึ่งได้รับการพัฒนาต่อยอด วางแผน และมีชื่อเสียงเป็นอย่างดี เช่น ระบบและรูปแบบการประกอบธุรกิจ ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของสินค้าและ/หรือบริการ สูตรหรือขั้นตอนการผลิตสินค้าและ/หรือการให้บริการ ในขณะที่ แฟรนไชส์ซีจะมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน (เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าสิทธิ) ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์เพื่อตอบแทนการให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้น โดยที่ แฟรนไชส์ซีจะเป็นผู้ดำเนินการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์นั้นตามเงื่อนไขหรือตามข้อกำหนดในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และภายใต้การควบคุมตรวจสอบจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นหรือแฟรนไชส์ซอร์นั้นเอง

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

คู่สัญญาควรกำหนดลักษณะ ขอบเขต ข้อจำกัด และค่าตอบแทนการให้สิทธิประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ใช้ชัดเจน เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้สิทธิ ลักษณะการให้สิทธิ ระยะเวลาการให้สิทธิ อัตราและกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าตอบแทนการให้ใช้สิทธิ (Franchise Fee) และค่าสิทธิ (Royalty Fee) วัสดุ อุปกรณ์ สินค้าที่ต้องใช้ในการประกอบธุรกิจ การใช้เครื่องหมายการค้า (เช่น ชื่อร้าน ตราหรือยี่ห้อของร้าน กิจการ หรือสินค้า) ความลับทางการค้า (เช่น สูตรอาหาร วิธีขั้นตอน และเทคนิคในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ) คู่สัญญาควรกำหนดข้อกำหนดในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์อย่างชัดเจน

ทั้งนี้เพื่อรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์ เช่น การโฆษณาส่งเสริมการขาย การกำหนดวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าหรือการให้บริการ การตรวจสอบบัญชี การควบคุมคุณภาพ (เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน) การตรวจสอบและประเมินกิจการ การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจ (เช่น การอบรม การสอนงาน การให้คำปรึกษา หรือการให้คำแนะนำการแก้ไขปัญหา) การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

อย่างไรก็ดี ตามประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ ได้กำหนดหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์และข้อจำกัดเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เอาไว้ เช่น

1)แฟรนไชส์ซอร์ต้องเปิดเผยรายละเอียดข้อมูลการประกอบธุรกิจให้แฟรนไชส์ซีทราบก่อนเข้าทำสัญญา เช่น ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจ แผนการดำเนินธุรกิจ การใช้ทรัพย์สินทางปัญญา การต่อ แก้ไข และยกเลิกสัญญา

2)แฟรนไชส์ซอร์ต้องให้สิทธิในการเปิดสาขาใหม่แก่แฟรนไชส์ซีที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงนั้นก่อนที่จะให้สิทธิในการเปิดแก่บุคคลอื่นหรือแฟรนไชส์ซอร์เปิดเสียเอง

3)แฟรนไชส์ซอร์ห้ามกำหนดข้อตกลงหรือเงื่อนไขที่อาจทำให้แฟรนไชส์ซีได้รับความเสียหาย เช่น บังคับซื้อสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ หรือที่มีปริมาณสูงเกินความจำเป็นโดยไม่รับคืน การบังคับซื้อสินค้าจากแหล่งที่กำหนดโดยเฉพาะ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร การเพิ่มภาะหน้าที่ของแฟรนไชส์ซีภายหลังจากทำสัญญาซึ่งไม่มีเหตุผลอันสมควรเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ การกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันระหว่างแฟรนไชส์ซีด้วยกันเอง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (Discrimination)

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667