ศาลยุติธรรม หรือ Court of Justice (COJ) ในฐานะองค์กรรัฐที่มีหน้าที่ใช้อำนาจตุลาการอย่างอิสระ ภายใต้หลักนิติธรรม ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงพร้อมอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาคและทั่วถึง ซึ่งได้มีการกำหนดกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนและพัฒนางานตามภารกิจด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับการให้บริการประชาชนภายใต้ชื่อ D-Court หรือ ศาลดิจิทัล
อาจกล่าวได้ว่า D-Court คือ การเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีของศาลทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่นๆผ่านระบบต่างๆ เช่น
สารบัญ
ระบบ Cios บริการข้อมูลคดี
ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (CIOS) เป็นระบบบริการข้อมูลคดีวันนัดพิจารณา ผลการส่งหมายและคำสั่งศาล ผ่านอินเตอร์เน็ต ตลอด 24 ชั่วโมง เพิ่มความสะดวกและลด ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคู่ความในคดีหรือ ประชาชน ช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียกดู ข้อมูลคดีที่คู่ความเกี่ยวข้องในคดีได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ เข้าใช้งานผ่านทาง https://cios.coj.go.th/
ระบบ E-Filing ยื่นฟ้องเล็กทรอนิกส์
ระบบการยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) เป็นระบบที่ทนายความทั่วประเทศ สามารถยื่นคำฟ้องอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ ไม่ต้องเดินทางไปยื่นฟ้องที่ศาล ขณะที่จำเลยสามารถยื่นคำให้การผ่านระบบได้เช่นเดียวกัน ด้านผู้พิพากษาสามารถรับฟ้องทางอิเล็กทรอนิกส์ หากคดีไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องทำสำนวนกระดาษ ศาลไม่ต้องหาพื้นที่จัดเก็บสำนวนที่มีเพิ่มมากขึ้น และคู่ความยังสามารถติดตามคดีได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์พันธกิจที่จะพัฒนาและสร้างระบบสนับสนุนอำนวยความยุติธรรมให้มีความรวดเร็ว สะดวก ทันสมัย และเป็นสากล เข้าใช้งานผ่านทาง https://efiling3.coj.go.th/
ระบบ E-Notice ประกาศนัดไต่สวนด้วยการลงโฆษณาทางสื่อดิจิทัล
ระบบอิเล็กทรอนิกส์กลางสำหรับศาลยุติธรรม (e-Notice) ใช้ประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่าง ๆ โดยการลงโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ (ทดแทนการประกาศหนังสือพิมพ์) เป็นระบบที่สำนักงานศาลนำมาใช้แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ ทำให้สามารถประกาศได้เร็วขึ้น และไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงประกาศ เข้าใช้งานผ่านทาง https://enotice.coj.go.th/
ระบบ Decision System – DSS บริการคัดถ่ายสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรมทั่วประเทศ
การสแกนคำพิพากษาลงในระบบการจัดเก็บและให้บริการคัดสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลทั่วประเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (DecisionSystem – DSS) ซึ่งท่านสามารถขอคัดถ่ายคำพิพากษาผ่านระบบการจัดเก็บและให้บริการคัดสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลทั่วประเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Decision System – DSS) ที่งานประชาสัมพันธ์ศาลนั้นๆ คำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายได้ ได้แก่ คำพิพากษาศาลชั้นต้น คำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลฎีกา และหมายความรวมถึงคำสั่งของศาลที่ชี้ขาดคดีและคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ระบบ CISMS ขอและสืบพยานผ่านล่ามออนไลน์
ด้วยสำนักงานศาลยุติธรรมได้นำระบบกํารจัดหาล่ามโดยการนำระบบการจัดการงานล่ามศําลยุติธรรม (Court Interpreter Service and Management System : CISMS) มาใช้ในการจัดหาล่ามให้แก่ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย พยาน หรือคู่ความชาวต่างชาติในคดีอาญา เข้าใช้งานผ่านทาง http://cisms.coj.intra/
ระบบ AWIS ฐานข้อมูลการอออกหมายจับ และผลการจับกุมเชื่อมโยงกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ DSI
ระบบฐานข้อมูลหมายจับเอวิส (AWIS) ระหว่างศาลและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ว่า ขณะนี้ ในปี 2563 การบันทึกข้อมูลขอหมายจับลักษณะออนไลน์ ผ่านระบบ AWIS ศาลสามารถเชื่อมโยงระบบข้อมูลใช้ได้กับสถานีตำรวจทั่วประเทศแล้วทั้งในเขตนครบาลและตำรวจภูธร แบบ 100% เช่นเดียวกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมทั้งการเชื่อมโยงกับระบบข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ข้อมูลเพิ่มเติม https://oja.coj.go.th/th/content/category/detail/id/10286/iid/190657
ระบบ Tracking System ระบบติดตามสำนวนคดี เชื่อมโยงสารบบคดีระหว่างตำรวจ อัยการ และศาลในคดีอาญา
เพื่อให้พนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทนายความ คู่ความ และประชาชน สามารถติดตามความเคลื่อนไหว หรือขั้นตอนต่าง ๆ ของสำนวนคดีได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ไม่เสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องลงทะเบียนแสดงตัวตน เพียงท่านทราบเลขหมายเลขคดี ชื่อศาลเท่านั้น ระบบติดตามสำนวนคดี ช่วยให้ทราบว่าสำนวนคดีที่ต้องการค้นหาอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลในขั้นตอนใด โดยพนักงานอัยการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ทนายความ คู่ความ และประชาชน สามารถเข้าตรวจดูสำนวนคดีได้ผ่านช่องทาง https://cios.coj.go.th/tracking/
นอกจากนี้ยังมีการจ่ายเงินคืน ค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าปรับ และเงินกลางในคดี ให้แก่คู่ความด้วยระบบ e-Payment Corporate Banking ระบบไกล่เกลี่ย สืบพยาน และไต่สวน ผ่าน VDO Conference และอื่นๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในการเข้าถึงความยุติธรรมได้ 24 ชั่วโมง ช่วยประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเดินทางไปที่ศาล ลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อให้บริการประชาชนได้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้การใช้เทคโนโลยีแทนกระดาษ ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพื่อนำส่งความที่ทำให้ถึงทุกคนนอกจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพแล้วศาลยุติธรรมยังเปิดให้บริการประชาชนมากกว่า 280 แห่งทั่วประเทศ เพื่อยุติข้อพิพาทอย่างเป็นธรรมเพื่อสร้างความเสมอภาคให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวกรวดเร็วและประหยัดมากขึ้น