ดาวน์โหลด ฟรี!
พินัยกรรม 
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

ชีวิตที่ไม่ทราบล่วงหน้าว่าจะร่วงหล่นลงตอนไหน จัดการความเสี่ยงในการบริหารทรัพย์สินหลังเสียชีวิตด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ง่าย ปลอดภัย และครบถ้วนพร้อมเข้าใจได้ด้วยตัวคุณเอง

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับพินัยกรรม เขียนเองทั้งฉบับ

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ คืออะไร

พินัยกรรม เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาแสดงเจตจำนงสุดท้ายของบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรม โดยระบุและกำหนดถึงความต้องการ ความประสงค์ และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการ งานศพ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ทายาท และบุตรซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ของบุคคลนั้นเมื่อบุคคลนั้นตาย ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดให้สิทธิหรือประโยชน์ใดๆ แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย เช่น การยกทรัพย์สินให้ หรือการปลดหนี้ให้ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ตามพินัยกรรมนั้นจะเรียกบุคคลนั้นว่า ผู้รับพินัยกรรม

โดยพินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับนั้น ต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมจะต้องเป็นผู้เขียนข้อความ เนื้อหา ข้อกำหนด คำสั่งที่ระบุในพินัยกรรมนั้นเองทั้งหมดเท่านั้น กล่าวคือต้องเป็นลายมือของเจ้าของพินัยกรรมเองเท่านั้น โดยจะต้องลงวันที่ทำพินัยกรรม ลงชื่อผู้ทำพินัยกรรม แต่ไม่จำเป็นต้องมีพยานรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม.

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

กฎหมายไทยกำหนดให้ต้องระบุวันที่ที่ทำพินัยกรรม เพื่อเป็นหลักฐานว่าในขณะทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำพินัยกรรมอยู่ในสภาวะที่มีความสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ มีสติสัมปชัญญะ และมีวิจารณญาณในการกำหนดข้อความในพินัยกรรมนั้นดีแล้วพินัยกรรมนั้นจึงจะมีผลตามกฎหมาย

ทั้งนี้ มรดกของผู้ทำพินัยกรรม คือทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิด หนี้สิน ต่างๆ ของผู้ทำพินัยกรรม ซึ่งอาจรวมถึงที่มีอยู่ในปัจจุบัน ณ ขณะทำพินัยกรรมหรือที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยที่ไม่ใช่สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดที่เป็นการเฉพาะตัวของผู้ทำพินัยกรรม โดยต้องระบุใช้ชัดเจนว่าหมายถึงสิ่งใด

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนด “ผู้จัดการมรดก” ซึ่งเป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่บริหารจัดการมรดกของผู้ทำพินัยกรรมไปในแนวทางหรือไปในลักษณะตามที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรม โดยที่ ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดผู้จัดการมรดกโดยระบุตัวตนที่แน่นอน เช่น ระบุชื่อและนามสกุล หรืออาจกำหนดผู้มีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการมรดกภายหลังก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมสามารถแต่งตั้งผู้จัดการมรดกคนเดี่ยว หรือหลายคนก็ได้ ผู้ทำพินัยกรรมสามารถกำหนดอำนาจและเงื่อนไขการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดกได้ ในกรณีที่มีผู้จัดการมรดกหลายคน และในการจัดการมรดก ผู้ทำพินัยกรรมอาจกำหนดให้มีการจัดการมรดกไปในแนวทางหรือลักษณะตามเจตนารมณ์และความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกกฎหมายมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667