คดียาเสพติดนับเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงอย่างมากในไทย ด้วยคดีที่ขึ้นสู่ศาลจำนวนมาก จึงเกิดแนวคำพิพากษาฎีกาส่วนมาก ที่สามารถพิเคราะห์ได้ว่า การพิจารณาผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดนั้น ต้องกระทำอย่างสัดส่วนและเหมาะสมกับตัวผู้กระทำผิดแต่ละบุคคล ที่แตกต่างกันตามปัจจัยในการพิจาณาหลายประการ ไม่ได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงในรูปคดีเสียอย่างเดียว แต่ได้พิจารณาถึง ประวัติความเป็นมา ภูมิหลังของผู้กระทำความผิดอีกด้วย

หลักการพิจารณาของศาล

ในคดียาเสพติดนั้น โดยหลักแล้วศาลมักจะพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ คือ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ซึ่งพิจารณาจากจำนวนของกลาง(ยาเสพติด) เป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ กำหนดลงโทษตาม อัตราโทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ที่จะทำให้สามารถแบ่งแยกอัตราโทษออกเป็นประเภทได้ว่า ผู้ใดผลิต ผู้ใดนำเข้า ผู้ใดส่งออก ผู้ใดจำหน่าย ผู้ใดครอบครองเพื่อจำหน่าย ผู้ใดครอบครอง หรือผู้ใดเพียงแต่เสพ หรือ ใช้ให้ผู้อื่นเสพ ที่มีอัตราโทษกำหนดไว้ลดหลั่นกันไป

คดียาครั้งแรก ??

แต่ถึงอย่างไรก็ดี หลักการพิจารณาของศาล ได้เปิดช่องให้ประโยชน์สำหรับผู้ กระทำความผิดครั้งแรก หรือ ด้วยปัจจัยอื่นๆที่มีเหตุสมควร ได้รับการลดโทษหรือรอการลงโทษ กล่าวคือ ศาลท่านมีความเห็นส่วนตัวว่าผู้กระทำความผิดอาจจะเป็นคนดีแก่สังคมได้ มากกว่าที่จะลงโทษจำคุก แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวกลับใจ  วันนี้ ทางสำนักงานกฎหมายฯ จึงแนะนำให้ท่านทราบถึง “ปัจจัย” ที่ทำให้ศาลลดโทษหรือรอการลงโทษ อ้างอิงจากแนวผลคำตัดสินของศาล ได้ดังนี้

รอกำหนดโทษ-รอลงอาญา ต่างกันอย่างไร

ปัจจัยที่ทำให้ศาลลดหรือรอการลงโทษ

1.เป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน หรือ มีคดียาครั้งแรก กล่าวคือ ไม่เคยมีประวัติในการกระทำความผิดในทางอาญา และไม่เคยต้องโทษถูกคำพิพากษาจำคุกมาก่อน ทั้งในคดียาเสพติดและคดีอื่นๆ ซึ่งเห็นได้ว่าไม่เป็นผู้มีประวัติอาชญากรรมหรือเป็นอาชญากรแต่อย่างใด จะส่งผลต่อการพิจารณาประกอบการลงโทษอย่างมาก

2.ของกลาง (ยาเสพติด) มีจำนวนเพียงเล็กน้อย กล่าวคือ เกิดการปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ หรือมีจำนวนหน่วยการใช้หรือมีน้ำหนักสุทธิเพียงเล็กน้อยจากของการที่ยึดไว้

2.เป็นผู้มีประวัติดีเป็นผู้ที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคม และพฤติการณ์ในการกระทำผิดไม่ร้ายแรง เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย  มีความประพฤติดี  หากมีหนังสือรับรองของกำนัน ฯ หรือข้าราชการระดับสูง หรือชอบช่วยเหลือทางราชการและทำคุณประโยชน์ให้แก่ทางราชการและสังคมโดยส่วนรวมในหลาย ๆ ด้าน 

3.เป็นผู้มีอาชีพ ที่สุจริต อายุน้อย มีรายได้อยู่ในเกณฑ์สูง และอาชีพดังกล่าวมีสถานที่ทำการงานเป็นหลักแหล่ง ทั้งนี้หากเป็น เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา จะมีผลต่อการพิจารณาค่อนข้างมาก เนื่องจากยังมีเวลาและความสามารถที่ได้ประพฤติตนตอบแทนสังคมมากกว่าโทษจำคุกในเรือนจำ

4.ถูกกักขังหรือจำคุกในชั้นพิจารณาคดีมาก่อนหน้าแล้วในครั้งแรก สำหรับคดีที่จะมีการพิพากษาขึ้น ศาลท่านอาจจะเห็นว่า เป็นที่หลาบจำแล้วเมื่อพิจารณาจากพฤติการแวดล้อมประกอบการพิจารณา เพื่อให้โอกาสได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป

5.เป็นเพศหญิงและ/หรือมีโรคป่วยร้ายแรง เนื่องจากลักษณะความผิดส่วนมากของผู้หญิงมักเป็นความผิดเล็กน้อยและไม่รุนแรง สามารถเล็งเห็นได้ว่าผู้กระทำความผิดหญิงส่วนมาก ไม่ใช่ผู้ที่มีความโหดร้ายหรือรุนแรง ในบางกรณีอาจถูกสามีหรือคนรู้ใจหลอกเพื่อขนย้ายยาเสพติด

6.มีลักษณะบกพร่องทางจิตใจ ที่อาจเป็นผู้ป่วยจิตเวชทั่วไปหรือผู้ป่วยนิติจิตเวช ในภาวะที่อันตราย โดยหลังกระบวนการพิจารณาคดี เจ้าหน้าที่มักนำส่งบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตมายังสถานพยาบาลแทนการรับโทษจำคุกภายในเรือนจำทั่วไป ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ให้การคุ้มครองไว้

โดยปัจจัยตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ ศาลท่านจะสืบหาจากข้อมูลประวัติของสำนักงานตำรวจ และ/หรือ สั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและให้การถึงประวัติของผู้กระทำความผิด เพื่อนำส่งรายงานและความเห็นประกอบการพิจารณาพิพากษา ทั้งนี้มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ท่านอาจทำคำร้องประกอบคำให้การรับสารภาพขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป 

สำหรับ คำร้องประกอบคำให้การรับสารภาพขอให้ศาลลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ รบกวนท่าน ติดต่อเรา ปรึกษาทนายความของท่าน เพื่อจัดทำเอกสารคำร้องดังกล่าวพร้อมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุนั้น ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาพิพากษาของศาลเพื่อการลดโทษหรือรอการลงโทษต่อไป เนื่องด้วยความเชี่ยวชาญและถ้อยคำที่เรียบเรียงในคำร้องนั้น จำเป็นต้องอาศัยทนายความเฉพาะด้านเพื่อดำเนินการ

แต่อย่างไรก็ดี ปัจจัยดังกล่าว ก็มักเป็นดุลยพินิจของศาลเท่านั้น เป็นเหตุผลและความคิดเห็นส่วนตัวของผู้พิพากษาเฉพาะท่านและเป็นรายคดีไป พิจารณาจากปัจจัยแทบทุกข้อที่เข้าข่ายร่วมกัน โดยไม่ตัดข้อใดข้อหนึ่งร่วมกัน กล่าวคือ แนะนำว่าหากท่านเข้าปัจจัย 2 ข้อขึ้นไปจะทำให้คาดการณ์ได้ว่า มีโอกาศที่จะได้รับการบรรเทาโทษ ลดโทษ หรือ รอการลงโทษ แทนการจำคุก

ปล่อยตัว ฟรี รอการลงโทษ

ผลหลังได้รับการรอการลงโทษ

หากท่านถูกบรรเทาโทษหรือรอการลงอาญา ตามคำพิพากษา ศาลท่านมักบัญญัติให้ผู้กระทำความผิด ต้องรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติเป็นประจำในระหว่างการปล่อยตัว  และบัญญัติให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรอยู่เสมอ และหากผู้กระทำความผิดที่ได้รับประโยชน์นั้น ปฏิบัติผิดเงื่อนไขคุมประพฤติ  ศาลย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติหรือนำโทษจำคุกที่รอไว้มาลงโทษทันทีก็ได้  หรือ หากมีการกระทำความผิดเดิมขึ้นอีกในคดียาเสพติดภายในระยะเวลา ห้าปี ศาลท่านมักให้ลงโทษเพิ่มอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษปกติ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มาตรา๑๘๕ วรรคสอง  บัญญัติว่า “เมื่อศาลเห็นว่าจำเลยได้กระทำผิด  และไม่มีการยกเว้นโทษตามกฎหมาย  ให้ศาลลงโทษแก่จำเลยตามความผิด แต่เมื่อเห็นสมควรศาลจะปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดก็ได้”. 

มาตรา๑๗๖วรรคหนึ่ง  บัญญัติว่า  “ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง  ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้  เว้นแต่ คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น  ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง”. 

มาตรา๕๖  บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำความผิดซึ่งมีโทษจำคุกและในคดีนั้นศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีถ้าไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน  หรือปรากฏว่าได้รับโทษจำคุกมาก่อนแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ    เมื่อศาลได้คำนึงถึงอายุ ประวัติ ความประพฤติ สติปัญญา การศึกษาอบรม สุขภาพ ภาวะแห่งจิต นิสัย อาชีพ และสิ่งแวดล้อมของผู้นั้น  หรือสภาพความผิด  หรือเหตุอื่นอันควรปรานี  แล้วเห็นเป็นการสมควร  ศาลจะพิพากษาว่าผู้นั้นมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษไว้หรือกำหนดโทษแต่รอการลงโทษไว้  แล้วปล่อยตัวไปเพื่อให้โอกาสผู้นั้นกลับตัวภายในระยะเวลาที่ศาลจะได้กำหนด  แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา  โดยจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้นั้นด้วยหรือไม่ก็ได้ 

มาตรา 100/2  ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้

คดีข่มขืนเพิ่มโทษสูง ก.ม.ใช้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2531

ความว่า คดีนี้อยู่ระหว่างจำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา บัดนี้ โจทก์จำเลยตกลงกันได้ โจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้อง จำเลยที่ 1 โปรดอนุญาต หมายเหตุ จำเลยที่ 1 แถลงท้ายคำร้องว่าไม่คัดค้าน (อันดับ 111)โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามพระราชบัญญัติ่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497มาตรา 3 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และมาตรา 91ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดหลายกรรม ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิด ตามเช็คฉบับแรก จำคุก 6 เดือน ตามเช็คฉบับที่ 2จำคุก 10 เดือน ตามเช็คฉบับที่ 3 จำคุก 10 เดือน ตามเช็คฉบับที่ 4จำคุก 8 เดือน รวมจำคุกจำเลย 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2536

อ. เป็นลูกค้านำรถจักรยานยนต์มาซ่อมกับจำเลย จำเลยย่อมจะจำได้ว่ารถจักรยานยนต์ที่ อ. นำมาซ่อม และขายชิ้นส่วนเป็นรถของ อ.หรือไม่การที่อ.นำรถจักรยานยนต์มาซ่อมเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ จำเลยอ้างว่าไม่มีทุนซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนให้แต่เมื่อ อ. บอกขายชิ้นส่วนอะไหล่ จำเลยกลับมีเงินซื้อ ปกติรถจะต้องมีป้ายทะเบียน แต่ขณะที่ อ. เอารถจักรยานยนต์มาให้จำเลยซ่อมและขายชิ้นส่วน กลับไม่ปรากฏว่ามีป้ายทะเบียน ประกอบกับรถจักรยานยนต์ที่ อ.นำมานั้นชิ้นส่วนยังดีอยู่ไม่น่าที่อ.จะถอดขาย พฤติการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยรู้ว่ารถจักรยานยนต์ที่ อ. นำมานั้น เป็นรถที่ถูกลักมา จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร จำเลยประกอบอาชีพสุจริตตลอดมา ไม่ปรากฏว่าเคยกระทำความผิดอาญามาก่อน การกระทำผิดของจำเลยน่าจะเกิดจากความโลภควรรอการลงโทษจำเลยไว้เพื่อให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2547

ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 76 หนึ่งในสามนั้นเป็นการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นการแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยวางโทษจำคุกก่อนลดมาตราส่วนโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี อันเป็นโทษขั้นต่ำของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตรงตามดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่ลงโทษตามขั้นต่ำของกฎหมายก่อนมีการแก้ไข และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 76 หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 8 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี 4 เดือน นั้นถูกต้องแล้ว

จำเลยอายุ 19 ปี กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำเลยไม่เคยมีประวัติในการกระทำความผิดกับไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และถูกขังในระหว่างฎีกา ทำให้หลาบจำบ้างแล้ว ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนเพียง 4 เม็ด ถือว่ามีจำนวนเล็กน้อย เพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป สมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1171/2533

โจทก์ลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่าให้ภรรยาจำเลยที่ 1 ไว้จำเลยทั้งสามร่วมกันกรอกข้อความว่า โจทก์รับฝากเงินจากจำเลยที่ 1เพื่อนำไปซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีและเครื่องวีดีโอ ให้จำเลยที่ 1 โดย ไม่ ได้รับความยินยอมจากโจทก์การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารสิทธิ และจำเลยที่ 1 นำเอกสารดังกล่าวไปแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐาน ใช้ เอกสารสิทธิปลอมด้วย จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปี เป็นนักเรียนอายุยังน้อย ส่วนจำเลยที่เป็นหญิงไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน สมควรให้โอกาสจำเลยที่ 2ที่ 3 ประพฤติตน เป็นพลเมืองดี ต่อไป โดย ให้รอการลงโทษ. 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2536 

แม้ยาเสพติดให้โทษของกลางจะมีอันตรายต่อผู้เสพ แต่มีเพียง2 หลอดเล็ก หนัก 1.43 กรัม จำนวนไม่มาก ไม่มีพฤติการณ์ส่อให้เห็นว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดมาก่อน จำเลยเป็นหญิงและป่วยมีความดันโลหิตต่ำ ซึ่งทางโรงพยาบาลกลางกรมราชทัณฑ์ไม่มีเตียงที่จะรับจำเลยไว้รักษา หากถูกคุมขังอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตพฤติการณ์แห่งคดีจึงสมควรรอการลงโทษไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2547

…อนึ่ง จำเลยอายุ 19 ปี กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงที่โรงเรียน ท. จำเลยไม่เคยมีประวัติในการกระทำความผิดกับไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และจำเลยถูกขังในระหว่างฎีกามาตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม 2546 แล้ว ทำให้จำเลยหลาบจำได้บ้างแล้ว ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนเพียง 4 เม็ด ถือได้ว่ามีจำนวนเล็กน้อย เพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป สมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลย และเพื่อให้จำเลยได้รู้สำนึกในผลแห่งการกระทำของตนและไม่หวนกลับมากระทำความผิดอีก จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง และคุมความประพฤติไว้ด้วย ตาม ปอ. ม.56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2548

ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้นั้น ต้องปรากฏว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ดังนั้น เมื่อจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้ว ก็ไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้อีก โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยได้รับโทษมาแล้วเพียงใด ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง, 67 จำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 6 เดือน ปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมประพฤติจำเลยมีกำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 8 ครั้ง ให้กระทำกิจกรรมบริการสังคมตามที่พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควรเป็นเวลา 20 ชั่วโมง ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษทุกประเภทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 คำขออื่นให้ยก

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.