สำหรับท่านใดที่ต้องการให้ทนายความให้คำปรึกษาคดีครอบครัวเช่น ฟ้องร้องคดีค่าเลี้ยงดูบุตร, อำนาจปกครองบุตร, ประสบปัญหาทางกฎหมายหรือข้อพิพาทในครอบครัว กรุณาติดต่อเรา ทนายความผู้เชี่ยวชาญคดีครอบครัว ขอบคุณครับ

ลูกความของเราบางส่วนกำลังประสบปัญหา เรียกร้องค่าเลี้ยงดูบุตร จากสามีหรือคู่สมรสของตนค่อนข้างมาก วันนี้เราจึงจะมาให้ความรู้เบื้องต้นในคดีครอบครัวแก่ท่านผู้อ่านโดยทำให้กฎหมายเป็นเรื่องที่ย่อยง่ายเหมาะแก่ทุกท่านที่กำลังเผชิญปัญหาในเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้กันครับ 

กรณีจดทะเบียนสมรสกันไว้

โดยหลักกฎหมายแล้วกำหนดให้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่เป็นผู้เยาว์ (อายุยังไม่ครบ 20  ปีบริบูรณ์) นั้นเป็นหน้าที่ของบิดาและมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่จะต้องช่วยกันอุปการะและเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งยังมีหน้าที่ต้องให้การศึกษาตามสมควร ไม่ว่าสามีภรรยานั้นจะหย่ากันแล้วหรือไม่ อ้างอิง ป.พ.พ มาตรา 1564 และ มาตรา 1461 ดังนั้น หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบุตรยังคงเป็นหน้าที่ของคู่สามีภรรยาจนกว่าลูกจะพ้นจากความเป็นผู้เยาว์ตามกฎหมาย

  • มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองมิได้
  • มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน

ขั้นตอนฟ้องคดี

ซึ่งการฟ้องค่าอุปการะเลียงดูบุตร ด้วยอำนาจจากเหตุฝ่ายสามีไม่ปฎิบัติตามหน้าที่ตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ทางทนายความเราสามารถทำคำฟ้องไปยื่นต่อศาลเยาวชนและครอบครัวโดยตรง หรือตัวท่านเองอาจไปแถลงวาจาต่อหน้าศาลด้วยตนเองก็ย่อมได้หากมีความรู้ทางกฎหมาย การรวบรวมพยานหลักฐานถึงทรัพย์สินอีกฝ่าย และวิธีพิจารณาความเบื้องต้นเพียงพอ เช็คเขตอำนาจศาลพื้นที่ของท่าน

โดยหลังศาลรับฟ้องคดี เมื่อถึงขั้นตอนก่อนเริ่มพิจารณา ศาลท่านจะให้ไกล่เกลี่ยประนีประนอมกันก่อน หากหาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้ ท่านจำต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป จนศาลได้มีคำพิพากษาให้ท่านชนะคดี และมีคำสั่งให้ฝ่ายสามีชำระค่าเลี้ยงดู (ค่าอุปการะเลี้ยงดู) ***ท่านสามารถขอให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างชั้นพิจารณาคดีได้ โดยทนายความเราจะใช้วิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำพิพากษา

ทั้งนี้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษา (ฝ่ายคู่สมรสที่แพ้คดี) นำเงินมาวางศาลตามระยะเวลาที่ศาลกำหนด ในกรณีที่ฝ่ายสามี มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือน ศาลอาจ(ขึ้นกับดุลพินิจตอนพิจารณาคดี) สั่งอายัดเงินเดือนเท่าจำนวนที่จะท่านร้องขอค่าเลี้ยงดูเป็นรายเดือนแก่ท่านได้

ติดต่อทนายความของ สำนักงาน ณัฐภัทร (ปรึกษาเบื้องต้นฟรี)

กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส

เนื่องด้วยในสังคมปัจจุบัน การแต่งงานหรือจดทะเบียนสมรสเกิดขึ้นน้อยมาก หากแต่เกิดประเด็นทางกฎหมายต่อมาคือเมื่อเลิกร้างกัน ใครจะเป็นผู้รับ ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เช่น ค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่ารักษา และค่าใช้จ่ายมากมาย

โดยหลักแล้วกฎหมายได้ให้สิทธิ ลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายบิดาเท่านั้น จะเรียกร้องได้ ซึ่งบิดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่ยังเป็นผู้เยาว์ หากแต่ในกรณีนี้ ลูกมิได้เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาในสายตาของกฎหมาย ทำให้การจะใช้สิทธิ ฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรนั้น บุตรจะต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดาเสียก่อน 

ซึ่งการที่จะทำเด็กให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีอยู่ด้วยกัน 3 ทางคือ เมื่อพ่อและแม่ได้มีการสมรสกันในภายหลัง หรือ เมื่อพ่อได้จดทะเบียนว่าเด็กนั้นเป็นลูกของตน หรือ เมื่อศาลมีคำพิพากษาว่าให้เด็กเป็นบุตรของฝ่ายชาย 

ดังนั้น กรณีนี้จำเป็นต้องมีการ ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรของฝ่ายสามีโดยชอบด้วยกฎหมายอันดับแรก จึงจะเกิดสิทธิเรียกร้อง ค่าเลี้ยงดูบุตร หรือ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรต่อไป เช่นเดียวกับกรณีที่สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสกัน  **ทางเราสามารถตั้งเรื่องฟ้องคดี ขอให้รับเด็กเป็นบุตรและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไปในคดีเดียวกันได้ เพื่อประหยัดเวลาและทุนทรัพย์ในคดีของท่านได้มาก (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๒๖๘/๒๕๓๓)

ติดต่อทนายความของ สำนักงาน ณัฐภัทร (ปรึกษาเบื้องต้นฟรี)

รวมคำพิพากษา ฎีกา

เรียกค่าเลี้ยงดูบุตรได้เท่าไหร่? 

ค่าอุปการะเลี้ยงดูจะเรียกจากสามีหรือคู่สมรสได้เท่าไหร่นั้น ศาลจะพิจารณาจาก ฐานะและความสามารถทางทุนทรัพย์ของสามี ร่วมกับฐานะและความเป็นอยู่ของฝ่ายภรรยาและตัวเด็กเองเป็นรายคดี (ไม่มีบรรทัดฐานตายตัว) 

โดยทนายความฝั่งภรรยาต้องแสดงให้ศาลเห็นว่า ฝ่ายสามี มีเงินเดือนเท่าใด ครอบครองทรัพย์สินใดอยู่บ้าง สถานะทั้งทางทรัพย์สินและสังคมเป็นอย่างไร ร่วมกับการพิจารณาว่า ค่าเลี้ยงดูบุตรที่เรียกร้องไปนั้น สมฐานะและมีความจำเป็นอย่างไร ส่วนการชำระค่าเลี้ยงดูนั้น จะชำระกันเป็นครั้งคราว หรือเป็นก้อนตามที่ตกลงกัน หรือคำขอของฝ่ายที่ฟ้องคดีก็ได้ 

ทั้งนี้ หากในอนาคตรายได้หรือฐานะทางการเงินของฝ่ายสามีดีขึ้น ท่านอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่ง เงื่อนไข ในคดีใหม่เสียก็ได้ โดยอาจมากขึ้น หรือน้อยลง ขึ้นอยู่กับฐานะทางการเงินของอีกฝ่ายและเหตุผลประกอบอื่น ๆ

หากสามีไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูบุตร?

เมื่อท่านชนะคดี จนได้คำพิพากษาจากศาลท่านบังคับให้สามี ชำระค่าเลี้ยงดูบุตร และทางฝ่ายสามีนั้น ไม่ชำระหรือชำระไม่ครบถ้วนท่านจำต้อง ตั้งเรื่องบังคับคดี โดยการสืบทรัพย์เพื่อเข้ายึดหรืออายัดทรัพย์อีกฝ่ายได้ เช่น เงินเดือน รถยนต์ ที่ดิน หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ฝ่ายแพ้คดีครอบครอง

ติดต่อทนายความของ สำนักงาน ณัฐภัทร (ปรึกษาเบื้องต้นฟรี)

อายุความในคดี 

ตามหลักกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา  193/33 กำหนดให้สิทธิเรียกร้อง (4) เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดูและเงินอื่น ๆในลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา มีกำหนดอายุความห้าปี อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548

จดทะเบียนรับรองบุตร

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552 วัตถุประสงค์ของการสมรสก็เพื่อให้ชายหญิงได้อยู่กินกันฉันสามีภริยา ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติให้สามีภริยาช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกันตามความสามารถและฐานะตน และมาตรา 1598/38 บัญญัติว่า ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้นอีกฝ่ายสามารถเรียกได้ในเมื่อได้รับการอุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ อันแสดงว่าค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ศาลอาจกำหนดให้เพียงใดก็ได้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของผู้รับตามพฤติการณ์แห่งกรณี จึงเป็นบทบัญญัติคุ้มครองแก่สามีภริยาให้ฝ่ายที่มีฐานะดีต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง มิฉะนั้น อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่าก็ฟ้องเรียกเฉพาะค่าเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ดังนั้น สิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงหาใช่เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเมื่อมีการฟ้องหย่าไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7108/2551 ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์” ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า บิดาและมารดามีหน้าที่ร่วมกันในการให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะทำนองเป็นลูกหนี้ร่วมกัน หาใช่เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียวไม่ ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 การกำหนดความรับผิดเป็นอย่างอื่นตามกฎหมายดังกล่าวอาจกำหนดโดยนิติกรรมสัญญาหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ถึงแม้โจทก์และจำเลยจะแยกกันอยู่และโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยกับโจทก์ก็ตาม เมื่อมิได้ตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่ฝ่ายเดียว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูเพื่อแบ่งส่วนตามความรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วมกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดชำระค่าค่าเลี้ยงดูบุตรทั้งสอง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์มีทรัพย์สินมากกว่าและโจทก์นำบุตรผู้เยาว์ทั้งสองไปอยู่ด้วยเพื่อปฏิเสธที่จะไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ แม้จำเลยจะได้ออกค่าใช้จ่ายในการศึกษาเล่าเรียน ค่าหนังสือเรียน ดังที่จำเลยอ้างก็เป็นเรื่องให้การศึกษาซึ่งเป็นคนละส่วนกับค่าอุปการะเลี้ยงดู จำเลยก็จะนำมาอ้างเพื่อปฏิเสธไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูหาได้ไม่ ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูเห็นสมควรเป็นจำนวนเพียงใดนั้น ศาลมีอำนาจกำหนดโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณี ทั้งนี้ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2552 ป.พ.พ. มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์…” บทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บิดาและมารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะปฏิเสธมิได้ ส่วนการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1598/38 ให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับและพฤติการณ์แห่งกรณีเมื่อศาลเชื่อว่าโจทก์และจำเลยก็ยังมีความสามารถที่จะให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองได้ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน และแบ่งความรับผิดให้จำเลยชำระค่าอุปการระเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับคนละ 7,500 บาทต่อเดือนนั้นจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว ส่วนข้ออ้างว่าจำเลยยกส่วนแบ่งในสินสมรสของจำเลยให้โจทก์เป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองอีกนั้น กรณีแบ่งสินสมรสเป็นคนละส่วนกับหน้าที่ของจำเลยในฐานะบิดาที่จำต้องอปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธความรับผิดได้

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.