ล้มละลาย คืออะไร
บุคคลจะเป็นผู้ล้มละลาย เริ่มต้นจากไหน ?
เริ่มต้นจากสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว คือ เมื่อลูกหนี้มีทรัพย์ไม่พอที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เพราะถ้าลูกหนี้มีทรัพย์พอเจ้าหนี้ก็ไม่ได้เสียเปรียบอะไรเจ้าหนี้จึงไม่มีอำนาจอันชอบธรรมอะไรในการจัดการตามกฎหมายล้มละลาย เช่น A ไปกู้ B 3 ล้าน กู้ C 3 ล้านไปสร้างบ้าน 10 ล้าน B จะมาฟ้องล้มละลายไม่ได้ เพราะสามารถฟ้องได้ตามคดีแพ่งอยู่ก็ยึดทรัพย์ไปขายเพราะทรัพย์สินของ A มีพอต่อการชำระหนี้ แต่ถ้า A มีทรัพย์สิน 3 ล้านแต่มีหนี้รวม 6 ล้านก็จะเป็นสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว คือ ทรัพย์สินทั้งหมดมีไม่พอชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ก็รวมทรัพย์ของอาจารย์และรวมหนี้จากนั้นก็มาแบ่งให้เจ้าหนี้ตามสัดส่วน
ทั้งนี้คำว่า “มีหนี้สินล้นพ้นตัว” มีความหมายแตกต่างกับ “ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้” เพราะจะมีความหมายแคบกว่า เนื่องจากบางทีการที่จ่ายไม่ได้นั้นก็เพราะลูกหนี้ไม่มีกระแสเงินสดก็ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วลูกหนี้ก็มีทรัพย์สินอยู่
โดยศาลที่จะมารับฟ้องก็จะเป็นไปตาม พรบ.ล้มละลาย คือ ศาลล้มละลาย โดยประเด็นของการพิจารณาคือ ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ลูกหนี้มีหนี้จำนวน 1 ล้านหรือ 2 ล้าน หนี้นั้นกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ ลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในไทยหรือไม่ ซึ่งเป็นประเด็นตามมาตรา 9
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อ
มาตรา ๙ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
(๑) ลูกหนี้มีหนี้สินพ้นตัว
(๒) ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าสองล้านบาท และ
(๓) หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม
เมื่อศาลพิจารณาได้ความจริงตามประเด็นตามมาตรา 9 แล้ว ศาลก็จะทำคำพิพากษา และคำตัดสินของศาลไม่เรียกว่าคำพิพากษาแต่เรียกว่า คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นการตัดสินในประเด็นแห่งคดีว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเราควรเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้แล้ว
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ส่วนผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจะส่งผลสำคัญอยู่ 5 เรื่องหลัก
(1) ตัดอำนาจลูกหนี้ในการทำนิติกรรมที่ผูกพันกองทรัพย์สิน คือ ลูกหนี้มีหนี้มากกว่าทรัพย์เพราะลูกหนี้จัดการทรัพย์ไม่ดี ไม่มีความสามารถในการจัดการทรัพย์สิน แล้วถ้าปล่อยให้จัดการไปอีกทรัพย์สินก็มีแต่ลดน้อยถอยลง ก็เลยตัดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน และการที่ลูกหนี้มีหนี้มากกว่าทรัพย์มันก็มีแนวโน้มที่จะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน
(2) ตั้งคนกลางชึ้นมาจัดการทรัพย์สิน
ซึ่งก็คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สังกัดกรมบังคับคดี โดยจะมีภารกิจคือ
(2.1) ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์และในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบ เพื่อที่ว่าคนอื่นๆจะได้ไม่หลวมตัวเข้ามาทำนิติกรรมกับคนนี้ ถ้าหากอยากทำจริงๆต้องทำผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แทน เช่น A ถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วมาขายที่ดินให้กับ B แม้ B จะสุจริตก็ตามแต่ว่านิติกรรมไม่ผูกพันและ B ก็ต้องคืนที่ดินให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไป รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ ก็จะดูว่าทรัพย์สินอะไรบ้างที่จะรวมขึ้นมาเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ และถ้าลูกหนี้ยักย้ายทรัพย์สินเจ้าพนักงานจะมีวิธีการในการเพิกถอนนิติกรรมของลูกหนี้อย่างไร รวบรวมตัวเจ้าหนี้ ว่ามีเจ้าหนี้คนไหนประสงค์ที่จะแสดงเจตนาให้ชำระหนี้บ้าง ก็จะดูว่าเป็นเจ้าหนี้จริงไหม เมื่อรวบรวมทรัพย์สินและเจ้าหนี้เสร็จแล้วก็จะ
(2.2) ไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย คือรู้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้เพราะเหตุใด เมื่อไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะ
(2.3) เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักอยู่ว่า ลูกหนี้ประสงค์ที่จะประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ไหม เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้มีโอกาสขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เช่น Aมีเงิน 3ล้าน เป็นหนี้ B 3 ล้าน C 3ล้านก็มีทรัพย์ไม่พอต่อการชำระหนี้ เจ้าพนักงานก็เรียกประชุมเจ้าหนี้ A ก็เสนอว่าพี่ก็ได้แค่คนละ 1.5 A ยังทำกาแฟขายได้อยู่อย่าให้ล้มละลายเลย ก็คือแทนที่จะเอา รัพย์ไปแบ่งขายก็ขอชำระหนี้โดยเงื่อนไขอื่น ถ้าตกลงก็จะเป็นการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ซึ่งต่างจากสัญญาประนีประนอมยอมความ มันคล้ายกับสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มากกว่า
ถ้าประนอมหนี้ก่อนล้มละลายแล้วปรากฏว่าบางรายรับบางรายไม่รับคำขอประนอมหนี้ ก็จะต้องลงมติแบบมติพิเศษ ซึ่งต่อมาก็จะไปดูว่ามติพิเศษของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นยังไง ถ้าประนอมหนี้สำเร็จผลของมันคือจะ มันจะบังคับทุกรายเลย แล้วอาจารย์ก็จะหลุดพ้นจากการล้มละลายแล้วมีอำนาจในการจัดการทรัพย๋สินตามปกติ แล้วไปว่าดันตามสัญญาประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย
ถ้าหากประนอมหนี้ก่อนล้มละลายไม่สำเร็จ ศาลก็จะพิพากษาให้ล้มละลาย ซึ่งคำพิพากษาว่าให้ล้มละลายมันไม่ได้เข้ามาจัดการทรัพย์ มันเป็นเพียงตราที่กฎหมายกำหนดสถานะไว้กับลุคคลคนนี้เท่านั้น เพราะลูกหนี้ถูกจัดการทรัพย์ตั้งแต่วันที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คำพิพากษาว่าล้มละลายเป็นเพียงตราบาปที่กำหนดสถานะของคนนั้นเท่านั้นเอง
ข้อสังเกต สถานะของบุคคลจะเริ่มจากคำพิพากษาว่าล้มละลาย เช่น ถ้าคนนั้นถูกสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เขายังเป็น สส ยังเป็นข้าราชการได้ เขาแค่ถูกจัดการทรัพย์เท่านั้นเอง แต่ถ้าถูกพิพากษาว่าล้มละลาย คนคนนี้จะถูกกำหนดสถานะแตกต่างจากคนปกติแล้ว คนที่เป็น สส ก็จะพ้นจาก สส ถ้าเป็นข้าราชการก็จะออกจากการเป็นข้าราชการ หรือการเป็นกรรมการของบริษัทอาจพ้นจากตำแหน่งได้เมื่อล้มละลาย ในบางประเทศจึงไม่มีคำพิพากษาว่าล้มละลาย คำว่าพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดกับการล้มละลายจึงแตกต่างกัน
สรุปคือ. เมื่อถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งเป็นการตัดสินในเนื้อหาแห่งคดีแล้ว แต่ล้มละลายเป็นเพียงการกำหนดสถานะเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์ ดังนั้น หากคุณกำลังเผชิญปัญหา ล้มละลาย แล้วละก็ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา NATTAPATFIRM.COM เพื่อรับคำปรึกษาและบริการด้านกฎหมายล้มละลาย