การขอรับชำระหนี้ ของเหล่าเจ้าหนี้ที่ต้องรู้สั้นรวดเร็วและเข้าใจง่าย.
การขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ที่เกิดก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจะเป็นหนี้ที่ต้องนำเข้าสู่ระบบจัดทำแผน ผู้ทำแผนจะนำหนี้ที่มีอยู่ก่อนศาลมีคำสั่งไปบรรจุไว้ในแผน โดยจะไปจัดให้เจ้าหนี้ต่างๆเป็นกลุ่มๆแล้วกำหนดการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้แต่ละกลุ่มว่าจะได้กี่เปอเซ็นต์แล้วจะได้เท่าไหร่ เช่น นายโคไปยื่นคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานให้นายโชค 300,000 นายโชคจะได้เท่าไหร่ก็ต้องไปดูว่าเป็นเจ้าหนี้กลุ่มไหน และในแผนกำหนดให้นายโชคได้รับชำระหนี้อย่างไร ซึ่งก็ต้องดูแผนฟื้นฟูกิจการประกอบกับคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่หนี้ที่เกิดในช่วงของผู้ทำแผน ผู้ทำแผนก่อหนี้เองเจ้าหนี้ก็รับได้เลย เช่น ซื้ออ้อย 300,000 ก็รับได้เลย 300,000 แต่หนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วเข้าสู่ระบบแผน
สารบัญ
เจ้าหนี้ที่ต้องขอรับชำระหนี้
หลังจากศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะโฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้รายใดบ้างที่ต้องยืนคำขอรับชำระหนี้ มาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่ล่าวไว้ในส่วนนี้
แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแล้วแต่คดียังอยู่ในการพิจารณา ทั้งนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 1 เดือนนับแต่ตั้งผู้ทำแผน
เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ แม้ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือได้ฟ้องคดีแพ่งแล้วแล้วคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะไปบังคับชำระหนี้ตามวิแพ่งได้ แต่เมื่อศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนต้องเข้าสู่ระบบ คือ มายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ นอกจากนั้นเจ้าหนี้ต่างๆที่ได้ฟ้องคดีแพ่งแล้ว แล้วต่อมาศาลสั่งฟื้นฟูกิจการตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ในคดีแพ่งก็ไม่สามารถดำเนินคดีแพ่งได้ต้องเข้าสู่กระบวนการขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ
สรุป เจ้าหนี้ในมูลหนี้เงินทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนศาลสั่งฟื้นฟูกิจการต้องดำเนินการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ดูว่า มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนหรือไม่ ถ้าเกิดก่อนต้องมาขอรับชำระหนี้ทั้งหมด ฏีกาที่ 1183/2545
กำหนดเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้
ในกรณีปกติต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ภายใน 1 เดือนนับแต่โฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน ตามมาตรา 90/26 วรรคหนึ่ง กฎหมายไทยกำหนดให้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งก็คือเจ้าพนักงานของกรมบังคับคดี โดยต้องยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่โฆษณาคำสั่งตั้งผู้ทำแผน
ในคดีฟื้นฟูกิจการมีบทบัญญัติพิเศษที่แตกต่างกับคดีล้มละลาย คดีล้มละลายศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วเจ้าพนักงานโฆษณา เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือนนับแต่โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่ในคดีฟื้นฟูกิจการบัญญัติไว้แตกต่าง เมื่อมีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้กิจการของลูกหนี้ยังดำเนินการอยู่ คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่ามีการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายจึงบัญญัติเป็นพิเศษว่า นอกจากมีการประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์และราชกิจจาแล้วจะต้องดำเนินการแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนให้เจ้าหนี้ทราบทุกราย มาตรา 90/24 วรรคสอง ”…ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งคำสั่งดังกล่าวไปยังเจ้าหนี้ทั้งหลาย…” แต่ในล้มละลายไม่มีการแจ้งไปยังเจ้าหนี้
เมื่อกำหนดให้มีการแจ้งคำสั่งให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ในคดีฟื้นฟูกิจการเมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนแล้ว (1) เจ้าพนักงานประกาศราชกิจจา (2) ประกาศหนังสือพิมพ์ (3) แจ้งให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบให้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ปัญหาคือไม่มีการแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ซึ่งมันเริ่มมาจากจุดที่ในต่างประเทศลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะแจ้งทั้งหมดเลยว่าเป็นหนี้ใครบ้างในกระบวนการฟื้นฟูกิจการก็จะแจ้งให้เจ้าหนี้ทุกรายทราบ แต่บ้านเราลูกหนี้ยื่นคำร้องลูกหนี้มีเจ้าหนี้ 1000 รายแจ้งไป 500 รายอีก 500 ไม่ได้แจ้งอีกส่วนเขาเลยไม่ได้มายื่นคำขอ ถ้าเกิดว่าศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วลูกหนี้เสนอแผนที่ประชุมยอมรับและศาลเห็นชอบแล้วลูกหนี้ทำตามแผนลูกหนี้ก็จะหลุดพ้นจากหนี้ทั้งหมดที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ คือ ลูกหนี้เริ่มทุจริตทำการไม่ชอบตั้งแต่ยื่นคำร้องไม่ยอมแจ้งรายชื่อเจ้าหนี้ทั้งหมดรายไหนคัดค้านก็ไม่แจ้ง โดยหวังผลว่าเมื่อศาลสั่งยกเลิกฟื้นฟูกิจการแล้วลูกหนี้จะหลุดพ้นทั้งหมด
สมมุตว่าครบกำหนดเวลา 1 เดือนแล้วนับแต่โฆษณาตั้งผู้ทำแผน เจ้าหนี้ทั้งหลายที่ไม่ได้มาขอรับชำระหนี้ภายในกำหนด 1 เดือนแต่มายื่นในเดือนที่ 10 เพราะพึ่งทราบ เมื่อไม่ได้แจ้งให้เขาทราบก็ถือว่ามีเหตุอันสมควรที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ไว้พิจารณา แต่ถ้าเจ้าหนี้อีกกลุ่มไม่รู้เลยจนกระทั่งฟื้นฟูสำเร็จแล้วมีการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ ซึ่งโดยหลักแล้วลูกหนี้จะหลุดพ้นจากหนี้ทั้งหมดยกเว้นหนี้ตามแผน ศาลตัดสินว่า หลักการดำเนินการตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่จะตัดสิทธิ์เจ้าหนี้จะต้องได้ความว่ามีการดำเนินการตามที่กฎหมายครบถ้วนจึงจะตัดสิทธิ์ได้ เมื่อกฎหมายกำหนดว่าต้องโฆษณาและแจ้งเจ้าหนี้ทราบ เมื่อไม่มีการแจ้งให้ทราบจะตัดสิทธิเจ้าหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิฟ้องให้ลูกหนี้รับชำระหนี้ เต็ม 100%
ในการที่กฎหมายกำหนดว่า เมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูตั้งผู้ทำแผนต้องโฆษณาคำสั่งในหนังสือในราชกิจจาและต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ที่ว่าแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบนี้ เป็นการแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบทุกราย ไม่ว่าเจ้าหนี้จะอยู่ในประเทศหรือเจ้าหนี้ต่างประเทศ เจ้าพนักงานก็จะส่งหนังสือแจ้งไปยังเจ้าหนี้ทั้งหมดให้ทราบ
หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ต้องเป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ถ้ามูลแห่งหนี้เกิดขี้นก่อนมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เพราะฉะนั้นหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ต้องเป็นหนี้ที่มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ “มูลแห่งหนี้” คือ ความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องชำระหนี้ หนี้ส่วนนั้นต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ มาตรา 90/27 วรรคหนึ่ง แยกองค์ประกอบได้
1.ต้องเป็นหนี้เงิน
2.มูลแห่งหนี้เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้วหนี้นั้นไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศีลธรรม หรือเป็นหนี้ที่อาจขอให้บังคับไม่ได้
ความผูกพันตามกฎหมายจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ : ถ้ามีความผูกพันแล้วมูลแห่งหนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว ถ้าเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งก็จะเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้มีประกัน มาตรา 90/28 ในคดีฟื้นฟูกิจกาถ้าเจ้าหนี้มีประกันไม่ขอรับชำระหนี้ก็มีสิทธิบังคับเอาจากทรัพย์หลักประกันโดยจะต้องขออนุญาตจากศาลก่อนหรือระยะเวลาล่วงพ้นไปแล้ว 1 ปี แต่ลูกหนี้อาจขอขยายได้อีก 2 ครั้งครั้งละ 6 เดือน ในกรณีที่บังคับเอาจากทรัพย์หลักประกันศาลจะให้ต่อเมื่อไม่ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้เพียงพอ
กระบวนการขอรับชำระหนี้
เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็ต้องยื่นต้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อยื่นคำขอแล้วเจ้าพนักงานก็จะตรวจคำขอรับชำระหนี้แล้วก็ดูว่ามีผู้โต้แย้งคำขอไหม ถ้าไม่มีก็มีคำสั่งให้ชำระหนี้ได้เลย แต่ถ้ามีคนแย้งก็จะสอบสวนแล้วมีคำสั่ง ผู้มีส่วนได้เสียก็ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
เมื่อเจ้าพนักงานมีคำสั่งแล้วว่าให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวนเท่านี้ เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้อย่างไรในการฟื้นฟูกิจการ เช่น นายโชคมายื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานสั่งให้ได้ 300,000 นายโชคจะไม่สามารถขอรับ 300,000 ได้เลยเพราะต้องเป็นไปตามกระบวนการในการฟื้นฟูกิจการ
ฏีกาที่ 10897/2546
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่างๆโดยรวม เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มต่างๆแล้วกำหนดการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้กลุ่มต่างๆไว้ในแผน การชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาในแผน ดังนั้น แม้มีคำสั่งถึงที่สุดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จริงตามฟื้นฟูกิจการจะต้องนำมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน จะมาขอตามที่เจ้าพนักงานสั่งไม่ได้ – ในการที่จะชำระหนี้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ คือ หนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ (หนี้ในช่วงที่หนึ่ง) นายโชคมาขอรับชำระหนี้ จพนง ให้ 300,000 นายโชคจะไม่ได้ 300,000 ต้องไปดูว่าผู้ทำแผนจัดนายโชคเป็นกลุ่มไหนแล้วกำหนดให้เจ้าหนี้กลุ่มนั้นกี่เปอเซ็นต์แล้วจะได้เท่าไหร่ก็เอาไปปรับกับหนี้ที่ จพนง มีคำสั่ง เช่น 30 เปอของ 300,000 ก็ได้ 90,000 ถ้าศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วผู้ทำแผนจะไปชำระหนี้ตามแผนไม่ได้เพราะผู้ทำแผนจบบทบาทแล้ว คนที่จะชำระหนี้ต่อเป็นผู้บริหารแผน แม้บางทีมันอาจจะเป็นคนเดียวกันก็ตาม
ฏีกาที่ 3210/2559
เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผนเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่ง จะได้รับชำระหนี้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 1 เดือนนับแต่โฆษณาคำสั่งผู้ทำแผน และการที่จะได้รับชำระหนี้ก็เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแผนเจ้าหนี้ไม่อาจได้รับชำระหนี้ด้วยวิธีอื่น นอกจากจำนวนและที่กำหนดไว้ในแผน ผู้ทำแผนหรือลูกหนี้ไม่อาจชำระหนี้ในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนไม่ได้และจะอ้างว่าเป็นการดำเนินการค้าตามปกติไม่ได้ เพราะหนี้ตามมาตรา 90/27 ไม่ใช่หนี้ที่ผู้ทำแผนก่อ เพราะหนี้ที่ผู้ทำแผนชำระหนี้ได้ต้องเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนก่อหนี้ แต่ถ้าหนี้เดิมมีอยู่แล้วหนี้เดิมต้องไปยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วต้องเป็นไปตามแผนซึ่งมันไม่ครบตามจำนวนอยู่แล้ว
ผลของการไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้
มาตรา 90/61 เจ้าหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ เจ้าหนี้ผู้นั้นหมดสิทธิ์ที่จะได้รับชำระหนี้ ไม่ว่าการฟื้นฟูกิจการจะสำเร็จตามแผนหรือไม่ เว้นแต่ (1) แผนกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หรือ (2) ศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
หลัก คือ มีการแจ้งคำสั่งโดยชอบแล้ว แล้วเจ้าหนี้ไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้จะหมดสิทธิได้รับชำระหนี้ เว้นแต่แผนกหนดไว้เป็นอย่างอื่น เช่น แผนกำหนดว่าไม่ยื่นก็จะได้รับอยู่ดี หรือศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ เป็นกรณีที่ฟื้นฟูกิจการไม่สำเร็จก็เลยยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้ลูกหนี้กลับคืนสู่ฐานะเดิม
ถ้าศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้วต่อมาศาลสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ คือ ฟื้นฟูกิจการสำเร็จ ลูกหนี้รับผิดเพียงเท่าที่หนี้ค้างอยู่ตามแผน แต่ถ้าศาลสั่งยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ คือ กลับสู่สถานะเดิม สิทธิมียังไงก็มีอยู่อย่างงั้น
คำถาม ระหว่างลูกหนี้ประกอบกิจการโรงงานหลังคาตึกตกลงมาทับรถนายรวยทำให้รถเสียหาย ต่อมาลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลสั่งผู้ทำแผน ผู้ทำแผนซื้อสินค้าจากนายรวยมาผลิตสินค้า นายรวยนำหนี้ทั้งสองมายื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนอ้างว่ารถยังไม่ซ่อมเลยไม่มีสิทธิได้ ส่วนหนี้ที่ซื้อสินค้าเป็นโมฆะ คำถามคือนายรวยมีสิทธิได้รับชำระหนี้หรือไม่
คำตอบ หนี้ละเมิดเกิดขึ้นก่อนศาลมีคำสั่งก็ต้องมายื่นคำขอรับชำระหนี้ ส่วนทีไปซือวัตถุดิบอำนาจหนี้ของผู้ทำแผนสามารถทำได้เพราะเป็นการดำเนินการค้าตามปกติหนี้ก็มีผลสมบูรณ์