เนื่องด้วยช่วงสถานก […]

      เนื่องด้วยช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งศาลยุติธรรม  สำนักส่งเสริมงานตุลาการ และ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้นำระบบ D-Court ที่มีเป้าหมายให้ศาลยุติธรรมเป็นระบบดิจิทัลในปี พ.ศ. 2563 มากขึ้น ด้วยการพัฒนาระบบงานเพื่อสนับสนุนการพิจารณาพิพากษาคดีให้ประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวก ได้รับบริการรวดเร็ว และประหยัดแบ่งเบาค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก เพื่อลดการเดินทางมาศาลแก่ประชาชนและต่องบประมาณของทางภาครัฐ  

         ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้ออีกทางหนึ่งพร้อมทั้งยังเป็นการอำนวยความยุติธรรมได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย อาธิเช่น แนวทางการไกล่เกลี่ยออนไลน์ การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ หรือวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์  (VDO /Web Conference) การสืบพยาน และอ่านคำพิพากษา การผลัดฟ้อง ฝากขังไปยังเรือนจำ พร้อมยังสามารถติดตามสถานะของคดีได้ผ่านระบบติดตามสำนวนหรือ Tracking system  รวมทั้งการขอรับไฟล์คำพิพากษารูปแบบอิเล็กทรอนิกส์  ที่สามารถดำเนินการได้ใน 10  วัน นับแต่การอ่านคำพิพากษา  การยื่นฟ้องแพ่ง ส่งคำให้การคดีแพ่งออนไลน์  การติดตามสำนวน รวมถึงคัดถ่ายคำพิพากษา ผ่านระบบ e-Filing  Version 3 (คลิกเพื่อเข้าระบบ) 

ซึ่งถูกบัญญัติไว้ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่เป็นการสมควรให้มีข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๔/๑ และมาตรา ๖๘ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๒๘) 

ดาวน์โหลดเอกสารอ้างอิง 

1. ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2560*  

2. ประกาศสำนักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่น ส่ง และรับคำคู่ความและเอกสารทางระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์* 

3. คู่มือการใช้งานฉบับเต็มจาก สำนักงานศาลยุติธรรม (e-Filing COJ v.3) 

ขั้นตอน การยื่นฟ้องคดี

1.กรอกเลือกประเภทคดีที่จะยื่นฟ้องตามประเภทคดี – หน่วยงานรับคำฟ้อง – คดี – เรื่อง และลายละเอียดปลีกย่อยต่างซึ่งต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตาม แบบฟอร์มนำไฟล์ข้อมูลคดีเข้าระบบ (Bulk Template) 

2.อัพโหลดเพื่อนำไฟล์เข้าระบบ คือ 1.ไฟล์รายละเอียดข้อมูลคดีในแบบฟอร์มนำไฟล์ข้อมูลคดีเข้าระบบ (Bilk Template) และ 2.ไฟล์เอกสารประกอบการยื่นฟ้องของคดี โดยสามารถตรวจเช็คได้ว่าข้อมูลในไฟล์ครบถ้วนหรือไม่ โดยทางระบบจะแสดงสถานะ กรณีสีน้ำเงิน:ครบถ้วน กรณีสีแดง:ไม่ครบถ้วน ซึ่งทางสำนักงานยุติธรรมจะเป็นผู้ตรวจเอกสารเอง 

ซึ่งมีกรณีปัญหาคือ การนำไฟล์เข้าระบบของทนายมีปัญหาเนื่องจากไม่เชี่ยวชาญในเรื่องทางเทคนิค เช่น การแปลงนามสกุลไฟล์ และ ปัญหาความรู้เรื่องการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิค รวมทั้งการจัดเรียงและชื่อไฟล์ที่ต้องเป็นไปตามที่ระบบกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ และ กรณีปัญหาการแนบเอกสารเพิ่มเติมสามารถแนบได้น้อยไฟล์(ไม่เกิน 30MB) ซึ่งทางศาลให้ข้อแนะนำว่า ให้แนบเฉพาะเอกสารที่มีใจความสำคัญ 

เนื่องจาก หลังได้รับเลขคดีดำแล้ว จะสามารถยื่นคำร้องเพิ่มเติมเอกสารได้อีก ทั้งนี้ข้อพึงระวังเพิ่มเติมคือการตั้งค่าความละเอียดของเครื่องแสกนไม่ให้ไฟล์ใหญ่เกินไป และ การที่ระบบจะคำนวณค่าธรมเนียมจากจำนวนหน้าในไฟล์ ดังนั้นจึงต้องระวังหากมีหน้าเปล่าติดอยู่รวมในไฟล์ 

ขั้นตอน การลงวันนัด 

สามารถเลือกลงวันนัดพร้อมกัน หรือแยกลงวันนัดก็ได้โดยทนายสามารถเลือกวันนัดได้จากช่วงเวลาในแถบสีเขียวในตารางปฎิทินของทางระบบที่สำนักงานศาลเปิดวันให้ลงวันนัดตามเวลาที่สะดวกและเปิดให้บริการ 

ทั้งนี้จากการฟังสัมนา เกิดกรณีปัญหาในบางศาลที่วันนัดคดีแน่นมาก ทำให้มีการแย่งวันนัดจากหน้าเคาเตอร์ศาลกับระบบ E-filling ข้อแนะนำคือทางทนายต้องประสานไปยังศาลพื้นที่ก่อน เพื่อขอเปิดวันนัดให้ E-filling โดยเฉพาะ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ศาลยินดีที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 

*กรณีปัญหาทางเทคนิค ไม่มีสีเขียวในตารางปฎิทิน แก้ปัญหาเบื้องต้น

1.โทรแจ้งเจ้าหน้าที่รับฟ้องของศาลเพื่อขอเปิดวันนัด 2.รอเจ้าหน้าที่ศาลดำเนินการให้เรียบร้อยระบบจึงจะขึ้นแถบสีเขียวให้เลือก 3.ทนายสามารถบันทึกร่างไว้ก่อนและค่อยกลับมาลงวันนัดอีกครั้งได้ ข้อแนะนำ ควรตรวจสอบประเภทคดี และ คดี ให้ตรงกับที่ทนายต้องการ / ตรวจสอบวันที่นัด และ ช่วงเวลา ให้ตรงกับที่ทนายต้องการ 

ขั้นตอน ทำการชำระเงิน 

ทนายความสามารถชำระเงินพร้อมกันหรือแยกชำระก็ได้ซึ่งค่าธรรมเนียมเป็นไปตามที่ระบบคำนวณให้ โดยมักำหนดเวลาในการจ่ายเงินถึงแค่เวลาเที่ยงคืนในวันที่การจ่ายยังค้างอยู่ในระบบ 

*กรณีที่มีค่าขึ้นศาลในอนาคตทางระบบได้มีตัวเลือก 

กำหนดไว้ให้ แต่ทั้งนี้จากการที่ข้าพเจ้าได้ร่วมฟังสัมมนา กรณีนี้เป็นปัญหาอยู่เนื่องจากทนายความต้องคำนวนเองและจ่ายไปก่อน หากขาดเหลือระบบจะทำการคืนค่าขึ้นศาลหรือเพิ่มเติมจำนวนเงินดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนในการเบิกเงินของทางบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท  

*ข้อพึงระวัง 

-บัตรเครดิต เดบิต ต้องมีการเปิดใช้งานบริการทำธุรกรรม vertify visa แล้วจึงจะสามารถชำระเงินได้  

-พึงระวังการ block ad ของเว็บเบราซเซอร์ ที่อาจบล๊อค pop up การขึ้นแสดงใบเสร็จหลังชำระเงินได้ 

ขั้นตอน ตรวจสอบสถานะฉบับร่างและผลการยื่นคำฟ้อง 

ทางระบบจะแสดงสถานะของผลการค้นหาจากเลขอ้างอิงที่จะได้รับหลังชำระเงินเสร็จสิ้น โดยจะแสดงสถานะดังนี้ 

ฟังก์ชั่นเพิ่มเติมของระบบ E-filling 

-การขอคัดถ่าย 

หากทนายต้องการขอคัดถ่ายเอกสารเพื่อประกอบสำนวนคดี สามารถกดเลือกเอกสารที่ต้องการ แล้วเลือก ขอตัดถ่าย” ระบบจะส่งคำขอคัดถ่ายไปยังเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อตรวจสอบ และส่งให้ผู้พิพากษาพิจารณาอนุญาตคัดถ่าย 

เมื่อผู้พิพากษามีคำสั่งอนุญาติแล้ว ทนายที่ยื่นขอคัดถ่ายเอกสารจะต้องตรวจเช็ค Email เพื่อรับรหัสผ่านในการเปิดเอกสารไฟล์ Zip ของเอกสาร ซึ่งไฟล์เอกสาร และ รหัสผ่าน ทางระบบจะส่งมาคนละฉบับกันทาง Email ซึ่งแนะนำให้ใช้ Google Chrome ในการเปิดใช้งานระบบเนื่องจากเว็บเบราซ์เซอร์อื่นอาจถูกบล๊อคฟังก์ชั่นของระบบE-filling ไว้ให้ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพและอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ (ตามที่สำนักงานศาลแนะนำ) และ ห้ามมีการตัดต่อ หรือ แก้ไขไฟล์ pdf ดังกล่าวเด็ดขาดเนื่องจากจะทำให้เจ้าหน้าที่เปิดไฟล์ PDF ไม่ได้ 

-การแก้ไขคำฟ้อง  

-การยื่น คำร้อง คำขอ คำแถลง  

-การยื่นคำให้การ (ทนายฝ่ายจำเลย) 

ข้อดีของระบบเบื้องต้น 

-กรณี บัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความใกล้หมดอายุ ทางระบบจะทำการแจ้งเตือนล่วงหน้า 90 วันเมื่อทนายความเข้าสู่ระบบ e-Filling หน้าจอจะแสดงกล่องข้อความสีเหลืองแจ้งเตือน“บัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความท่านใกล้หมดอายุ กรุณาปรับปรุงข้อมูลเพื่อใช้งานระบบได้อย่างต่อเนื่อง” มิเช่นนั้นจะไม่สามารถทำรายการใดๆในระบบได้ 

ซึ่งทั้งนี้การต่ออายุบัตรประจำตัวสมาชิกสภาทนายความสามารถทำออนไลน์ได้ โดยดาวโหลดแบบฟอร์มสำนักงานทะเบียนทนายความ คลิก และทำการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง เคาน์เตอร์เซอร์วิสโดยดาวโหลด แบบฟอร์มชำระธรรมเนียม ผ่านบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส คลิก ทำให้ลดความเสี่ยง และ ไม่ต้องเดินทางไปชำระที่ สภาทนายความด้วยตัวเองจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 

-ระบบ E-filling สามารถเก็บข้อมูลของทนายไว้ในระบบทั้งหมด ในกรณีใบแต่งทนายที่ต้องแนบพร้อมใบอนุญาติทนายความ หากเจ้าหน้าต้องการสามารถตรวจสอบได้โดยทนายไม่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศาลอีกหากมีการพิสูจน์ 

-สามารถค้นหาดูสารบัญข้อมูลข้อมูลคดีที่ผู้พิพากษาประทับตราลงนามแล้วได้ ทางระบบออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว 

-สามารถยื่นใบแต่งทนายท่านอื่นเข้ามาดูแลคดีเพิ่มได้ หรือเป็นกรณีทนายฝ่ายจำเลย ต้องการยื่นคำให้การผ่านทางระบบออนไลน์ได้ 

ข้อเสีย 

ระบบ E-Filling ต้องเป็นไปตามความประสงค์ของจำเลยด้วย หากจำเลยประสงค์จะให้ฟ้องแบบยื่นเอกสารปกติ ทางทนายก็จะใช้ระบบ E-filling ไม่ได้  ดังนั้น หากท่านพบข้อสงสัยหรือเหตุขัดข้องอื่นใดกับการใช้งานระบบ กรุณาอย่าลังเลที่จะขอรับคำปรึกษาจากเรา NATTAPATFIRM.COM เราช่วยเหลือกัน เพื่อผลักดันระบบยุติธรรมออนไลน์

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.