เรื่องกฎหมายมรดก จัดการด้วยตัวคุณเอง หรือทนายความ ออนไลน์ ศึกษาขั้นตอนวิธีการรับมรดก สิทธิทายาทโดยธรรมและพินัยกรรม ของเจ้ามรดกโดยร้องต่อศาล

            หลายครั้งที่มีผู้มาปรึกษาปัญหา กฎหมาย-มรดก ว่าเมื่อมีผู้เสียชีวิตในบ้านจะต้อง จัดการมรดกอย่างไร? จะต้องร้องขอต่อศาลยังไง? ในวันนี้ สำนักงานกฎหมาย อันดับ 1 ของเรา ณัฐภัทร เฟริมส์ จึงถือเป็นโอกาสอันดีจะมาเล่าให้ฟังถึงแง่มุมต่างๆ ทั้ง วิธีการ ระยะเวลา ตลอดจน ใครบ้างที่มีสิทธิร้องขอจัดการมรดกของผู้ตาย?

ใครบ้างมีสิทธิร้องขอจัดการมรดก?

            ในการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลนั้น ผู้นั้นจะต้องเป็น ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก หรือกล่าวคือ เป็นผู้ที่เจ้ามรดกกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก

            สำหรับ ผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้น ตามปกติก็คือ ทายาทของเจ้ามรดก นั้นเอง โดยทายาทที่ว่านี้จะต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับทรัพย์สินของเจ้ามรดก โดยสามารถแยกได้ดังนี้

หากเจ้ามรดกทำพินัยกรรมไว้

            1. กรณีที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมทรัพย์สินทุกรายการไว้ กรณีดังกล่าวนี้ผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ “ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพินัยกรรมว่าเป็นผู้รับมรดก” หากเจ้ามรดกไม่มีทรัพย์อื่นๆนอกเหนือที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ทายาทคนอื่นๆย่อมไม่สามารถร้องขอให้จัดการมรดกได้

หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรม

            2. กรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรมไว้เฉพาะทรัพย์สินบางรายการ กรณีดังกล่าวนี้จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่า ทรัพย์มรดกจะตกแก่ใคร ? โดยสามารถแบ่งได้เป็นกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้

            กรณีแรก : เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ผู้สืบสันดาน บิดามารดา และคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่เจ้ามรดกมีลูก หลาน เหลน ลื่อ แต่ หากบุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดก แล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าว ย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีลูกชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง

            กรณีที่สอง : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดัน แต่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ บิดามารดาและคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่สาม : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดานและบิดามารดาเสียชีวิตไปแล้ว แต่มีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ พี่น้องร่วมบิดาและมารดาและคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่เจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมบิดาและมารดา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีพี่ชายร่วมบิดาและมารดาเดียวกันชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง

            กรณีที่สี่ : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา และบิดามารดาได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ พี่น้องร่วมแต่บิดา หรือพี่น้องร่วมแต่มารดา และคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่เจ้ามรดกมีพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีพี่ชายร่วมบิดาเดียวกันชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง

            กรณีที่ห้า : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน ไม่มีพี่น้อง และบิดามารดาเสียชีวิตแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย และคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่หก : เจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน พี่น้อง ปู่ย่าตายาย และบิดามารดาได้เสียชีวิตไปแล้ว บุคคลผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะได้แก่ ลุง ป้า น้า อา และคู่สมรสของเจ้ามรดก

            กรณีที่เจ้ามรดกมีลุง ป้า น้า อา แต่บุคคลดังว่าได้เสียชีวิตไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว หากบุคคลดังกล่าวมีผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าวย่อมสามารถรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ได้ เช่น เจ้ามรดกมีลุงชื่อนายหนึ่ง แต่นายหนึ่งได้เสียชีวิตไปก่อนที่เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายแล้ว ดังนั้น นายสองซึ่งเป็นบุตรของนายหนึ่งย่อมรับมรดกของเจ้ามรดกได้เสมือนเป็นนายหนึ่งเอง

รวมคำพิพากษา ฎีกา

วิธีการ: ขั้นตอนการตั้งผู้จัดการมรดก?

 ในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกนั้น สามารถอธิบายขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้

            1. จัดทำคำร้องยื่นต่อศาล การยื่นคำร้องจะต้องเขียนคำร้องโดยมีเนื้อหาประกอบไปด้วย สถานะของผู้ร้อง, ข้อมูลส่วนตัวของเจ้ามรดก, ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก, รายละเอียดทรัพย์มรดก, เหตุขัดข้องที่ไม่สามารถเข้าจัดการทรัพย์มรดกได้ ตลอดจนผู้ใดจะเป็นผู้จัดการมรดก ลงในแบบพิมพ์ศาลเพื่อยื่นต่อศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ก่อนตาย

            2. ประกาศหนังสือพิมพ์ และนำส่งหมายเรียกให้แก่ทายาทคนอื่นๆ เมื่อมีการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลแล้ว จะต้องประกาศคำร้องดังกล่าวต่อสาธารณชน ซึ่งปัจจุบันสามารถขอใช้วิธีประกาศผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และหากมีทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกหลายคนและมีทายาทบางคนที่ไม่ได้มีหนังสือยินยอมให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก ผู้ยื่นคำร้องจะต้องนำส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องให้แก่ทายาทผู้นั้น เพื่อเรียกเข้ามาสอบถามความยินยอมในวันไต่สวนคำร้อง

            3. ไต่สวนคำร้อง เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง ทนายความจะต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆ ตลอดจนบุคคลที่จะขึ้นให้การต่อศาลถึงความจริงตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้อง

            4. คัดคำสั่งศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เมื่อศาลได้ทำการไต่สวนคำร้องแล้ว ตามปกติ ณ วันเดียวกันนั้นเอง หากศาลเห็นสมควรก็จะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกในทันที ซึ่งในชั้นนี้เราจะต้องขอคัดคำสั่งศาลเพื่อนำไปใช้จัดการมรดก โดยคำสั่งศาล 1 ฉบับ จะเสียค่าคัดจำนวน 50 บาท การจัดการมรดก 1 ชิ้น จะต้องใช้คำสั่งศาล 1 ฉบับ ดังนั้นจะต้องขอคัดตามจำนวนทรัพย์ที่จะต้องจัดการ

            อนึ่ง ทรัพย์บางชนิด หน่วยงานราชการบางแห่งมีหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เช่น กรมที่ดิน ดังนั้นแล้ว ในการจัดการมรดกที่เป็นทรัพย์สินประเภท “ที่ดิน” จะต้องมีการขอ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด โดยสามารถขอได้เมื่อพ้น 1 เดือนนับแต่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดก และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมจำนวน 100 บาท ต่อหนังสือรับรอง 1 ฉบับ

            5. นำคำสั่งศาลและหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดไปแสดงเพื่อขอโอนทรัพย์มรดก ในชั้นนี้จะต้องนำเอกสารที่ได้รับมาไปแสดงต่อหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนที่ดูแลทรัพย์มรดกของผู้ตายอยู่ เพื่อขอจำหน่ายหรือโอนทรัพย์มรดก

ระยะเวลาการดำเนินการ?

            ด้วยปัจจุบันสามารถร้องขอ จัดการมรดกทางช่องทางออนไลน์ได้ ทำให้การยื่นคำร้องสามารถทำได้ง่าย อีกทั้ง การไต่สวนคำร้องสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและค่าทนายความลงได้ โดยระยะเวลาที่ใช้ดำเนินการตามปกติอยู่ที่ประมาณ 1 เดือนนับแต่ยื่นคำร้อง ทั้งนี้ **ขึ้นอยู่กับคดีที่ค้างพิจารณาในแต่ละศาล และใช้ระยะเวลาไต่สวนคำร้องเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น 

            หากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการจัดการมรดก สามารถติดต่อสอบถามได้ทาง @Lineทนายความ 

TAGGED

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.