ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาซื้อขายรถยนต์
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาซื้อขายรถยนต์
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน
รถยนต์ถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญ ทั้งในการเดินทางและสร้างรายได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสัญญาซื้อขายไว้เป็นหลักประกัน
สัญญาซื้อขายยานพาหนะ เช่น เรือ และรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก รถจักรยานยนต์ อยู่บนพื้นฐานของสัญญาซื้อขาย โดยระบุถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายกันว่าคือทรัพย์ชิ้นไหน ส่วนใด ปริมาณเท่าใด คุณลักษณะ ทั่วไปและเฉพาะ ทั้งนี้ นอกจากระบุลักษณะบ่งชี้และรายละเอียดของทรัพย์ที่ซื้อขายกันโดยละเอียดแล้วนั้น สัญญานี้ยังต้องระบุถึงราคา การส่งมอบ รวมถึงเงื่อนไขการรับประกันอีกด้วย เงื่อนไขต่างๆ เพื่อลดข้อโต้แย้งในการซื้อขาย
สัญญาซื้อขายยานพาหนะนี้ควรระบุรายละเอียดต่างๆที่ “ตกลงไว้ให้ชัดเจน” ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาภายหลัง และเพื่อใช้อ้างอิงกรณีทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่เป็นไปตามที่ตกลงกัน อย่างไรก็ดี ในประเทศไทย ยานพาหนะ ที่กล่าวข้างต้น ต่างเป็นทรัพย์ที่กฎหมายกำหนดให้มีทะเบียน กล่าวคือในกรณีที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น การซื้อขาย การให้ จะต้องมีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กับนายทะเบียนด้วย เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ และเป็นข้อสันนิฐานตามกฎหมายว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้ใด
หากคู่สัญญาตกลงกันว่าจะยังไม่จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทันทีและตกลงกันให้ผู้ซื้อเป็นผู้ดำเนินการเอง ผู้ซื้อควรแน่ใจว่าผู้ขายได้จัดเตรียมและลงนามในเอกสารคำขอและเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมอบอำนาจ ให้ผู้ซื้อไปเนินการเองแล้วด้วย เพื่อมั่นใจว่าจะสามารถจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่มีปัญหา โดยสามารถตรวจสอบรายการเอกสาร วิธี และขั้นตอนได้ที่ กรมการขนส่งสำหรับรถยนต์ทุกประเภท หรือ กรมเจ้าท่าสำหรับเรือ
ผู้ซื้ออาจตรวจสอบเอกสารทางทะเบียนที่หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบออกให้ เช่น ใบคู่มือจดทะเบียนรถ ใบทะเบียนเรือ เพื่อตรวจสอบ กรรมสิทธิ์ผู้ขาย การครองครอง ประวัติการโอนกรรมสิทธิ์ ประวัติการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทางทะเบียนต่างๆ รวมถึงนำมาใช้อ้างอิงแนบในสัญญาเพื่อบ่งชี้ทรัพย์สินที่ซื้อขาย โดยผู้ที่จะเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้ขายซึ่งจะต้องลงนามในสัญญานั้น ผู้ซื้อต้องแน่ใจว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของยานพาหนะที่ซื้อขายกัน หรือหากไม่ใช่ต้องมีหลักฐานแสดงว่าผู้ขายที่เป็นคู่สัญญามีอำนาจนำยานพาหนะนั้นมาขาย เช่น ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่
ทั้งนี้ คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย
เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญา ว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667