เพราะบางครั้งตัวกฎหมายเองอันตรายต่อทรัพย์สินคุณมากกว่าลูกปืน ทำใบป.3 ด้วยตัวคุณเองทราบขั้นตอนที่จำเป็นต้องรู้ มาครอบครองปืนตามกฎหมายอย่างอุ่นใจกันดีกว่า ร่วมเรียนรู้พร้อมกับเรา
ที่มา www.led.go.th/magazine/pdf/book17_88.pdf

การเพิกถอนการฉ้อฉล

กล่าวคือ การที่ลูกหนี้ได้จำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินนิติกรรมต่างๆเป็นเหตุให้กองทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ครบถ้วน เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ในการใช้อำนาจของเจ้าหนี้ในการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237 มาตรา 113 กฎหมายล้มละลาย

ในการขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตาม ปพพ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ขอได้ คือ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนศาลมีคำสั่งลูกหนี้ได้โอนทรัพย์ออกไปทำให้กองทรัพย์สินนั้นลดน้อยถอยลง คือ ลูกหนี้ยกทรัพย์สินให้กับญาติ ในมาตรา 113 บอกว่า การขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ปพพ มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใดๆที่ทำลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ 

มาตรา 113 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์เพิกถอนฉ้อฉลตามมาตรา 237 เมื่อศาลมีคำสั่งแล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์มาตรวจสอบแล้วพบว่าลูกหนี้ยกทรัพย์สินให้คนอื่นแล้วการโอนทรัพย์สินนั้นเป็นทางทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ คือ เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาร้องต่อศาลเพื่อศาลเพิกถอน ทรัพย์สินนั้นก็จะกลับมาสู่กองทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 

ในมาตรา 113 การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ปพพ ให้ทำได้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทำเป็นคำร้อง และไม่ให้ขอเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่รู้ถึงเหตุให้เพิกถอนหรือ 10 ปีนับแต่ทำนิติกรรมนั้น จากมาตรา 113 การเพิกถอนฉ้อฉลเฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ร้องขอได้ 

ฐานของผู้ร้องขอเป็นการร้องขอโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 237 ให้อำนาจเจ้าหนี้แต่เมื่อลูกหนี้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ใช้อำนาจแทนเจ้าหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ก็มีฐานเป็นผู้แทนของเจ้าหนี้ ถ้าเกิดว่าลูกหนี้อยู่ในคดีล้มละลายแล้วและลูกหนี้ได้ทำการฉ้อฉลโอนทรัพย์สินให้เจ้าหนี้เสียเปรียบคนที่ร้องขอได้มีแต่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ เจ้าหนี้จะมาขอไม่ได้ 

ภาระการพิสูจน์ในการร้องขอ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์เป็นคนยื่นคำร้องและอ้างว่าลูกหนี้โอนทรัพย์สินให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าพนักงานพิทักษ์ก็มีฐานเป็นผู้ร้องจึงมีภาระการพิสูจน์แต่ก็มีกฎหมายกำหนดข้อสันนิษฐานไว้ว่าถ้ามีความตามข้อเท็จจริงต่อไปนี้แล้วก็ให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้โอนทรัพย์สินเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ 

เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานแล้วภาระการพิสูจน์ก็จะเป็นของผู้รับโอน ตามมาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ขอให้เพิกถอนฉ้อฉลเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และเป็นการให้โดยเสน่หาหรือลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ให้รับมอบแก่การนั้นรู้อยู่แล้วว่าเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

(1) การโอนนั้นได้เกิดขึ้นภายใน 1 ปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น – ในกฎหมายล้มละลายวันฟ้องหรือวันขอให้ล้มละลาย หนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลาย เช่น มีการฟ้องให้ล้มละลาย 2 มกราคม 2560 1 ปีย้อนไปในอดีตก็คือ 2 มกราคม 2559 ถึง 2 มกราคม 2560 ก็คือ 1 ปีก่อนให้ล้มละลาย และภายหลัง นั้นคือ ภายหลังจากมีการขอให้ล้มละลาย 

ภายหลังนั้นหมายถึงภายหลังที่มีการขอให้ล้มละลายจนถึงวันก่อนที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพราะ ถ้าเกิดว่าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่มีอีกแล้วตามมาตรา 22 เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์แต่ผู้เดียวมีอำนาจต่อไปนี้ มาตรา 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วห้ามลูกหนี้กระทำการใดๆเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเว้นแต่จะได้ทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ ดังนั้นโดยผลของมาตรา 22 และ 24 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วลูกหนี้หมดอำนาจในการจัดการทรัพย์สิน 

ถ้าลูกหนี้ไปทำนิติกรรมใดๆตั้งแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือวาการกระทำของลูกหนี้ขัดต่อมาตรา 22 และมาตรา 24 ซึ่งการกระทำที่ขัดต่อ พรบ นี้เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยก็ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 การกระทำที่จะมีการเพิกถอนต้องมีขึ้นก่อนศาลมีคำสั่ง แต่ถ้าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็จะเป็นการเพิกถอนนิติกรรมเนื่องจากนิติกรรมเป็นโมฆะ

ในมาตรา 114 ที่เป็นข้อสันนิษฐานว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้ได้กระทำโดยรู้อยู่แล้วว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันแรกคือนิติกรรมนั้นเกิดขึ้นก่อนมีการขอให้ล้มละลาย 1 ปีและภายหลังนั้นคือภายหลังจากมีการขอล้มละลายแต่ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่ง ถือว่ากรณีให้โดยเสน่หาไม่มีปัญหา หรือการได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร แค่รถ 10 ล้านขายไป 3 หมื่นก็ถือว่าน้อยเกินสมควร ถ้ามีข้อเท็จจริงแบบนี้ก็ให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ได้โอนทรัพย์สินไปให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ 

ฝ่ายผู้รับโอนก็จะมีหน้าที่ในการนำพยานมาสืบหักล้าง ถ้าเกิดว่าลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ยกทรัพย์สินให้กับหนึ่ง หนึ่งยกให้กับสอง ในระหว่างลูกหนี้เจ้าพนักงานก็เพิกถอนตามมาตรา 113 แต่ทรัพย์สินนั้นอยู่ที่สองแล้ว เป็นปัญหาว่าสองจะต้องคืนหรือไม่ มาตรา 238 ปพพ บอกว่า การเพิกถอนดังกล่าวไม่กระทบสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มมีการฟ้องคดีขอเพิกถอน หมายความว่า สองจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อก่อนมีการเพิกถอนสองได้รับไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน 

ที่มา www.led.go.th/magazine/pdf/book17_88.pdf

การเพิกถอนการชำระหนี้ที่เป็นการให้เปรียบ

มาตรา 115 เกิดขึ้นในกรณีที่ว่าก่อนที่ลูกหนี้จะถูกพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแล้วทรัพย์สินไม่เพียงพอแล้วลูกหนี้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้บางราย ขณะที่รายอื่นๆไม่ได้รับชำระหนี้ เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ มีหลายกรณีที่ลูกหนี้ได้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งเพียงรายเดียวแล้วกฎหมายมองว่ายังถือไม่ได้ว่าเป็นการให้เปรียบ ลักษณะที่ยอมรับว่าไม่ได้เป็นการให้เปรียบ 

มาตรา 115 การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอล้มละลายและภายหลังนั้นโดยมุ่งหวังให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบเจ้าหนี้คนอื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์มีคำขอศาลสามารถเพิกถอนได้

มาตรา 115 เกิดจากก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย ลูกหนี้ไปชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งทำให้เจ้าหนี้รายอื่นไม่ได้รับชำระหนี้ เจ้าหนี้ที่ได้รับก็ได้ประโยชน์กว่าเจ้าหนี้คนอื่นๆ เมื่อหนึ่งเป็นเจ้าหนี้คนเดียวที่ได้รับชำระหนี้ไป เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ก็จะมายื่นขอเพิกถอนการรับชำระหนี้ของหนึ่ง ถ้าศาลมีคำสั่งหนึ่งต้องคืนเงินกลับเข้าไว้ในกองทรัพย์สิน แล้วก็ให้หนึ่งมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อยื่นคำขอแล้วก็ได้รับชำระหนี้เท่ากับเจ้าหนี้รายอื่น

คนที่มีสิทธิยื่นคำร้องที่จะไปเอาทรัพย์สินกลับคืนมาไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 115 คือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มาตรา 115 การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใดๆซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอล้มละลายและภายหลังนั้นโดยมุ่งหวังให้เจ้าหนี้คนใดได้เปรียบเจ้าหนี้คนอื่น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์มีคำขอ เมื่อกฎหมายกำหนดว่าให้เฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีสิทธิยื่นตามมาตรา 115 ถ้าหากเจ้าหนี้ประสงค์ให้มีการยื่นคำร้องตามมาตรา 115 เจ้าหนี้ก็ต้องมาแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ยื่นคำร้องตามมาตรา 115 

ถ้าเจ้าหนี้ไปยื่นคำร้องแล้วให้เจ้าพนักงานไปยื่นคำร้องแต่เจ้าพนักงานไม่ยอมยื่น เจ้าหนี้จะดำเนินการอย่างไร กรณีนี้เจ้าหนี้มีทางแก้คือไปร้องคัดค้านคำสั่งคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อให้ศาลกลับคำสั่งจากไม่ยื่นเป็นให้ยื่น ศาลจะมาตรวจสอบอีกทีว่าการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไปนั้นหรือตัดสินใจไม่ดำเนินการมันชอบหรือไม่ชอบ กฎหมายให้อำนาจไว้ในมาตรา 116 คือ เมื่อได้รับความเสียหายจากการกระทำหรือการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ให้ยื่นคำร้องต่อศาลได้ และให้ศาลมีคำสั่งยกปรับแก้ได้

เมื่อทราบตัวบุคคลที่จะร้องขอเพิกถอนนิติกรรมที่เป็นการได้เปรียบ นิติกรรมที่จะถูกเพิกถอนต้องประกอบด้วยเงื่อนไขตามมาตรา 115 คือ 

(1) ลูกหนี้ทำการใดๆหรือโอนก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คือ ลูกหนี้กระทำการใดๆกับทรัพย์ของตนเพื่อเป็นการชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้คนใดคนหนึ่ง เช่น ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายก็เอารถยนต์ไปให้นายหนึ่งได้รับชำระหนี้ ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแต่มีที่ดินเปลงเดียวก็เอาไปจำนองชำระหนี้ให้กับหนึ่ง *คนที่ทำต้องเป็น “ลูกหนี้” 

(2) เวลา 3 เดือนก่อนมีการขอล้มละลายและภายหลังนั้น กฎหมายเอาเฉพาะนิติกรรมที่ดำเนินการสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย เช่น มีการขอล้มละลาย 14 กุมภา 2560 หนึ่งเดือน 14 มกรา 2560 สองเดือน 14 ธันวา 59 สามเดือน 14 พฤศจิกายน 2559 หรือภายหลังก็คือภายหลังมีขอล้มละลายจนถึงก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เพราะถ้าศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ทำนิติกรรมใดๆโดยไม่ได้รับความเห็นชอบ นิติกรรมนั้นขัดกับมาตรา 22 มาตรา 24 ก็จะตกเป็นโมฆะ นิติกรรมที่เกิดขึ้นนับแต่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นิติกรรมนั้นตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา 150 นิติกรรมที่จะเพิกถอนตามมาตรา 115 ต้องเป็นนิติกรรมสามเดือนก่อนล้มละลายและภายหลังนั้นก่อนศาลมีคำสั่ง

การกระทำอย่างไรที่เป็น “การกระทำที่มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้คนอื่นๆ” คือ ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายรายแล้วลูกหนี้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้รายใดรายหนึ่งในขณะที่เจ้าหนีอื่นๆไม่ได้รับชำรหนี้ คนที่ไม่ได้รับชำระหนี้ต้องมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ 

อย่างไรเป็น “การให้เปรียบ” คือ มีเจ้าหนี้หลายรายลูกหนี้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เพียงรายเดียว มีเจ้าหนี้หลายรายลูกหนี้จำนองทรัพย์สินให้กับเจ้าหนี้เพียงรายเดียว 

ข้อสังเกต ดูเจตนาของลูกหนี้ว่าลูกหนี้โอนมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ้งได้เปรียบเจ้าหนี้คนอื่นเป็นสำคัญ มองเจตนาของลูกหนี้เป็นสำคัญว่าลูกหนี้มุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น โดยไม่ต้องพิจารณาว่าเจ้าหนี้ที่รับโอนสุจริตหรือไม่ แค่ลูกหนี้มุ่งหมายก็พอแล้ว 

บุคคลภายนอกได้รับการคุ้มครองหรือไม่

บทบัญญัติในมาตรา 115 ไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอล้มละลาย คือ บุคคลภายนอกจะได้รับการคุ้มครองถ้าหากสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย การเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 และการเพิกถอนการชำระหนี้ที่เป็นการให้เปรียบตามมาตรา 115 สังเกตว่าการจะเพิกถอนการโอนทั้งสองกรณีนี้เป็นการกระทำของลูกหนี้ที่เกิดก่อนศาลมีคำสั่ง คือ ภายหลังขอให้ล้มละลายก่อนที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เวลาปกติคือ 3 เดือน

ถ้าหากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วลูกหนี้ไปทำนิติกรรมต่างๆแล้วการกระทำนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังในส่วนของนิติกรรมก็ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150  ดังนั้น หากคุณกำลังเผชิญปัญหา ล้มละลาย แล้วละก็ อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา NATTAPATFIRM.COM เพื่อรับคำปรึกษาและบริการด้านกฎหมายล้มละลาย

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.