ปฎิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียได้มีอิทธิพลกับผู้คนจำนวนมา […]

ปฎิเสธไม่ได้ว่าโซเชียลมีเดียได้มีอิทธิพลกับผู้คนจำนวนมากในปัจจุบัน ซึ่งการแสดงความคิดเห็นโดยทั่วไปนั้น บางข้อคุณอาจไม่ทราบว่ากำลังทำผิดกฎหมายหรือสุ่มเสี่ยงที่จะโดนฟ้องหมิ่นประมาทอยู่ จากข้อซักถามจำนวนมากที่สำนักงานกฎหมายณัฐภัทรได้รับเกี่ยวกับการฟ้องหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต ทำให้วันนี้ เราจะมาทำความรู้จักกฎหมายหมิ่นประมาท และแนวทางการต่อสู้คดีและไกล่เกลี่ยเบื้องต้นกัน

หมิ่นประมาท คือ

ความผิดฐานหมิ่นประมาทในมุมองทางกฎหมายไทย ถูกบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 โดยมีหลักว่า

มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ซึ่งกฎหมายหมิ่นประมาทไม่ได้มุ่งคุ้มครองแก่ผู้มีชีวิตอยู่เท่านั้น หากแต่ยังคุ้มครองไปถึงผู้ตายในมาตรา 327 และมีการบัญญัติโทษเพิ่มเติมหากหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา กล่าวคือ เผยแพร่ในทางสารธารณะที่ครอบคลุมถึง รูปถ่าย ทีวี ภาพยนต์ และสื่ออิเล็กทรอนิสก์ใด ๆ อีกด้วย 

การกระทำที่เข้าข่ายหมื่นประมาท

ในคดีที่เราพบได้บ่อยที่สุดคือ การโพสต์ Facebook หรือ แสดงความคิดเห็นหมิ่นประมาทผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและหรือสื่อโซเชียลมีเดียใด ๆ ในแง่ลบ โดยอาจเป็นความคิดเห็นติชมร้านค้าภายในแอพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ใด ๆ ซึ่งมีบุคคลที่สามพบเห็นและผู้ถูกแสดงความเห็นนั้นรู้สึกชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การกระทำทั้งหมดนี้อาจส่งผลให้คุณถูกฟ้องหมิ่นประมาทได้

โดยปัจจุบัน ได้มีบทกฎหมายบัญญัติสำหรับความผิดว่าด้วยการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จลงในระบบคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 อีกด้วย ทำให้ปัจจุบันการถูกฟ้องในคดีหมิ่นประมาทในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียปัจจุบัน จะถือเป็น 2 ฐานความผิดร่วมกัน กล่าวคือ ตามมาตรา 326 ประมวลกฎหมายอาญา และ ตาม มาตรา 14 พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ร่วมด้วย

การฟ้องคดีหมิ่นประมาท (กรณีผู้ฟ้อง)

คดีหมิ่นประมาท มักถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ซึ่งคุณสามารถเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อทำสำนวนคดีส่งฟ้องต่ออัยการ หรือ จ้างทนายความฟ้องคดีหมิ่นประมาทก็ย่อมได้เช่นกัน หากแต่การจ้างทนายจะมีค่าใช้จ่ายหรือค่าวิชาชีพที่ขึ้นอยู่กับแต่ละสำนักงานที่คุณเชื่อถือและเลือกใช้บริการ

ทั้งนี้ การฟ้องคดีหมิ่นประมาท ศาลท่านอาจมีคำสั่งประทับรับฟ้องหรือไม่รับฟ้องก็ย่อมได้ ขึ้นอยู่กับมูลคดี กล่าวคือ ต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิดอำนาจฟ้องร้องตามสิทธินั้นๆ หรือเหตุแห่งการฟ้องร้องว่ารับฟังได้มากน้อยเพียงใด และมีเป็นเหตุจำเป็นต่อการพิจารณาคดีหรือไม่ ดังนั้น สิ่งที่คุณควรเตรียมพร้อมก่อนฟ้องคดีหมิ่นประมาทคือ “การหาพยานหลักฐานที่รัดกุม” ไม่ว่าจะเป็น บันทึกการสนทนา ภาพถ่าย สำนวนคดี หรือข้อมูลใด ๆ ที่อาจบ่งชี้ตัวผู้กระทำความผิดได้ชัดเจน จากนั้น ศึกษาข้อกฎหมายและคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องกับคดีหมิ่นประมาท ว่าในมูลเหตุของคุณสามารถนำไปสู่การพิจารณาคดีได้หรือไม่ เพื่อเพิ่มประโยชน์ในการส่งฟ้อง

ค่าใช้จ่ายการในการฟ้องคดีเบื้องต้น

กรณีต้องการเป็นโจทก์ การฟ้องคดีหมิ่นประมาท ค่าใช้จ่ายจะเริ่มต้นที่ 30,000 บาทโดยทั่วไปสำหรับการจ้างทนายเพื่อดำเนินการ ซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับคดีแพ่งที่ทุนทรัพย์เกินกว่า 3 แสนบาท ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลศาล 2 เปอร์เซ็นต์ หรือ สำหรับคดีแพ่งที่ทุนทรัพย์น้อยกว่า 3 แสนบาท ที่ต้องเสียค่าขึ้นศาล 1,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ในคดีหมิ่นประมาทของผู้ฟ้องจะประเมิณจากความเสียหายด้านชื่อเสียงกับการทำมาหาได้ที่ได้รับผลกระทบ ความน่าเชื่อถือของกิจการจากผลกระทบซึ่งอาจเป็นยอดขายที่ลดลง และค่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยในคดีหมิ่นประมาทตามจริง ซึ่งราคานี้เป็นค่าเฉลี่ยสำหรับสำนักงานกฎหมายในไทย แปรผันตามชื่อเสียงทางวิชาชีพและความยากง่ายในการต่อสู้คดีในสำนวนที่เกิดขึ้นของโจทก์

เลือกไกล่เกลี่ยในคดีหมิ่นประมาท

คดีหมิ่นประมาท ถือเป็นคดีที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว สามารถยอมความกันได้ ซึ่งเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ทั้งก่อนฟ้องและหลังฟ้อง หากคู่กรณีสามารถตกลงกันได้ในระยะเวลาก่อนฟ้องร้องคดีขึ้นสู่ชั้นศาลหรือภายใต้กระบวนการไกล่เกลี่ยของศาล จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้จำนวนมาก ดังนั้น หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงระยะเวลาในการดำเนินคดีที่ยาวนาน ประหยัดเงิน และต้องการให้ความช่วยเหลือผู้กระทำความผิดบางส่วนเพื่อขจัดความยุ่งยากในกระบวนการศาล สำนักงานทนายความจะแนะนำให้เจรจราไกล่เกลี่ยเป็นอันดับแรก โดยจัดหาทนายความเพื่อให้การพูดคุย ทำสัญญาไกล่เกลี่ย และการเจรจราเป็นไปโดยง่ายและพูดคุยด้วยหลักกฎหมายเป็นหลัก

การต่อสู้คดีหมิ่นประมาท (กรณีถูกฟ้อง)

เมื่อคุณรู้ตัวว่ากำลังจะถูกฟ้อง หรือได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายศาลในคดีหมิ่นประมาท ขั้นแรกคุณจำเป็นต้องเข้าใจในข้อต่อสู้ของผู้ฟ้อง ซึ่งสามารถอ่านได้ในส่วนข้อเท็จจริงและรายละเอียด ซึ่งจะระบุ ถ้อยคำพูด หนังสือ ภาพขีดเขียนหรือสิ่งอื่นอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ตามคำขอท้ายฟ้องทั้งในคดีหมิ่นประมาททางแพ่งและอาญา

เมื่ออ่านข้อความตามสำเนาคำฟ้องเสร็จสิ้น คุณจะเข้าใจได้ว่าข้อเท็จจริงได้ใดที่พอจะต่อสู้คดีได้ ซึ่งอ้างอิงตาม มาตรา 329 ประมวลกฎหมายอาญา ที่ได้คุ้มครองผู้แสดงความเห็นหรือข้อความโดยสุจริตไว้

มาตรา 329  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
(1) เพื่อความชอบธรรม  ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
(2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
(3) ติชม ด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
(4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

อย่างไรก็ตาม มีข้อควรพิจารณาอยู่ว่าการที่ศาลท่านได้ประทับรับฟ้องและคุณได้รับสำเนาคำฟ้องตามที่อยู่ภูมิลำเนา มีความเป็นไปได้ว่าคดีหมิ่นประมาทนั้นมีมูลและหลักฐานที่ผู้ฟ้องมอบให้แก่ศาลเพื่อพิจารณาคดีมีข้อต่อสู้ที่รับฟังได้ หากเป็นกรณีเช่นนั้น เราแนะนำให้คุณ ติดต่อทนายความ เพื่อรับคำปรึกษาทางกฎหมายโดยด่วน เนื่องจากถ้อยคำตามสำนวนประชาชนทั่วไปอาจทำความเข้าใจได้ยาก และการต่อสู้คดีอาจไม่สมประโยชน์เท่าที่ควรหากเลือกทางสู้คดีด้วยตนเองเพียงลำพัง

ค่าใช้จ่ายของจำเลยในการสู้คดีหมิ่นประมาท

หากท่านเป็นผู้ถูกฟ้อง หรือตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาท ท่านไม่มีหน้าที่ชำระค่าธรรมเนียมศาลหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดในทางศาลเช่นผู้ฟ้องหรือโจทก์ในคดี หากแต่ท่านอาจจำเป็นต้อง จัดหาทนายความ ซึ่งค่าวิชาชีพทนายความจำเลยในการสู้คดีหมิ่นประมาท เริ่มต้นที่ 50,000 บาทโดยเฉลี่ย ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงทางวิชาชีพและความยากง่ายในการต่อสู้คดีในสำนวนและมูลเหตุตามคำฟ้องที่เกิดขึ้น

เลือกไกล่เกลี่ยในฐานะผู้ถูกฟ้อง

เมื่อถูกฟ้องและอยู่ในสถานะจำเลย ทางเลือกที่ดีที่สุดในบางกรณีอาจเป็นการตกลงเพื่อไกล่เกลี่ยแทนการสู้คดีในชั้นศาล การรับประโยชน์ด้านค่าใช้จ่ายที่ลดลง และ การไกล่เกลี่ยที่ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เราแนะนำให้คุณติดต่อกับโจทย์ตามหมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมล์ จากข้อมูลในสำเนาคำฟ้องที่ได้รับเพื่อหาทางออกที่เป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายในเบื้องต้น ซึ่งหลังจากการเจรจราตกลง ท่านและคู่กรณีในข้อพิพาทอาจจัดทำสัญญาประณีประนอมยอมความ และยื่นข้อเสนอผ่อนชำระค่าเสียหายตามฐานะทางการเงินส่วนตัว เพื่อเป็นหลักฐานยอมความในคดีหมิ่นประมาทซึ่งสามารถทำได้

ตัวอย่าง คดีหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.