ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาก่อนสมรส
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับสัญญาก่อนสมรส
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน
สัญญาก่อนสมรสเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสองคนที่จะแต่งงานกันในอนาคตอันใกล้ วัตถุประสงค์หลักคือดำเนินการเรื่องบัญชีการเงินล่วงหน้าในกรณีที่อาจมีการหย่าร้าง ในขณะที่ข้อตกลงก่อนสมรสนี้อาจดูไม่ค่อยโรแมนติก แต่ก็มั่นใจได้ว่าเรื่องการเงินของคุณได้รับการจัดการตามความต้องการของคุณแทนที่จะเป็นศาล การกำหนดข้อตกลงก่อนสมรสเหมาะสำหรับคุณ ควรเป็นการตัดสินใจส่วนตัวและควรได้รับตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย นี่คือรายการการตรวจสอบเพื่อให้คุณพิจารณาว่าการตกลงก่อนสมรสเหมาะสมกับสถานการณ์ของคุณหรือไม่
โดยทั่วไป รูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ไม่ว่าจะเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวของคู่สมรสนั้น หากไม่ได้มีการทำสัญญาตกลงกันว่าจะจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสอย่างไร ก็จะใช้บังคับไปตาม หมวด 4 แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายได้เปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงรูปแบบ วิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้ตามที่คู่สมรสนั้นเห็นสมควรและเหมาะสมกับบริบทของตน.
คู่สัญญาควรระบุรายละเอียด เงื่อนไข และข้อตกลงสำคัญของสัญญาก่อนสมรสโดยละเอียด เช่น รายละเอียดของคู่สัญญาเพื่อการอ้างอิงตัวบุคคลที่ถูกต้อง เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เนื่องจากตัวบุคคลซึ่งเป็นว่าที่ สามีและภรรยา ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาก่อนสมรสนี้ และระบุขอบเขตอำนาจ หลักเกณฑ์ ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขในการจัดการสินสมรส ว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะจัดการสินสมรสอย่างไร เช่น แบ่งทรัพย์สินให้คู่สมรสสามารถจัดการได้โดยลำพังหรือต้องจัดการร่วมกัน
ทั้งนี้เมื่อคู่สัญญาได้เจรจาต่อรองเงื่อนไขและข้อตกลงการจัดการทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสจนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่พอใจแล้ว ให้คู่สัญญาจัดทำสัญญาก่อนสมรสเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยต้องมีพยานอย่างน้อย 2 คน ลงนามในสัญญาก่อนสมรสด้วย
ในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น คู่สัญญาสามารถตกลงเงื่อนไขที่แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดได้เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของคู่สมรสในระหว่างการสมรส เท่านั้น คู่สัญญาไม่สามารถทำความตกลงในเรื่องอื่นๆ ที่แตกต่างไปจากกฎหมายได้ เช่น หนี้สิน การใช้อำนาจปกครองบุตร หน้าที่การอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรสอีกฝ่ายและ/หรือบุตร รวมถึงข้อตกลงการแบ่งทรัพย์สินในกรณีหย่าร้าง
ทั้งในการจัดทำ สัญญาก่อนสมรสนั้น จะต้องจัดทำก่อนหรืออย่างน้อยขณะจดทะเบียนสมรส หากมีการทำสัญญาดังกล่าวในภายหลังการจดทะเบียนสมรส (เช่น ในขณะที่เป็นสามีภรรยากัน) ตามกฎหมายแล้วจะถือว่าเป็น สัญญาระหว่างสมรส ซึ่งคู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภรรยากัน
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667