ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาเช่าช่วง
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับสัญญาเช่าช่วง
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน
สัญญาเช่าช่วง หรือสัญญาให้เช่าช่วง เป็นสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้าง (อสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ห้องชุด คอนโดมิเนียม ห้องอยู่อาศัย อะพาร์ตเมนต์ แฟลต หอพัก) โดยจะมีคู่สัญญาสองฝ่ายคือ ผู้ให้เช่าช่วง คือผู้ที่นำสิ่งปลูกสร้างนั้นออกให้เช่า ซึ่งตนก็ได้เช่าสิ่งปลูกสร้างนั้นต่อมาจากผู้อื่น เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง และ ผู้เช่าช่วง อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งมีสิทธิใด้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในการอยู่อาศัยของสิ่งปลูกสร้างที่เช่านั้น ภายในระยะเวลาหนึ่ง โดยผู้เช่าช่วงตกลงจะชำระค่าเช่าเพื่อตอบแทนการใช้ประโยชน์นั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งปลูกสร้างที่ให้เช่าช่วง
ทั้งนี้ คู่สัญญายังอาจสามารถตกลงและกำหนดเงื่อนไข ภาระหน้าที่ ความสัมพันธ์เกี่ยวกับการเช่าและการใช้ประโยชน์กันให้ชัดเจนไว้ในสัญญาเช่าช่วงได้ เช่น คำมั่นจะให้ใช้เช่าต่อเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า หลักประกันการเช่า เงินกินเปล่า ค่าบริการส่วนกลาง ค่าบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน หน้าที่การทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองในสิ่งปลูกสร้าง หน้าที่การบำรุงรักษาทรัพย์สินที่เช่า เงื่อนไขการแก้ไขดัดแปลงสิ่งปลูกสร้างที่เช่า ภาระภาษีเกี่ยวกับการเช่าสิ่งปลูกสร้างที่เช่าได้อีกด้วย
ในการทำสัญญาเช่า ไม่ว่าการเช่าในลำดับแรก หรือการเช่าช่วง โดยทั่วไปถือตัวผู้เช่า หรือผู้เช่าช่วง ถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา เนื่องจากมีพฤติกรรมการใช้ชีวิต ความระมัดระวัง และสถานะทางการเงินแตกต่างกัน ดังนั้น การที่ผู้เช่าจะนำสิ่งปลูกสร้างที่เช่ากันนี้ ไปให้เช่าต่อแก่บุคคลอื่น โดยทั่วไปไม่สามารถทำได้ ตามกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะได้ให้ความยินยอม หรือได้ตกลงยินยอมไว้ล่วงหน้าในสัญญาแล้ว
คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองบริษัทและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้
การเช่าสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์มีทะเบียนที่มีระยะเวลาการเช่าเกินว่า 3 ปี ไม่ว่าจะเป็นการเช่าลำดับแรกหรือเป็นการเช่าช่วง กฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือตามแบบ และจดทะเบียนการเช่าต่อกรมที่ดินด้วย และ ในการทำสัญญาเช่าช่วง ผู้เช่าช่วงต้องมั่นใจว่า ผู้ให้เช่าช่วงมีสิทธินำสิ่งปลูกสร้างออกให้เช่าได้โดยชอบ กล่าวคือ ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าซึ่งเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นแล้ว โดยความยินยอมนั้นระบุอยู่ในสัญญาเช่าสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้ให้เช่าและผู้เช่า หรืออาจทำเป็นหนังสือแยกต่างหากโดยลงนามผู้ให้เช่าก็ได้ รวมถึงตรวจสอบเงื่อนไขการให้เช่าช่วงไว้ด้วยว่ามีเงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการให้เช่าช่วงต่ออย่างไร
ทั้งนี้ กรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667