ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาเก็บรักษาข้อมูลความลับ
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

หนังสือฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อยืนยันและป้องกันโดยใช้กฎหมายเป็นตัวกลาง หากมีกรณีข้อพิพาทขึ้นจ้างงาน ทั้งนี้ มันมักจะเกิดขึ้นโดยมากตามสถิติของสำนักงานเรา กรุณาปรับใช้ด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งศึกษาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หนังสือสัญญาดังกล่าวจึงจะมีผลบังคับใช้ได้จริง

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาเก็บรักษาข้อมูลความลับ

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

สัญญาเก็บรักษาข้อมูลความลับ คืออะไร ?

สัญญาเก็บรักษาความลับ หรือสัญญาเก็บรักษาข้อมูล เป็นสัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่าย โดยที่มีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเป็นผู้เปิดเผยข้อมูล และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้รับข้อมูลดังกล่าวนั้น ซึ่งในบางกรณี คู่สัญญาแต่ละฝ่ายอาจเป็นทั้งผู้เปิดเผยข้อมูลและเป็นผู้รับข้อมูลในเวลาเดียวกันก็ได้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะของการเปิดเผยข้อมูลนั้น

ในสัญญาเก็บรักษาความลับนั้น โดยทั่วไป มักจะกำหนดหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ได้รับข้อมูลไม่ให้เปิดเผยข้อมูลความลับนั้น ตามระยะเวลาที่ตกลง โดยวัตถุประสงค์ของการเปิดเผยข้อมูลนั้นอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับธุรกรรม หรือความสัมพันธ์ของคู่สัญญานั้นๆ เช่น มีการเปิดเผย หรือเข้าถึงข้อมูลเนื่องจากการจ้างแรงงาน การร่วมธุรกิจหรือกิจการกัน การเจรจาทางธุรกิจ การซื้อขายกิจการ การให้คำปรึกษา หรือการให้บริการต่างๆ ซึ่งต้องใช้ข้อมูลของผู้รับบริการ นอกจากนี้ ยังอาจสามารถตกลงหน้าที่ความรับผิดอื่นๆ เช่น หน้าที่และมาตรการการป้องกันและเฝ้าระวังการเปิดเผยข้อมูล การสงวนสิทธิ์ หรือ ค่าปรับในกรณีที่คู่สัญญาที่มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับปฏิบัติผิดสัญญาอีกด้วย

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

สาระสำคัญของสัญญาเก็บรักษาความลับคือหน้าที่ของคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับข้อมูลความลับ ที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลความลับนั้น หรือเปิดเผยได้ตามที่กฎหมายบังคับหรือตามเงื่อนไขของสัญญากำหนดเท่านั้น ดังนั้น การกำหนดขอบเขตของข้อมูลความลับให้ชัดเจนว่ารวมถึงข้อมูลกลุ่มใด ประเภทใดบ้าง ไม่รวมถึงข้อมูลประเภทใด ส่วนได้บ้าง จะช่วยให้คู่สัญญาที่มีหน้าที่ต้องเก็บรักษาความลับรู้บทบาทหน้าที่ของตนว่าสามารถใช้ข้อมูลที่ได้รับมาได้มากน้อยเพียงได้ รวมถึงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้เปิดเผยข้อมูล จากการที่ข้อมูลความลับนั้นถูกเผยแพร่ออกไปด้วย

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

ในการทำสัญญา นอกจากจะให้คู่สัญญาลงนามในสัญญาให้ครบถ้วน ซึ่งในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม และการลงนามต้องลงนามตามเงื่อนไขที่จดทะเบียนนิติบุคคลเอาไว้จึงจะผูกพันนิติบุคคลนั้นๆ โดยสามารถตรวจสอบผู้มีอำนาจลงนามและเงื่อนไขการลงนามของนิติบุคคลได้จากหนังสือรับรองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้ เช่น กรรมการบริษัทสองคนลงนามร่วมกันและประทับตรา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667