ดาวน์โหลด ฟรี!
หนังสือสัญญาเช่าที่จอดรถ
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

ที่จอดรถ ปัญหาโลกแตก ให้เช่าแล้วคู่สัญญาไม่ยอมควักกระเป๋า หรือเช่าแล้วคู่สัญญาเรียกที่จอดคืนโดยไม่เป็นธรรม ก่อนปัญหานั้นจะเกิดเชิญท่านใช้สัญญาเช่าที่จอดรถเพื่อยุติปัญหาด้วยข้อกฎหมายนิติกรรมสัญญา

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาเช่าที่จอดรถ

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

สัญญาเช่าที่จอดรถ คืออะไร

สัญญาให้บริการพื้นที่จอดรถหรือข้อตกลงให้บริการที่จอดรถเป็นสัญญาให้บริการชนิดหนึ่ง โดยมีคู่สัญญาสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ให้บริการซึ่งอาจเป็นเจ้าของหรือผู้มีสิทธิในการบริหารงานนำพื้นที่จอดรถนั้นออกให้บริการและคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ ผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่จอดรถดังกล่าว (เช่น นำรถยนต์เข้าไปจอดภายในพื้นที่ดังกล่าว) ภายในระยะเวลาที่ตกลงกันโดยจะชำระค่าบริการนั้นให้แก่ผู้ให้บริการตามกำหนดเวลาและในอัตราที่ตกลงกัน

โดยที่ผู้รับฝาก (ผู้ให้บริการ) จะมีหน้าที่ต้องดูแลรักษายานพาหนะหรือรถยนต์ที่นำมาไว้ภายในสถานที่จอดรถด้วย หากยานพาหนะหรือรถยนต์ได้รับความเสียหายจากบุคคลภายนอก เช่น ถูกโจรกรรม ผู้รับฝาก (ผู้ให้บริการ) ก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายนั้นด้วย ค่าตอบแทนสำหรับค่าบริการฝากทรัพย์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามเงื่อนไขของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มประมวลรัษฎากรซึ่งแตกต่างจากค่าเช่า ที่ได้รับการยกเว้นภาษีดังกล่าว

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

ต้องระบุ ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการให้บริการที่จอดรถ เช่น รายละเอียดของสถานที่จอดรถ เงื่อนไขการใช้สถานที่จอดรถ ระยะเวลาการให้บริการ อัตราค่าบริการ และเงื่อนไขอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หลักประกันการใช้บริการ การจัดทำประกันภัย เบี้ยปรับในกรณีต่างๆ

และจัดทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นจำนวนสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายยึดถือไว้อ้างอิงได้อย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งฉบับและใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการนั้นด้วย ในกรณีคู่สัญญาเป็นนิติบุคคลผู้ที่ลงนามจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจลงนาม

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

คู่สัญญาแต่ละฝ่ายควรจะขอเอกสารแสดงตัวตนของอีกฝ่ายหนึ่งที่เจ้าของเอกสารลงนามรับรองสำเนาถูกต้องมาเก็บไว้ประกอบสัญญาฉบับที่ตนเองถือไว้ด้วย เพื่อสามารถอ้างอิงลายมือชื่อที่ลงไว้ในสัญญาว่าเป็นของบุคคลนั้นจริง เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาหนังสือเดินทางที่รับรองสำเนาถูกต้องของคู่สัญญาผู้นั้น สำหรับคู่สัญญาที่เป็นบุคคลธรรมดา และสำเนาหนังสือรับรองบริษัทและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลที่ลงชื่อในสัญญานี้ เช่น กรรมการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้รับมอบอำนาจ

ทั้งนี้ กรณีที่คู่สัญญานั้นเป็นนิติบุคคล ดำเนินการติดอากรแสตมป์หรือชำระเงินแทนการติดอากรแสตมป์ ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667