LEGACY AND LEGAL 7 มกราคม 2564 ณ สำนักงานกฎหมายณัฐภัทร […]

LEGACY AND LEGAL

การให้โดยเสน่หา: คืออะไร แล้วเพิกถอนได้ไหม

7 มกราคม 2564 ณ สำนักงานกฎหมายณัฐภัทร


  • การให้หรือการโอนให้ ไม่ว่าจะเป็นการให้ก็ให้ทรัพย์สิน ให้เงินทองให้อะไรต่างๆกฎหมายได้มีบัญญัติไว้เพื่อที่จะทำให้การมีการควบคุมโดยกฎหมายบัญญัติเงื่อนไขตั้งเอาไว้ ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วันนี้เราจะมาตอบคำถามที่พบขึ้นบ่อยในส่วนของเรื่องการให้โดยเสน่หา เนื่องจากบางท่านยังไม่ทราบว่าการให้นั้นแม้เริ่มแรกคือความง่ายแต่การเพิกถอนการให้อาจเป็นเรื่องที่ยากกว่ามาก

Q: การให้คืออะไร
A: การให้โดยเสน่หา มีความหมายคือเป็นสัญญาซึ่งผู้ให้ได้โอนทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้อื่นเป็นผู้รับโดยเสน่หาโดยผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้ ซึ่งการให้ ก็จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการส่งมอบ อ้างอิงตามมาตรา ๕๒๑

Q: หากผู้ให้จะให้แล้วไม่ให้สักทีจะเรียกร้องได้หรือไม่
A: มีลักษณะสัญญาอีกประเภทหนึ่งที่กฎหมายได้กำหนดไว้คล้ายกับการให้เช่นกันก็คือในเรื่อง “คำมั่น” ซึ่งกำหนดให้เรียกร้องได้หากมีการทำคำมั่นขึ้นเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ อ้างอิงตามมาตรา ๕๒๖

Q: การให้ต้องทำอย่างไรจึงสมบูรณ์
A: สามารถแบ่งออกเป็นสองกรณี
1.การให้สังหาริมทรัพย์ หรือเงินทอง สามารถส่งมอบกันในความเป็นจริงและมีผลสมบูรณ์ได้เลยในทันที เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าเพียง”ส่งมอบ”ก็สมบูรณ์แล้ว
2.การให้อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษนั้นตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้อง”ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน”จึงจะสมบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายให้ใช้หลักเดียวกันกับการซื้อขายทั่วไป อ้างอิงตามมาตรา ๕๒๕

Q: การให้ถ้าเกิดว่าให้แล้วเนี่ยจะถอนคืนได้ไหม
A: สามารถทำได้ ในกรณีที่ว่าสืบได้ว่าผู้รับการให้เขาได้ทำการประพฤติเนรคุณกับผู้ให้ ผู้ให้ก็มีสิทธิ์ที่จะฟ้องเพิกถอนการให้ได้ภายใน 6 เดือนนับแต่ทราบเหตุแห่งการประพฤติเนรคุณ  แต่ไม่เกิน 10 ปีภายหลังเหตุการณ์ประพฤติเนรคุณนั้น ตามมาตรา มาตรา ๕๓๑

ทำให้ในส่วนของการที่จะเรียกร้องเพื่อถอนการให้ก็จะมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก 
กรณีแรกคือ ผู้รับได้ปทุษร้ายแก่ผู้ให้
กรณีที่สอง คือถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือมีประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันนี้ก็สามารถที่จะฟ้องเพิกถอนคืนการให้ได้
กรณีที่สาม ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ทำให้ทั้ง 3 กรณี ดังกล่าวเป็นเหตุที่ผู้ให้จะสามารถเพิกถอนคืนการให้จากผู้รับได้

อย่างไรก็ดี หากว่าเป็นการให้ที่เข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้ไม่สามารถที่จะถอนคืนการให้ได้ แม้แต่ต่อมาผู้รับได้ประพฤติเนรคุณผู้ให้ ตามมาตรา มาตรา ๕๓๕ อันได้แก่
1 การให้บำเหน็จสินจ้างโดยแท้  
2 การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน 
3 ให้โดนหน้าที่ธรรมจรรยา 
4 ให้ในการสมรส

แต่ก็มีข้อพึงระวัง คือการถอนคืนการให้เพราะเหตุเนรคุณนั้น กระทำได้กับเฉพาะ”ผู้รับคนแรกเท่านั้น” จะถอนคืนการให้ ด้วยเหตุผลเนรคุณในกรณีมีผู้รับโอนทรัพย์สินนั้นต่อจากผู้ให้อีกไม่ได้ กล่าวคือว่าหากปรากฏว่าหลังจากเราให้แล้ว ต่อมาผู้รับการให้ได้มีการโอนทรัพย์สินให้นั้นตอบแทนบุคคลอื่นแล้วเราจะไปฟ้องผู้รับโอนจากผู้ให้ผู้รับการให้ไม่ได้ เพราะถือว่ามันพ้นตัวเขาไปแล้ว และข้อพึงระวังอีกประการคือ การให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จะถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้เนรรับคุณไม่ได้

Q: วิธีเพิกถอนต้องทำเช่นไร
A: ต้องฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่ทรัพย์ที่ให้นั้นตั้งอยู่ ตามหลักเขตอำนาจศาลโดยคุณสามารถกรอกคำฟ้องและส่งฟ้องคดีเองโดยใช้แบบพิมพ์คำฟ้องของเราและศึกษาขั้นตอนด้วยตนเองเพราะคุณเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจใช้สิทธิทางศาล หรือ ติดต่อเราหากต้องการเพิกถอนการให้จากเหตุเนรคุณซึ่งทำให้คุณประหยัดเวลาได้มาก




รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.