วันนี้ สำนักกฎหมายฯ ขออาสาพาทุกท่านมาเรียนรู้ทั้งคำศัพท์ที่จำเป็นอย่าง ตัดโอนปืน โอนลอยปืน และ วิธีการและเอกสารที่จำเป็นในการโอนปืนมือสองหากซื้อปืนต่อจากบุคคลอื่น หรือโอนปืนมรดกจากผู้ตาย ในบทความของเรา

สำหรับ วิธีการโอนปืนมือสอง และ โอนปืนมรดก ขั้นแรกนั้น ท่านผู้อ่านจำเป็นต้องเข้าใจคำศัพท์บางประการของการออกใบอนุญาติอาวุธปืนในเบื้องต้นก่อน ซึ่งท่านเราได้สรุปและเรียบเรียงให้ทำความเข้าใจได้โดยง่าย (ที่สุด) ดังนี้

ตัดโอนปืน คือ

การตัดโอนปืน คือ การยื่นเรื่องแก่นายทะเบียนในท้องที่ให้รับรองบันทึกสลักหลังการโอนอาวุธปืนของผู้โอน สำหรับการออกใบ ป.4 ที่จะเปลี่ยนเป็นชื่อของผู้รับโอนปืนต่อไป พร้อมเอกสารที่จำเป็นคือ  ใบอนุญาติ ป.4, อาวุธปืน สำเนาบัตรปปช และทะเบียนบ้านของผู้โอนปืนและผู้รับโอนปืน ฯลฯ

ตัดโอนปืนให้ คือ

ตัดโอนปืนให้ คือ กรณีที่เจ้าของปืนเดิม รับดำเนินการยื่นเรื่อง พร้อมนำอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนของผู้ขายเช่น สำเนาบัตรประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ ให้แก่นายทะเบียนในท้องที่เพื่อขอใบตัดโอนให้ท่านดำเนินการขอออกใบ ป.4 ต่อไปด้วยตนเองต่อไป

โอนลอยปืน คือ

โอนลอยปืน คือ การซื้อขายอาวุธปืนโดยผู้ซื้อชำระเงินให้แก่ผู้ขาย  และผู้ขายส่งมอบอาวุธปืน พร้อมกับใบ ป.4 ซึ่งผู้ขายได้ลงลายมือชื่อของผู้ขายเอาไว้ด้านหลัง  และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนของผู้ขายเช่น สำเนาบัตรประชาชน  สำเนาทะเบียนบ้าน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ซื้อนำไปดำเนินการโอนทางทะเบียนต่อนายทะเบียนอาวุธปืนเอาเอง  โดยผู้ซื้อและผู้ขายไม่ได้ไปดำเนินการโอนต่อหน้านายทะเบียนในขณะที่มีการซื้อขาย

กรณีแรก ขออนุญาตซื้ออาวุธปืน (มือสอง) จากบุคคลอื่น

กรณีแรก ขออนุญาตซื้ออาวุธปืน จากบุคคลอื่น

เริ่มต้นที่ การขอใบอนุญาติ ป.3 (ในกรณีที่ท่านยังไม่มี) ศึกษาได้ที่บทความ ขอ ใบป.3 เพื่อซื้อปืน: ขั้นตอนโดยละเอียด (ที่สุด) สามารถทำได้ด้วยตนเอง คนรักปืนถูกใจสิ่งนี้! หรือ หากท่านมีใบอนุญาติ ป.3 เรียบร้อยแล้ว สามารถยื่นเรื่องแก่นายทะเบียนในท้องที่ได้ทันที คือ เดินทางไปอำเภอท้องที่ของเจ้าของปืนในใบ ป.4 เช่น ป.4 ระบุว่า ออกที่ จังหวัดแพร่ เราก็ต้องไปที่จังหวัดแพร่เพื่อนำปืนไปตรวจและให้เจ้าหน้าที่ทำการตัดโอน เพื่อออกใบป.4 ให้แก่ท่าน โดยใช้พยานหลักฐาน และขั้นตอน ดังนี้ 

1.ใบ ป.3 ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายอาวุธปืน

2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้โอนและผู้รับโอน

3.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้โอน

4.ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) ฉบับจริงและสำเนาของอาวุธปืนที่จะโอน

5.หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน (หากมี)

6.กรณีนุญาตเพื่อการกีฬา จะต้องนำหลักฐานการเป็นสมาชิกสนามยิงปืนมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน มาประกอบการพิจารณาด้วย

7.ตัวอาวุธปืนที่ขอรับโอน ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบในวันที่ยื่นคำร้อง

ทั้งนี้ ผู้โอนหรือเจ้าของเดิมของปืน ต้องลงบันทึกความยินยอมการโอน ต่อหน้านายทะเบียนไว้ในหลังใบอนุญาต(ป.4) ว่าได้โอนปืนกระบอกนี้ ให้ใคร มีค่าตอบแทนเท่าใด หรือโอนไม่คิดค่าตอบแทน เนื่องจากอะไร และทั้งผู้โอนและผู้รับโอนต้องลงนามไว้เป็นหลักฐานต่อนายอำเภอ 

ที่มา : www.asiamorningnews.net

กรณีที่สอง ขออนุญาตรับโอนอาวุธปืนมรดก จากเจ้ามรดก

เริ่มต้นที่ ผู้ที่มีอาวุธปืนหรือใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (ป.4) อยู่ในครอบครองหลังจากเจ้ามรดกตาย ต้องแจ้งการตายนั้นต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตายพร้อมนำเอกสารและหลักฐานเหล่านี้แสดงแก่นายทะเบียน 

1.ใบอนุญาต(ป.4) ของเจ้ามรดก

2.อาวุธปืนมรดกดังกล่าว

3.ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา

4.สำเนาคำสั่งศาลกรณีศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

5.เอกสารอื่นๆ ประกอบคำร้องเช่นเดียวกับการขอรับโอนอาวุธปืนจากบุคคลอื่น ในกรณีแรก

6.หลักฐานแสดงว่าผ่านการฝึกอบรมการใช้อาวุธปืน (หากมี)

ทั้งนี้ หากไม่มีผู้จักการมรดก ต้องสอบทายาททั้งหมด ว่ายินยอมสละปืนดังกล่าวหรือไม่ แล้วเสนอต่อนายทะเบียนฯเป็นกรณีเฉพาะ และ หากนายทะเบียนจะตรวจสอบเอกสาร และอาวุธปืน เสร็จสิ้นจนการรับโอนปืนมรดกเสร็จสิ้น   นายทะเบียนจะยึดใบ ป.4 เดิม และออกใบ ป.4 ใหม่ให้แก่ผู้รับโอนมรดกต่อไป

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.