LABOR
เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร: แล้วแบบไหนที่เป็นธรรม
7 มกราคม 2564 ณ สำนักงานกฎหมายณัฐภัทร
- กฎหมายแรงงาน ถือเป็นเรื่องที่พนักงานทุกคนควรรู้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้อัตราการเลิกจ้างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลการลดต้นทุนหรืออะไรก็ตามมักทำให้เกิดการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
สารบัญ
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมคืออะไร
เลิกจ้างไม่เป็นธรรมมีการตีความทางกฎหมายไว้ว่า เป็นการที่นายจ้างนั้น“เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร” ตามบทบัญญัติ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งนั่น ทำให้คุณอาจเรียกร้องการชดเชยจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้หากคุณถูกเลิกจ้างและ บริษัทของคุณไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องหรือไม่มีเหตุผลที่ดีในการเลิกจ้างคุณ รวมถึงกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
การเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร
แต่อย่างไรก็ตามอาจเป็นเหตุสมควรได้หากเข้า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ กระทำผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ดังนั้นคุณควรตรวจเช็คตามเงื่อนไขดังกล่าวก่อนเป็นอันดับแรก หากตรวจเช็คให้ดีแล้วว่าตนมีสิทธิในการเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้าง และไม่ติดเงื่อนไขใดๆ
ดูข้อสัญญาที่คุณยินยอมไว้ในครั้งแรก
เพราะทั้งนี้สัญญาการจ้างงานตอนกรอกตั้งแต่เวลาที่คุณเข้าทำงานอาจมีความซับซ้อนและมักจะร่างด้วยคำศัพท์ที่เข้าใจยาก รวมทั้งติดเงื่อนไขมากมายที่ทำให้คุณอาจเสียสิทธิเรียกร้องบางประการได้
ปกป้องสิทธิตัวเองได้ที่ไหน
คุณอาจใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อหาทางออกกับเรื่องนี้ได้ในสองทาง คือ
1.ร้องเรียนเรื่องราวของคุณไปยังพนักงานตรวจสอบแรงงาน ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเขตพื้นที่ซึ่งสำนักงานของนายจ้างตั้งอยู่ เพื่อใช้อำนาจตามกฎหมายในหมวด14
2. ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน ซึ่งสำนักงานของนายจ้างอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้น ดูเขตอำนาจศาล
หากคุณอาจตกงานและต้องการคำแนะนำจากทนายความ ว่าคุณสามารถฟ้องนายจ้างเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการละเมิดสัญญา หรือการลดทอนสิทธิที่ลูกจ้างสมควรได้รับตามข้อตกลง
การยื่นข้อเรียกร้องหรือฟ้องคดีต่อศาลแรงงานคือหน้าที่ของทนายความเรา
พร้อมให้คำแนะนำและรับฟังในทุกแง่มุมของข้อเรียกร้องของคุณ