อย. อาหาร อย. อาหาร เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป้าหมายของ […]

อย. อาหาร

อย. อาหาร เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป้าหมายของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป คือการได้เห็นผลิตภัณฑ์อาหารนั้น สามารถขึ้นทะเบียนอาหารและวางจำหน่ายในท้องตลาดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ท่านจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 

1 พระราชบัญญัติอาหาร เปิดดู

2 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เปิดดู

3 ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดดู และ

4 ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เปิดดู

ทำความเข้าใจควาหมายของ “อาหาร”

กล่าวคือ อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ซึ่งได้แก่ 

1 วัตถุทุกชนิดที่คนกินดื่ม อม  หรือนำเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีใดๆหรือในรูปลักษณะใดๆแต่ไม่รวมถึงยาวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทหรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นแล้วแต่กรณี 

2 วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารรวมถึงวัตถุเจือปนอาหารสีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส

ประเภทของ “อาหาร”

ภายใต้พระราชบัญญัติอาหารพุทธศักราช 2522 มีการจัดประเภทอาหารเป็น 4 กลุ่มได้แก่

กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ กลุ่ม 2 อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก และกลุ่ม 4 อาหารทั่วไป ซึ่งสามารถแยกเนื้อหาได้ดังนี้

กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ เป็นอาหารที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภคมากที่สุดอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เนื่องจากเป็นอาหารสำหรับผู้บริโภคกลุ่มเสี่ยง เช่น ทารกเป็นต้นหรือผลิตด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวด หรือเป็นอาหารที่มีการรับประทานกันอย่างแพร่หลายจึงจำเป็นต้องควบคุมและกำกับดูแลอย่างเข้มงวดที่สุด 

กลุ่ม 1 อาหารควบคุมเฉพาะ

ซึ่งในปัจจุบันมี 5 ประเภทได้แก่

1 อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก 

2 นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก 

3 อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก 

4 อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก 

5 วัตถุเจือปนอาหาร

กลุ่ม 2 อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน ในขณะนี้มี 39 ชนิด ได้แก่ กลุ่มไขมัน กลุ่มเครื่องปรุงรส กลุ่มนมและผลิตภัณฑ์ กลุ่มเครื่องดื่มเป็นต้น 

กลุ่ม 2 อาหารกำหนดคุณภาพมาตรฐาน

กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก เป็นอาหารที่มักประสบปัญหาเกี่ยวกับการหลอกลวงผู้บริโภคจึงต้องมีการบังคับให้แสดงฉลากควบคู่ไปกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 

กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก

อาหารในกลุ่มนี้ได้แก่ 

1 แป้งข้าวกล้อง 

2 วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี่ 

3 อาหารฉายรังสี 

4 ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

5วัตถุแต่งกลิ่นรส 

6 ขนมปัง

7 หมากฝรั่งและลูกอม 

8 อาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที 

9 อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ 

10 ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 

11 อาหารดัดแปรพันธุกรรมหรือพันธุวิศวกรรม

กลุ่ม 4 อาหารทั่วไปที่ไม่เข้าข่าย 3 กลุ่มข้างต้น มี 9 ประเภทได้แก่ 

กลุ่ม 4 อาหารทั่วไปที่ไม่เข้าข่าย 3 กลุ่มข้างต้น

1 สัตว์และผลิตภัณฑ์ 

2 พืชและผลิตภัณฑ์ 

3 แป้งและผลิตภัณฑ์ 

4 เครื่องเทศ 

5 สารสกัดสารสังเคราะห์จากพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบเครื่องปรุงรส 

7 สารอาหาร 

8 น้ำตาล 

9 ผลิตภัณฑ์สำหรับทำอาหารชนิดต่างๆที่ยังไม่พร้อมบริโภค

การผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายต้องดำเนินการดังนี้ 

1 ขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร 

2 ขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร

โดย 1. การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร นั้น ต้องดำเนินการโดยผู้ผลิตหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 

กรณีสถานที่ผลิตอาหารต้องอยู่ในกรุงเทพฯให้ยื่นคำขอที่สำนักอาหารกระทรวงสาธารณสุข หรือ

กรณีสถานที่ผลิตอาหารตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอที่สาธารณสุขจังหวัด

สำหรับ 2. การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นการขอรับเลขสารบบอาหาร 13 หลักที่เราพบเห็นบนฉลากบรรจุภัณฑ์อาหาร อาหารที่อยู่ในกลุ่มที่ 1-3 จำเป็นต้องขออนุญาตผลิตภัณฑ์ 

การขอเลขสารระบบบน อย. อาหาร

ผู้ประกอบการจำเป็นต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ชื่อและประเภทของอาหาร ที่สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข ชนิดภาชนะบรรจุปริมาณการบรรจุสูตรและส่วนประกอบวัตถุดิบและสารปรุงแต่งที่ใช้ กรรมวิธีการผลิตอาหารโดยละเอียด เช่น อุณหภูมิและการฆ่าเชื้อเป็นต้น

โดยในส่วนของสูตรและส่วนประกอบในอาหาร ต้องไม่มีการใช้วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร สำหรับสารปรุงแต่งที่ใช้ต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวง เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร

กรณีอาหารในภาชนะบรรจุปิดสนิท ต้องมีข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ การทดสอบการกระจายความร้อน การศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสม 

สำหรับอาหารที่ปรับสภาพกรด ต้องเพิ่มเอกสารรายละเอียดอุปกรณ์ และวิธีการปรับค่า PH ของอาหาร ตัวอย่างเอกสารวิชาการ ที่แสดงว่าอุณหภูมิและเวลาในการฆ่าเชื้อผลิตภัณฑ์เหมาะสม 

**ทั้งนี้ กรณีกรรมวิธีที่ไม่เป็นไปตามเอกสารข้างต้นทุกประการต้องยื่นหลักฐานทางวิชาการในการศึกษาจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ ยังต้องทราบเกี่ยวกับกฎหมายฉลากอาหารและภาชนะบรรจุ เช่นประกาศกระทรวง เรื่องฉลากโภชนาการ การแสดงฉลาก เป็นต้น 

หากท่านมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ ความรู้เบื้องต้นหรือต้องการดำเนินการเกี่ยวกับ อย. อาหาร ติดต่อเรา ที่นี่

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.