ขั้นตอนแรก ตรวจสอบถึงสิทธิการหย่าร้างของคุณตามกฎหมายไทย […]

ขั้นตอนแรก ตรวจสอบถึงสิทธิการหย่าร้างของคุณตามกฎหมายไทยหากสามี/ภรรยาของคุณมีพฤติกรรมหรือมีองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งตามนี้

มาตรา 1516 (1) สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1516 (2) สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นให้อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้

มาตรา 1516 (3) สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมาณร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1516 (4) สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้

มาตรา 1516 (5) สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้

มาตรา 1516 (6) สามีหรือภรรยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร

มาตรา 1516 (7) สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี

มาตรา 1516 (8) สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ

มาตรา 1516 (9) สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่อร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

มาตรา 1516 (10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ซึ่งไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล

เหตุเหล่านี้คือสิ่งที่สำคัญในชั้นศาลซึ่งทำให้ศาลเห็นว่าคุณมีเหตุผลอันชอบธรรมเพื่อใช้สิทธิ หย่าร้าง คู่สมรสของคุณตามกฎหมาย

ขั้นตอนที่สอง เข้าใจลำดับขั้นตอนการหย่าร้างในภาพรวมเบื้องต้น

เตรียมความพร้อมบุตร เงินและทรัพย์สิน

เพราะเราปฎิเสธไม่ได้ว่าเงินเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ศาลจะพิจารณาในเรื่องเกี่ยวกับเด็ก

ไม่ว่าจะเป็นการตั้งข้อสังเกตว่าเด็กจะอยู่ที่ไหนและจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างไร ทำให้กรณีหากบุตรของคุณเป็นผู้เยาว์เราจำเป็นจะต้องร่าง คำสั่งยินยอม

เพื่อกำหนดการเตรียมการที่จำเป็นแก่ตัวเด็กได้ เช่น เวลาไหนที่พวกเขาใช้เวลาอยู่กับผู้ปกครองคนใด และการติดต่อระหว่างผู้ปกครองและเด็กที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ เพื่อยื่นต่อศาลให้มีผลผูกพันและสภาพบังคับตามกฎหมายล่วงหน้า

อย่างไรก็ตามการฟ้องหย่ามักจำเป็นต้องมีหลักฐานการไกล่เกลี่ยก่อนที่จะยื่นคำร้องต่อศาล

ทำให้คุณต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยว่าจะแบ่งบ้านของครอบครัว หรือจะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร โดยยื่นคำขอ คำสั่งทางการเงิน ต่อศาลต่อไปเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตัวคุณเองในข้อพิพาทที่อาจเกิด

ลูกหลังการหย่าร้าง

การกรอกและยื่นคำฟ้อง

คุณ หรือทนายความ จะต้องกรอกแบบฟอร์มคำฟ้อง ตามระเบียบศาลเพื่อดำเนินการฟ้องหย่ายุติความเป็นสามีและภรรยาระหว่างกันและกัน

คุณ (ผู้ยื่นคำฟ้อง) จำเป็นจะต้องมีที่อยู่ของภรรยา/สามีของคุณ(ผู้รับ) และคนใดคนหนึ่งจะต้องมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ส่วนกรณีของการฟ้องชู้ คุณจำเป็นต้องทราบชื่อและที่อยู่เช่นกัน

คุณ จำเป็นจะต้องระบุเหตุหย่าและระบุรายละเอียดให้ชัดเจน จากนั้นศาลจะดำเนินการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องทั้งหมดให้แก่คู่ความของคุณ

คุณ จำเป็นจะต้องมีใบสำคัญทะเบียนสมรส หรือสำเนารับรอง กรณีคุณไม่มีหรือสูญหายคุณสามารถขอรับได้จากสำนักงานอำเภอที่ใกล้เคียง

คุณ จำเป็นต้องจ่ายค่าธรรมเนียมศาล 200 บาท และคุณหรือทนายความ จะต้องติดตามการส่งหมายเรียกและคำคู่ความ ทั้งวันนัดขึ้นให้การในชั้นศาล

การตอบกลับของผู้รับ (จำเลยในคดี)

ผู้รับ จะตอบกลับหมายเรียก (ภรรยา/สามีของคุณ) หลังเขาจากได้รับหมายเรียกและคำคู่ความแล้วซึ่งมีเวลา 15 วันในการส่งคำคู่ความ

ทั้งนี้เขาอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ ทำให้อาจเป็นช่วงเวลาที่เขาพยายามเตรียมการป้องกันทางกฎหมายและต่อสู้คดีหย่าร้างของคุณ

ในกรณีหลัง หากมีผู้ตอบกลับหมายเรียก เขาจะมีเวลาอีก 15 วันเพิ่มขึ้น ในการยื่นคำให้การแก้ต่างในชั้นศาล ถึงตอนนี้ผู้พิพากษาจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการพิพากษาคดีของคุณและจะมีข้อปัญหาทางกฎหมายเกิดขึ้นเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก

ใบสำคัญการหย่า

ศาลมีคำสั่งเด็ดขาด (คำพิพากษาของศาล)

คุณหรือทนายความ จะต้องกรอกคำร้องตามระเบียบของศาลและยื่นตำร้องดังกล่าวต่อศาล เพื่อขอให้ศาลพิพากษาคดีเด็ดขาด ส่งผลให้ศาลพิพากษาหย่าขาดความเป็นสามี/ภรรยาของคุณ ขาดจากกัน

ทั้งหากมีข้อตกลงใด ๆ ที่มีผลผูกพันตามกฎหมายเช่นวิธีแบ่งทรัพย์สินหรือเงิน เช่น คำสั่งทางการเงิน จะต้องถูกนำมาใช้ก่อน

หลังจากนั้นคุณก็จะมีอิสระที่จะแต่งงานอีกครั้งโดยไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก หากมีข้อสังสัยและต้องการคำปรึกษาในการดำเนินการที่เกี่ยวกับ หย่าร้าง โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา NATTAPATFIRM.COM

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.