สารบัญ
สภาผู้บริโภค คืออะไร ?
สภาผู้บริโภค คือ การทำให้บทบัญญัติสิทธิแก่ผู้บริโภคให้ได้รับความคุ้มครองมากขึ้นจากเดิม โดยหลักการรวมกลุ่ม กล่าวคือ จัดตั้ง เครือข่าย หรือตัวแทน ที่ผู้บริโภคเองสามารถมี “สิทธิรวมกันจัดตั้ง” ในรูปแบบ “องค์กร” ของผู้บริโภค ที่มีหน้าที่ และ ความอิสระ เพื่อให้เกิดพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ทั้งได้รับสนับสนุนจากรัฐ (งบประมาณจากข้อเสนอด้วยสำนักนายกรัฐมนตรีโดยตรง) ซึ่งครอบคลุมการคุ้มครองและอำนาจหน้าที่จัดการทั้งด้านการเงินและการธนาคาร ด้านที่อยู่อาศัย ด้านการบริการสาธารณะ ด้านบริการสุขภาพ ด้านสินค้าและบริการทั่วไป ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม อาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ และอื่น ๆในอนาคต
สิทธิและอำนาจหน้าที่ สภาองค์กรผู้บริโภค เพื่อการคุ้มครอง ตามกฎหมาย มีดังนี้
1. สิทธิที่จะเสนอนโยบาย เกี่ยวกับการค้มครองผู้บริโภค
2. สิทธิที่จะแจ้ง เปิดเผยชื่อสินค้า ที่เอาเปรียบผู้บริโภคออกมาเตือนให้ผู้บริโภคระวัง ถูกเอาเปรียบน้อยลง
3.สิทธิที่จะรายงานการกระทำ หรือ การละเลยการกระทำ อันกระทบต่อสิทธิผู้บริโภค ต่อหน่วยงานของรัฐ
4.สนับสนุน ช่วยเหลือ องค์กรของผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริมการรวมตัวของผู้บริโภค
5.ต้องทำหน้าที่ในการสนับสนุนการศึกษา และงานวิจัย ที่จะทำให้ข้อเสนอแนะของสภามีความชัดเจน
6.สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิก ไกล่เกลี่ย ประนีประยอมยอมความ ข้อพิพาทผู้บริโภค
7.ดำเนินคดี หรือสนับสนุนการดำเนินคดีของสมาชิก
8.รวบรวม และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค แก่ผู้บริโภคทั่วไป
อ้างอิง https://www.ocpb.go.th/download/article/article_20190523094806.pdf
ประเด็นที่น่าสนใจ
สำหรับข้าพเจ้าคือ ตาม 7. นั้น สภาผู้บริโภค มีอำนาจฟ้องคดีได้ และเมื่อศาลพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจแพ้คดี ศาลสามารถสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจ ชำระค่าใช้จ่าย และค่าป่วยการ “ให้สภาผู้บริโภค” ได้ ไม่น้อยกว่า 25% แต่ไม่เกินกึ่งหนึ่งของค่าเสียหาย ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่า กรณีเช่นนี้สามารถเป็นการสะสมกองทุนแก่สภาผู้บริโภคขึ้น และในอนาคตนั้นอาจมีการจัดการดำเนินคดีแทนผู้บริโภคในกระบวนการศาล
โดยสภาผู้บริโภคเป็นตัวแทนได้อย่างเต็มรูปแบบครั้งแรกเสียซักที แก้ปัญหากระบวนการทางศาลที่ซับซ้อนและยุ่งยากในปัจจุบันสำหรับผู้บริโภคทั่วไป ทั้งกรณีประชาชนที่ขาดแทนทุนทรัพย์ และ/หรือ ความรู้ทางกระบวนการพิจารณาคดี สามารถร้องขอให้สภาผู้บริโภคช่วยเหลืออย่าง “เต็มประสิทธิภาพ” ในที่สุด โดยที่ไม่มีองกรค์อื่นใดในปัจจุบันทำได้อย่างอิสระและเต็มที่เช่นการกระทำจากภาคเอกชนเอง และด้วยเงินทุนที่เหมาะสมและชอบธรรม
ทั้งนี้อำนาจหน้าที่ของสภาผู้บริโภคนั้น อาจเห็นได้ว่ามีความเกี่ยวโยงและ ต้องอาศัยความร่วมมือจากคณะกรรการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมด้วยจากการทับซ้อนของอำนาจและหน้าที่บางประการ แต่อย่างไรก็ดี บทบาทของ คณะกรรการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เดิม ในบางประการนั้นเอง ก็ไม่สามารถจะดำเนินการเสมือนสภาผู้บริโภคได้เช่นกัน เช่น อำนาจหน้าที่ในการเสนอนโยบาย เกี่ยวกับการค้มครองผู้บริโภค รวมทั้งการทำข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบต่างๆ หน้าที่ดังกล่าวจึงตกเป็นหน้าที่ของ สภาองค์กรผู้บริโภค ที่จะเข้ามาอุดช่องว่างและจัดการปัญหาอย่างครบถ้วนยิ่งขึ้นได้
ประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป ในการคุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายเกี่ยวกับสภาองค์กรของผู้บริโภค
เนื่องด้วยในอดีต การให้ความเห็นทางกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับ ตัวบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น กระทำได้อย่างยากลำบากด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยากหากเกิดขึ้นจากภาคประชาชนเอง หากแต่การทำงานจากภาคประชาชนอย่างการจัดตั้งสภาผู้บริโภคที่อิสระมากยิ่งขึ้น ด้วยความเป็นเอกชนนั้น เห็นว่าจักสามารถแก้ไขปัญหาในทางปฎิบัติได้ “สะดวกรวดเร็วและตรงจุด” มากกว่า ทั้งยังมีความ “อิสระ” จากข้อเสนองบประมาณด้วยสำนักนายกรัฐมนตรีโดยตรง ดังคำกล่าวจากหนึ่งในผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ การจัดตั้งสภาผู้บริโภคว่า “…ไม่มีใครรู้ปัญหาของผู้บริโภคเท่าผู้บริโภคเอง…”
ประกอบกับหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับผู้บริโภคทั้งหลายในปัจจุบันที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ทั้ง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.), สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), สำนักมาตรฐานและการตรวจสอบสินค้าเกษตร (สมก.) เป็นต้น เหล่านี้เป็นหน่วยงานที่แยกย่อย และไม่ประสานงานต่อกันเท่าที่ควร กลับกันที่ สภาผู้บริโภคเป็นระบบรวมศูนย์บริการ (One Stop Service) ที่สภาผู้บริโภคจักเป็นตัวแทน ที่ปรึกษาเพื่อหารือเบื้องต้นกับผู้บริโภคอย่างประชาชนเช่นเดียวกัน พร้อมทั้งจัดการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป