ผู้บริโภค รู้เหมือไร่! ลูกค้ามีสิทธิฟ้องคดีตามกฎหมายกับผู้ประกอบการยอดแย่
9 มกราคม 2564 ณ สำนักงานกฎหมายณัฐภัทร
รู้เหมือไร่! ว่าสิทธิของลูกค้า (customer) ผู้ซื้อ (shoper) ผู้ใช้บริการ (Client) ในปัจจุบันนี้ ได้มีกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค มาขั้นกลาง ระหว่างลูกค้าและผู้ประกอบการ เพื่อรักษาสิทธิที่กฎหมายรับรองสิทธิให้ท่าน “ผู้บริโภค” ใช้สิทธิยื่นเรียกร้องจากสินค้า หรือ บริการใดๆด้วยเหตุที่ไม่สมประโยชน์และได้รับความเสียหายต่างๆอย่างเหมาะสมจากผู้ประกอบการได้
ทั้งนี้ แม้ว่ามันอาจจะเป็นเรื่องที่ท่านอาจมองว่าเล็กน้อย เช่น บริการที่ล่าช้า ไม่สมประโยชน์ สกปรก ราคาแพงเกินจริง ไม่ตรงปก มีการบุบสลายเสียหาย ไปจนถึงเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตจากสินค้าที่อันตราย และ/หรือบริการที่อันตราย ทุกเรื่องที่ยกตัวอย่างข้างต้น ท่านสามารถใช้สิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมได้ หากได้รู้สิทธิของท่านและใช้มันให้ถูกต้อง ดังนี้ครับ
1. ใครบ้างที่คือผู้บริโภค?
นิยามตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ผู้บริโภค หมายถึงผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือ การชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้าหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม
2. อายุความในการฟ้องคดีผู้บริโภค
คือ 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย หากเลยกำหนดนี้ถือว่าขาดอายุความ
3. ใครเป็นผู้ถูกดำเนินคดี
ผู้ประกอบการเป็นจำเลยในคดี กล่าวคือผู้ขาย ผู้ผลิตเพื่อขาย ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายหรือผู้ซื้อเพื่อขายต่อซึ่งสินค้า หรือผู้ให้บริการ และหมายความรวมถึงผู้ประกอบกิจการโฆษณาด้วย
4. ข้อดีในคดีผู้บริโภค
– ภาระการพิสูจน์เกี่ยวกับสินค้าตกแก่ผู้ประกอบธุรกิจ ทำให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีเพียงชี้แจ้งหลักฐานของความเสียหายหรือการได้รับบริการที่ไม่สมราคา
– กระบวนวิธีพิจารณาคดีรวดเร็ว เพราะคำพิพากษาถือเป็นที่สิ้นสุดที่ศาลอุทธรณ์เท่านั้น ไม่เหมือนดังเช่นคดีทั่วไปที่มักจะสิ้นสุดในชั้นฎีกา
– ศาลอาจจะใช้ผลการพิจารณาคดีเดิมเป็นฐานในการกรณีพิจารณาคดีที่ใกล้เคียงกันได้ทำให้ผู้บริโภคสามารถคาดการทิศทางของคดีได้จากการคำแนะนำทางกฎหมายของเรา
– ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพสินค้าและบริการ ทำให้การฟ้องดคีบริโภคสามารถเป็นบรรทัดฐานต่อผู้ประกอบการทั้งหลายได้ในอนาคต
5. ตัวอย่างอำนาจของศาลในการจัดการผู้ประกอบการ
– จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
– เปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ แทนการแก้ไขซ่อมแซม
– ให้ทำประกาศเรียกรับสินค้าคืนจากผู้บริโภค
– ห้ามจำหน่ายสินค้าที่เหลือ เรียกเก็บสินค้าที่ยังไม่ได้จำหน่าย หรือให้ทำลายสินค้าที่เหลือ กรณีที่สินค้าอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลมีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังผู้ประกอบธุรกิจได้
– จ่ายค่าเสียหายเกินคำขอของผู้บริโภคได้หากเห็นว่าเกิดความเสียหายมากกว่าที่ได้ขอไป
– จ่ายค่าเสียหายเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากค่าเสียหายที่แท้จริง
6. วิธีการฟ้องคดี
ผู้ยื่นฟ้อง สามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ ฟ้องด้วยตนเองหรือแต่งตั้งทนายความ หรือขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือสมาคมที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภครับรอง ดำเนินการฟ้องร้องแทนให้ก็ได้โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่เป็นอันตรายไม่ต้องเสียค่าฤชา ธรรมเนียมเช่นกัน
ทั้งนี้ ในการรวบรวมเอกสารทั้งข้อเท็จจริงในความเสียหายก็ดี ในการต่อสู้ดีก็ดี ยังมีความยุ่งยากซับซ้อนอยู่มาก จะเป็นการง่ายกว่าหากคุณที่เป็นผู้เสียหายติดต่อหาเราเพื่อรับคำปรึกษาเฉพาะคดีของคุณโดยตรง
ฟรี โทร 0624436667 (ทนายโอ)