ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาเช่าอาคาร(พาณิชย์)
โดย  ณัฐภัทร เฟิร์ม

เมื่อต้องการปล่อยเช่าอาคารเพื่อการประกอบธุรกิจหรือนำมาประกอบการค้า ทั้งหลาย แบบฟอร์มสัญญาเช่าอาคารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีไว้ เพื่อรักษาสิทธิของคู่สัญญาทุก ๆ ฝ่าย เพื่อเป็นเหตุตามกฎหมายใช้ยันกันในอนาคต

f.a.q.

รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับสัญญาเช่าอาคาร

คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน

สัญญาเช่าอาคาร คืออะไร ?

สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ คือสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน พื้นที่ร้านค้า พื้นที่สำนักงานต่างๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อนำอสังหาริมทรัพย์ที่เช่านั้นมาใช้เพื่อการประกอบธุรกิจหรือนำมาประกอบการค้า (Commercial) เช่น การใช้อาคารหรือพื้นที่เป็นสำนักงาน (Office) การใช้อาคารหรือพื้นที่เพื่อการขายสินค้า สถานที่ให้บริการต่างๆ ร้านอาหาร พื้นที่แสดงสินค้า หรือพื้นที่เก็บของ อื่นใด

ทั้งนี้ สัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ นั้นจะมีคู่สัญญาสองฝ่ายคือ ผู้ให้เช่า คือผู้ที่นำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกให้เช่า โดยอาจเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ที่ให้เช่านั้นเอง หรืออาจไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เป็นผู้ที่มีสิทธิตามสัญญาหรือตามกฎหมายนำอสังหาริมทรัพย์นั้นออกให้เช่าได้ เป็นคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง และผู้เช่าอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่จะมีสิทธิในการใด้ใช้ประโยชน์ในอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ที่เช่าดังกล่าวภายในระยะเวลาการเช่าที่กำหนดในสัญญา โดยผู้เช่าตกลงจะชำระค่าเช่าเพื่อเป็นการตอบแทนการใช้ประโยชน์นั้น

การนำสัญญาดังกล่าวไปใช้งาน

ต้องระบุสิ่งบ่งชี้ให้ชัดเจนของอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ที่เช่ามีขอบเขตเท่าใด รวมสิ่งใดบ้าง และไม่รวมสิ่งใด เช่น อาคารใด ขนาดเท่าใด อยู่บนโฉนดที่ดินเลขที่เท่าไหร่ บ้านเลขที่เท่าไหร่ อยู่ห้องเลขที่ และชั้นที่เท่าใดบ้าง รวมส่วนควบ ทรัพย์สินที่ติดอยู่ในสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ด้วยหรือไม่ให้ชัดแจ้ง รวมทั้งตกลงกันให้ได้ว่า ก่อน ตลอด และหลังระยะเวลาการเช่า ผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระค่าอะไรบ้าง เช่น ค่าเช่า เงินค่าสิทธิการเช่า เงินกินเปล่า เงินประกันการเช่า เงินประกันความเสียหาย ค่าส่วนกลาง ค่ารายปี ค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ค่าบริการต่างๆ โดยกำหนดวิธีและระยะเวลาการชำระให้ชัดเจน

และที่สำคัญคือกำหนดรายละเอียดของ ตัวผู้เช่า ระยะเวลาการเช่า และค่าเช่า เพราะถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาเช่า   รวมทั้งต้องจัดทำสัญญาเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์เป็นลายลักษณ์อักษรและลงลายมือชื่อของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย เนื่องจากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อฝ่ายที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา จึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนี้ ในการเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ หากมีสัญญาที่ลงนามโดยผู้ให้เช่าและผู้เช่าแล้ว คู่สัญญาย่อมมั่นใจได้ว่า สิทธิ ภาระ และหน้าที่ของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถนำไปฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ หากมีข้อพิพาทเกี่ยวกับการเช่าสิ่งปลูกสร้างกันในอนาคต โดยคู่สัญญาอาจจัดทำสัญญาเป็นสองฉบับหรือมากกว่า เพื่อให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายและผู้เกี่ยวข้องยึดถือไว้อ้างอิงได้ และใช้เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการเช่าด้วย

ข้อควรพิจารณาก่อนนำไปใช้

ในวันรับมอบ กล่าวคือ วันที่ผู้เช่ามีสิทธิครอบครองอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ที่เช่า และเข้าใช้ประโยชน์ในอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ตามการเช่านี้ ผู้เช่าควรทำ บันทึกสภาพทรัพย์สินที่เช่า ณ วันรับมอบ โดยการบันทึกนี้ อาจทำรวมอยู่ในสัญญาได้ ในกรณีที่สัญญาเช่าได้มีการจัดทำในวัน หรือภายหลังจากวันรับมอบ โดยจะบันทึกสภาพทรัพย์สินที่เช่าว่า มีสภาพสมบูรณ์ดี หรือไม่

และทั้งนี้แม้ระยะเวลาการเช่าอาคาร/พื้นที่พาณิชย์ คู่สัญญาจะสามารถตกลงระยะเวลาการเช่าสั้นหรือยาวตามความต้องการของคู่สัญญาก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี กฎหมายเกี่ยวกับการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดให้ การเช่าอสังหาริมทรัพย์มีระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 30 ปี กล่าวคือ หากมีการตกลงระยะเวลาการเช่ากันเกินกว่า 30 ปี ระยะเวลาการเช่าดังกล่าวจะถูกลดลงมาโดยผลของกฎหมาย ให้เหลือเพียง 30 ปี

แต่หากการเช่านี้ เป็นการเช่าเพื่อประกอบการพาณิชย์กรรมหรืออุตสาหกรรมตามเงื่อนไขที่กำหนดใน พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง คู่สัญญาอาจตกลงระยะเวลาการเช่าได้สูงถึง 50 ปี

ขอความช่วยเหลือจากทนายความ ดูสิ

ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที

การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ

ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ

ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้

>>คลิกที่นี่เพื่อไปยังบริการปรึกษาทนายความ

ADS.

โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา

ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667