ดาวน์โหลด ฟรี!
หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน.
หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางหรือหนังสือยินยอมผู้ปกครองให้ผู้เยาว์เดินทาง เป็นหนังสือซึ่งออกโดยบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น เพื่อแสดงความยินยอมและรับทราบให้ผู้เยาว์นั้นเดินทางไปกับผู้ปกครองอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียวในกรณีที่มีผู้ปกครองหลายคน ไปกับบุคคลอื่น หรือเดินทางเพียงลำพังได้
โดยทั่วไปบุคคลซึ่งมีอำนาจปกครองผู้เยาว์นั้น ได้แก่ บิดาและมารดาโดยสายเลือดของผู้เยาว์นั้นร่วมกันปกครอง อย่างไรก็ดี ในบางกรณีผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์อาจไม่ใช่บุคคลสองคนนี้ก็ได้ ทั้งนี้ การจัดทำหนังสือยินยอมดังกล่าวก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของผู้เยาว์และเพื่อเป็นหลักฐานแสดงแก่ด่านตรวจคนเข้า-ออกเมือง เจ้าหน้าที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่สายการบินในกรณีที่มีข้อสงสัยในการเดินทางของผู้เยาว์นั้น โดยเฉพาะการเดินทางไปยังประเทศซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1980 ว่าด้วยการลักพาเด็กข้ามชาติ (Hague Convention on the Civil Aspects of International Child Abduction) เนื่องจากด่านตรวจคนเข้า-ออกเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัฐของประเทศนั้นๆ อาจมีมาตรการหรือแนวปฏิบัติที่เคร่งครัดและเข้มงวดเกี่ยวกับการตรวจสอบการเดินทางของผู้เยาว์ซึ่งไม่ได้เดินทางไปกับผู้ปกครองของตน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการลักพาตัวเด็กหรือการค้ามนุษย์.
ในการจัดทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทาง ผู้จัดทำควรดำเนินการ ระบุ รายละเอียดอ้างอิงตัวตนของผู้เยาว์ที่จะเดินทางและของผู้ปกครองของผู้เยาว์ เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขที่หนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีเดินทางระหว่างประเทศ ระบุ รายละเอียดการเดินทางของผู้เยาว์นั้น เช่น จุดประสงค์ของการเดินทาง สถานที่หรือประเทศปลายทาง ระยะเวลาการเดินทาง ผู้ใหญ่ที่ร่วมเดินทางและได้รับมอบหมายให้ดูแลผู้เยาว์นั้น (ถ้ามี) ระบุ ข้อมูลหรือสถานะทางการแพทย์ของผู้เยาว์ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา โรคประจำตัว ระบุ ข้อมูลการติดต่อของผู้ปกครองเพื่อติดต่อในกรณีฉุกเฉิน และแนบเอกสารประกอบอื่นๆที่อาจจำเป็นด้วย
นกรณีที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศ ผู้จัดทำควรตรวจสอบวิธี หลักเกณฑ์ และเอกสารที่จำเป็นกับสถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศปลายทางและสายการบินที่ผู้เยาว์จะเดินทางนั้นว่าต้องดำเนินการอื่นกับหนังสือยินยอมดังกล่าวเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเทศและแต่ละสายการบิน เช่น การรับรองลายมือชื่อในหนังสือยินยอมโดยสำนักงานเขตหรือโดยทนายความ (โนตารีพับลิค) การแปลเป็นภาษาต่างประเทศและรับรองโดยสถานทูตหรือกงสุลไทยและ/หรือโดยสถานทูตหรือกงสุลของประเทศปลายทาง อนึ่ง อาจศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำแนะนำการให้ความยินยอมให้บุตรไปต่างประเทศของกรมการกงสุล
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667