คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2531
จำเลยได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนพกสั้นออโตเมติกขนาด .45 ใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนดังกล่าวจึงใช้ได้แต่เฉพาะอาวุธปืนกระบอกที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนั้นเท่านั้น จะนำไปใช้กับอาวุธปืนกระบอกอื่นไม่ได้ จำเลยจึงไม่อาจที่จะมีอาวุธปืนกระบอกอื่นและกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ไว้ในความครอบครองได้ แม้ผู้อื่นจะลืมอาวุธปืนไว้ในรถของจำเลย จำเลยก็ควรจะครอบครองอาวุธปืนนั้นเพียงเพื่อไม่ให้หายเท่านั้น แต่จำเลยกลับพกอาวุธปืนดังกล่าวไว้กับตัวซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนนั้นเพื่อใช้ มิได้มีไว้ในความครอบครองเพื่อไม่ให้หาย จำเลยจึงมีความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่จำเลยอ้างว่าปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นไม่เป็นข้อยกเว้นให้จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ซึ่งเป็นบทบัญญัติของกฎหมายได้ แม้การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาวุธปืนดังที่จำเลยอ้างก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นตำรวจพกพาอาวุธปืนกระบอกที่ไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีติดตัว เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและถูกจับกุมในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ. 2490 มาตรา 8(ทวิ) วรรคสาม (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ มิได้กำหนดองค์ประกอบในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืน หรืออาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิงหรือไหม่ก็ตาม ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ แล้ว
แต่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐ได้เปลี่ยนแนวโดยถือแม้จะการพาอาวุธปืนในลักษณะที่ยากแก่การใช้ในทันทีทันใดนั้นก็เป็นพาติดตัว
คำพิพากษาฎีกาที่ 5139/2545 (เรื่องการซื้อ/มีและใช้อาวุธปืนตามแบบ ป.3)
การที่นายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.3) ให้แก่ผู้ขออนุญาต ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนได้แล้ว ส่วนการไปซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนตามแบบ ป.3 ดังกล่าว แล้วนำไปดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ขออนุญาตเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตแบบ ป.4 ให้ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 23 (2) กำหนดให้แบบ ป.3 มีอายุ 6 เดือน นับแต่วันออก การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนตามแบบ ป.3 แล้วดำเนินการขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตแบบ ป.4 ภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาฎีกาที่ 8350/2547 (เรื่องจำนวนกระสุนที่ครอบครองได้)
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬา หรือยิงสัตว์ และวรรคสอง บัญญัติว่า ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก แต่ไม่ได้บัญญัติว่าให้ออกใบอนุญาตโดยเฉพาะสำหรับให้มีเครื่องกระสุนปืนด้วย แสดงว่าเมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ การที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนขนาด .22 แล้ว การที่จำเลยมีกระสุนปืนขนาด .22เพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาต และจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2540
เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นและพบอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนของกลางในกระเป๋าเอกสารซึ่งปิดอยู่และวางอยู่ที่เบาะหลังรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับเมื่อปรากฏว่ากระเป๋าเอกสารที่อาวุธปืนของกลางบรรจุอยู่ภายในนั้นโดยสภาพมีกุญแจล็อกถึง 2 ด้าน ทั้งวางอยู่ที่เบาะด้านหลัง การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นได้ยาก ทั้งจำเลยมีเจตนาเพียงขนย้ายสิ่งของ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการพาติดตัว
คำพิพากษาฎีกาที่ 856/2505 (มีแต่หัวกระสุน)
คำว่าเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัด ทำ หรือใช้ประกอบกระสุนอันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4(2) นั้น คงมีแต่เฉพาะดินส่งกระสุนเท่านั้นที่บัญญัติไว้โดยตรงจึงไม่หมายถึงแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของกระสุนปืน เช่น หัวกระสุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เหลือมาจากการใช้กระสุนปืนไปแล้วเท่านั้น ฉะนัน การที่จำเลยมีหัวกระสุนไว้จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 267/2506
จำเลยมีปลอกกระสุนปืนอยู่เพียง 2 ปลอก และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีไว้เพื่ออัดหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กลับได้ความว่ามีไว้ใช้สวมปลายไม้ตะพด ปลอกกระสุนปืนดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนตามบทวิเคราะห์ศัพท์มาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 จำเลยไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาต
คำพิพากษาฎีกาที่ 985/2515 (การเก็บปืน)
บิดามารดาเก็บปืนไว้ใต้หมอนในห้องนอน โดยมิได้ถอดแมกกาซีนออก และมิได้ห้ามปรามมิให้บุตรเข้าไป เพื่อป้องกันเหตุร้ายอันอาจจะเกิดจากอาวุธปืนนั้น ถือว่าบิดามารดามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลของบิดามารดา เมื่อบุตรเอาปืนไปเล่นเป็นเหตุให้ปืนลั่นถูกเพื่อนตาย บิดามารดาต้องร่วมรับผิดกับบุตรในผลละเมิดด้วย
คำพิพากษาฎีกาที่ 672/2522 (ฝากปืน)
คำว่ามีอาวุธปืน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 นั้น หมายความว่ามีกรรมสิทธิหรือมีไว้ในความครอบครอง ดังที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ในมาตรา 4 (6) จำเลยยึดถืออาวุธปืนของกลางของผู้อื่นไว้ ไม่ทำให้จำเลยมีกรรมสิทธิ์ในอาวุธปืนนั้น และการยึดถือไว้ให้เจ้าของชั่วขณะที่เจ้าของนั่งดื่มสุราอยู่ใกล้ ๆ นั้น ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิครอบครองในอาวุธปืน เพราะจำเลยมิได้ยึดถือเพื่อตน สิทธิครอบครองยังคงอยู่กับเจ้าของ ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครอง จำเลยไม่มีความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 3606/2525 พกปืนอยู่บ้านตัวเอง
จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยในแฟลตที่เกิดเหตุ แฟลตจึงเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลย และดาดฟ้าของแฟลตเป็นบริเวณของแฟลตซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย การที่จำเลยพกพาอาวุธปืนอยู่บนดาดฟ้าของแฟลตจึงเป็นการพกพาอาวุธปืนในบริเวณที่อยู่อาศัยของตน ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 (ที่แก้ไขแล้ว) มาตรา 8 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
คำพิพากษาฎีกาที่ 8943/2542
บ้านเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริเวณเพิงหน้าบ้านเป็นบริเวณของบ้านซึ่งใช้เป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยด้วย จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของตนจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3027/2526 พกปืน
จำเลยเก็บปืนและเงิน 70,000 บาท ไว้ในลิ้นชักรถ เมื่อจำเลยนั่งรถไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป และการที่จำเลยขับรถไปส่งผู้เสียหายกับพวกแล้วพากันไปนั่งดื่มสุราและเบียร์ โดยทิ้งเงินไว้ในรถซึ่งจอดอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 – 6 วา แสดงว่าจำเลยมิได้ห่วงใยเกี่ยวกับความปลอดภัยของทรัพย์สิน การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2528 (ยึดปืน)
การที่จำเลยที่ 1 ถือปืนกลับบ้านพร้อมจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของที่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง และการพาอาวุธปืนนั้นไปเป็นการป้องกันไม่ให้จำเลยที่ 2 นำไปใช้กระทำผิดและนำกลับบ้านเท่านั้น มิได้มีเจตนาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3729/2528 (พกปืน)
การกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้นต้องได้ความว่า จำเลยได้นำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในถนนหรือทางสาธารณะหรือนำเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยการกระทำที่เป็นสาระสำคัญคือการนำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในขณะกระทำผิด หากปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่หยิบเอาอาวุธปืนสั้นของเพื่อนที่วางไว้บนโต๊ะหน้าร้านขายอาหารริมถนนมาเหน็บไว้ที่เอว และคงนั่งอยู่ที่โต๊ะไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2529 (พกปืน)
จำเลยพาอาวุธปืนไปที่หน้าโรงงานของบริษัทที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้มีอาวุธปืนติดตัว เนื่องจาก นาง ก. พานางสาว น. ไปพบบิดามารดาของจำเลยที่บ้านจำเลยเพื่อเจรจาในการที่จะสู่ขอนางสาว น. เป็นภรรยาจำเลย นาง ก. และนางสาว น. จะกลับบ้าน เป็นเวลาดึกมากแล้ว จำเลยจึงนั่งรถไปส่งบุคคลทั้งสองที่บริษัท การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่เป็นกรณีที่สมควรรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 1763/2529 ยิงปืนขึ้นฟ้า
คดีความผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ และความผิดลหุโทษเกี่ยวกับอาวุธปืน แม้ไม่ได้อาวุธปืนและกระสุนปืนจากจำเลยเป็นของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยชักอาวุธปืนออกมายิงขึ้นฟ้า 1นัด จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ก็ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และยิงปืนในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมชนได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 5177/2530
ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ถ้าไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 45/2537 (ปืนต้องถูกยึดไว้เป็นหลักฐาน จนกว่าคดีจะสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านโดยมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของกลางมาเป็นพยานหลักฐานและไม่ได้นำพยานมาสืบว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว คงมีเพียงพนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเท่านั้น พยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 293/2537 เก็บปืนมาคืน
จำเลยเป็นพนักงานขับรถของมูลนิธิปอเต็กตึ้งได้ขับรถยนต์ไปที่เกิดเหตุรถชนกัน มีผู้นำถุงบรรจุอาวุธปืนมามอบให้แจ้งว่าเป็นของผู้ได้รับบาดเจ็บจำเลยได้ติดตามหาเจ้าของเพื่อมอบอาวุธปืนคืนเมื่อไม่พบก็ตั้งใจจะมอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับเสียก่อน ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาไปในทางสาธารณะ
คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2543 ปืนสวัสดิการต้องเสียภาษี
การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร
คำพิพากษาฎีกาที่ 7803/2543 รับจำนำปืนผิดกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่” การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 7356/2546 พกปืนเฝ้าสวน
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง จะต้องเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ใช่กรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปที่ขนำนากุ้งไม่มีเลขที่ หมู่ที่ 3 ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อันจะต้องพาอาวุธปืนติดตัวไป ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ทั้งไม่ได้ความว่าขนำนากุ้งดังกล่าวเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแต่อย่างใด เพียงการพาอาวุธติดตัวไปที่ขนำนากุ้งหาเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่ ฟ้องเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ไม่ได้ ปัญหาว่าฟ้องคดีอาญาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
ปืนเถื่อน…….. คำพิพากษาฎีกาที่ 406/2547
การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดมาตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่ง และเมื่อพาอาวุธปืนดังกล่าวไปในหมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2518 ป.4 คุมถึงกระสุน
พิพากษาว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 11 มม.จากนายทะเบียนท้องที่ตามใบอนุญาตที่ 1876/2515 กระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลางขนาด 11 มม. (จำนวน 128 นัด กับ 30 ปลอก ) ใช้กับอาวุธปืนของจำเลยได้ดังนี้ การมีกระสุนปืนรวมทั้งปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงแล้ว หากมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่เป็นความผิดตามนัยแห่งมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงถือได้ว่ากระสุนปืนกับปลอกกระสุนปืน จำเลยมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนของจำเลย ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ เป็นการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัวโดยไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 8943/2542
บ้านเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริเวณเพิงหน้าบ้านเป็นบริเวณของบ้านซึ่งใช้เป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยด้วย จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของตนจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน พกพาปืนอัดลมยาวไม่มีทะเบียน ( เช็ดอยู่ที่โตะหน้าบ้าน ) โดนจับข้อหาพกพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ ขึ้นศาล ศาลใหรอลงอาญา 2 ปี ปรับ 2,500 บาท และยึดของ
คำพิพากษาฎีกาที่ 911/2498 ปืนเถื่อน
ปืนเป็นศาตราวุธร้ายแรงสามารถทำให้ถึงตายหรือบาดเจ็บสาหัสได้ง่าย ก.ม.จึงห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองเว้นแต่จะได้รับอนุญาตและกำหนดให้ปืนทุกกระบอกต้องมีเครื่องหมายประจำปืน เมื่อจำเลยมีปืนไว้ไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเครื่องหมายประจำอาวุธปืนก็มีความผิด ศาลมีอำนาจริบได้ตามก.ม.อาญา ม.28 อันเป็นแม่บทสำหรับการริบทรัพย์ซึ่งใช้ได้ทั่วไปในสรรพคดีตาม ม.11 เพราะ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ พ.ศ. 2490 ก็มิได้มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น และการที่ พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ. 2490 มิได้บัญญัติเรื่องริบไว้ผิดกับ พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯลฯ พ.ศ. 2477 นั้นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงหลักใหญ่ในข้อ ก.ม.อันเกี่ยวแก่การริบทรัพย์ตาม ก.ม.อาญาประการใดเลย(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 13/2498)
คำพิพากษาฎีกาที่ 405/2547
จำเลยกระทำความผิดฐานมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนของกลางติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยจะใช้อาวุธปืนนั้นก่ออาชญากรรมใดพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงยังอยู่ในวิสัยที่จะแก้ไขฟื้นฟูให้กลับตัวเป็นพลเมืองดีได้ เห็นควรรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเพราะโทษจำคุกระยะสั้น นอกจากจะไม่เกิดผลในการฟื้นฟูแก้ไขความประพฤติของจำเลยแล้วยังทำให้มีประวัติเสื่อมเสีย เมื่อพ้นโทษแล้วก็ยากที่จะกลับตัวเป็นพลเมืองดีประกอบสัมมาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวโดสุจริตต่อไปได้ การรอการลงโทษจำคุกและคุมประพฤติไว้น่าจะเป็นผลดีแก่จำเลยและสังคมโดยส่วนรวมมากกว่า แต่เพื่อให้หลาบจำ จึงให้ลงโทษปรับจำเลยอีกสถานหนึ่ง (และมีคำพิพากษาฎีกาที่ 2058/2547 ก็ตัดสินในทำนองเดียวกัน)
คำพิพากษาฎีกาที่ 1855/2547
อาวุธปืนของกลางเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียนและมีอานุภาพร้ายแรง จำเลยมีและพาอาวุธปืนของกลางติดตัวเข้าไปในบริเวณชุมนุมชนซึ่งจัดให้มีงานนมัสการ การรื่นเริงและการแสดงมหรสพโดยเปิดเผย แม้ไม่มีกระสุนปืนแต่ก็ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสุจริตชน ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง จำเลยอายุ 20 ปี อยู่ในวัยที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพอสมควรแล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้
คำพิพากษาฎีกาที่ 1428/2548 การที่จำเลยรับฝากอาวุธปืน เหล็กพานท้าย และด้ามปืนของกลางไว้จาก ภ. เพื่อทำความสะอาด ถือได้ว่าจำเลยยึดถืออาวุธปืนไว้แทน ภ. เท่านั้น ไม่ได้มีเจตนายึดถือเพื่อตนอันจะฟังว่าจำเลยมีอาวุธปืนของกลางไว้ในความครอบครอง ตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. อาวุธปืนฯมาตรา 4 (6) จำเลยจึงไม่มีความผิดต่อ พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ
คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๐๗/๒๕๕๐
อาวุธปืนของกลางแม้จะไม่มีอุปกรณ์เครื่องลั่นไกก็ถือว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อีกทั้งจำเลยยังมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยเช่นกัน ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าจำเลยอาจถอดและซุกซ่อนอุปกรณ์เครื่องลั่นไกไว้ต่างหาก เพื่ออำพรางการกระทำความผิด ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๔๙ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕ อาวุธปืนเป็นอาวุธปืนร้ายแรงโดยสภาพ สามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามหาตัวผู้กระทำผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมาก และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวเข้าไปในบริเวณที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีการแสดงดนตรีเพื่อการรื่นเริง นับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชนที่ไปเที่ยวงาน พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยมีประวัติกระทำความผิดมาก่อน จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2494 เมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษอีกเพราะการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2506
ปลอกกระสุนปืนตามสภาพอาจเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนได้ แต่การมีอยู่เพียง 2ปลอก และได้ความว่ามีไว้ใช้สวมปลายไม้ตะพด ปลอกกระสุนปืนนั้นก็ไม่มีสภาพเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนเสียแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2515 เมื่อกระสุนปืนของกลางที่จำเลยมีไว้เป็นกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนซึ่งจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้ได้แล้วจำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฟ้องกล่าวหาจำเลยมาแต่เพียงว่ามีกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต โจทก์จะนำสืบว่าจำเลยซื้อกระสุนปืนนั้นมาโดยยังไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายเพื่อแสดงว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 7 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามข้อกล่าวหาความผิดในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2518
มีกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนซึ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้แล้วไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ.2490 มาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2519
พลุสดุดส่องแสงของกลางไม่เป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และไม่เป็นอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเสียแล้ว ก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 8350/2547 จำนวนกระสุนที่ครอบครอง
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬา หรือยิงสัตว์ และวรรคสอง บัญญัติว่า ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก แต่ไม่ได้บัญญัติว่าให้ออกใบอนุญาตโดยเฉพาะสำหรับให้มีเครื่องกระสุนปืนด้วย แสดงว่าเมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ การที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนขนาด .22 แล้ว การที่จำเลยมีกระสุนปืนขนาด .22เพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาต และจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3945/2540 ป.อ. มาตรา 59, 371
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ, 72 ทวิ เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นและพบอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนของกลางในกระเป๋าเอกสารซึ่งปิดอยู่และวางอยู่ที่เบาะหลังรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับเมื่อปรากฎว่ากระเป๋าเอกสารที่อาวุธปืนของกลางบรรจุอยู่ภายในนั้นโดยสภาพมีกุญแจล็อกถึง 2 ด้านทั้งวางอยู่ที่เบาะด้านหลัง การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นได้ยาก ทั้งจำเลยมีเจตนาเพียงขนย้ายสิ่งของจึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการพาติดตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2893/2562
การที่จำเลยที่ 1 ยิงปืนเพื่อข่มขู่ผู้เสียหายเป็นการยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อันเป็นส่วนหนึ่งของความผิดฐานใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหายอยู่ในตัว จึงเป็นการกระทำความผิดที่รวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ซึ่งศาลจะลงโทษอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย จึงให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดโดยใช่เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน อีกสถานหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8261/2561
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 83 กับร่วมกันมีอาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด โดยไม่มีหมายเลขทะเบียนและมีกระสุนปืนไม่ทราบชนิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 86 ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องจำเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 86 เสียด้วย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 288, 80, 83 และข้อหาร่วมกันมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนและมีกระสุนปืนไม่ทราบชนิดไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2561
ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธปืนต้องได้รับโทษหนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้อาวุธปืนที่ยึดได้จากรถคันเกิดเหตุจะถูกซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้พกติดตัวหรือวางในลักษณะพร้อมหยิบฉวยได้ทันทีก็ตาม แต่อาวุธปืนมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในรังเพลิงพร้อมใช้งานได้ทันที นับเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2561
คดีนี้แม้จะไม่มีประจักษ์พยานขณะจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายก็ตาม แต่พยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งประกอบด้วยบันทึกคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสอนพยานบุคคลแวดล้อมกรณี วัตถุพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงเป็นลำดับ ทั้งมีรายละเอียดเอกสารจากหน่วยงานต่าง ๆ ลำดับเหตุการณ์ไว้ทุกขั้นตอนยากที่จะปรุงแต่งขึ้นได้ พยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ที่อ้างว่าขณะเกิดเหตุอยู่ที่อื่นไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุก็ดี ถูกทำร้ายจนต้องรับสารภาพก็ดี ไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2560
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ร่วมที่ 2 เป็นคนรักของจำเลยที่ 1 และไปคบหากับเพื่อนชายคนใหม่ จำเลยที่ 1 เข้าไปในหอพักเห็นโจทก์ร่วมที่ 1 นอนดูหนังอยู่กับโจทก์ร่วมที่ 2 จึงเกิดความโมโหและเข้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมทั้งสองทันที เป็นทำนองว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดด้วยเหตุบันดาลโทสะ ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่รู้ว่าจำเลยที่ 1 จะไปกระทำความผิดและไม่ทราบว่าจำเลยที่ 1 พาอาวุธไปด้วย จำเลยที่ 2 เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ถูกทำร้ายจึงเข้าไปช่วยและห้าม เป็นทำนองว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีเจตนาร่วมกระทำความผิดนั้น จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังตามฟ้อง จำเลยทั้งสองเพิ่งยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 (ที่แก้ไขใหม่) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอาวุธปืนไม่ทราบชนิดและขนาด ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ 1 กระบอก มิได้ยืนยันว่าเป็นอาวุธปืนที่ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองว่า เป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2560
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งให้การในชั้นสอบสวนเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์และพบเห็นเหตุการณ์ด้วยตนเอง มิได้รับฟังมาจากผู้อื่น และจำเลยที่ 1 และที่ 2 มาเบิกความในชั้นพิจารณาของศาลด้วยตนเอง ทั้งคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีเหตุผลเชื่อได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การไว้ด้วยความสมัครใจ จึงเป็นปัญหาดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน หาใช่กรณีเป็นปัญหาในเรื่องพยานบอกเล่าไม่ แม้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 จะมีลักษณะเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แต่จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับว่า ได้ร่วมกับ พ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย จึงไม่ได้เป็นการปัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ให้เป็นความผิดของจำเลยที่ 2 แต่เพียงลำพังเท่านั้น แต่เป็นการให้การถึงเหตุการณ์ที่จำเลยที่ 1 ได้ประสบมายิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลยที่ 2 จึงรับฟังบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ อีกทั้งบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสาระสำคัญสอดคล้องกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การไว้ในฐานะพยาน ยิ่งทำให้บันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีน้ำหนักให้รับฟังมากขึ้น และจำเลยที่ 2 ยังนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพโดยทำกริยาท่าทางที่ร่วมกับจำเลยที่ 1 ไปดูบ้านของผู้ตายก่อนเกิดเหตุ ให้พนักงานสอบสวนถ่ายรูป และบันทึกการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ ซึ่งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่สมัครใจแต่อย่างใด จึงรับฟังการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และโจทก์ร่วมได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9087/2559
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2549 จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 15 เดือน ฐานร่วมกันบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้าย และร่วมกันทำร้ายร่างกายเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 158/2549 ของศาลชั้นต้น จำเลยกระทำความผิดในคดีก่อนในขณะที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี และมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ทั้งศาลได้พิพากษาลงโทษจำคุกไม่น้อยกว่าหกเดือน และภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นโทษในคดีดังกล่าว (จำเลยพ้นโทษวันที่ 1 กันยายน 2552) จำเลยกลับมากระทำผิดในคดีนี้ ซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายซ้ำในอนุมาตราเดียวกันอีก และมิใช่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการเพิ่มโทษจำเลยมาแล้ว เมื่อความผิดฐานร่วมกันมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและเครื่องกระสุนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และฐานร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 93 ได้ ศาลก็มีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยหนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 ซึ่งเป็นบทเบากว่าได้ แม้โจทก์จะขอเพิ่มโทษตาม ป.อ. มาตรา 93 โดยไม่ได้ขอตาม ป.อ. มาตรา 92 มาด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14150/2558
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 24 เป็นบทบัญญัติความผิดสำหรับผู้ที่มีหรือจำหน่ายซึ่งอาวุธปืนสำหรับการค้าโดยเฉพาะ อันมีอัตราโทษหนักกว่าผู้ที่กระทำผิดฐานมีอาวุธปืนทั่ว ๆ ไปซึ่งมิใช่เพื่อการค้า เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยมีและจำหน่ายสำหรับการค้านี้เป็นปืนจำนวนเดียวกันและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอาวุธปืนอื่นอีก จึงลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7 อีกกระทงหนึ่งไม่ได้ ส่วนการที่จำเลยมีอาวุธปืนจำนวนดังกล่าวสำหรับการค้าไว้ในความครอบครองของจำเลยและจำเลยได้จำหน่ายอาวุธปืนจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้มีชื่อนั้น พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 24 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ประกอบ ซ่อมแซม เปลี่ยนลักษณะ สั่ง นำเข้า มีหรือจำหน่าย ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนสำหรับการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่” และหากผู้ใดฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตราดังกล่าวจะต้องได้รับโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 73 เช่นนี้ย่อมเห็นได้ว่า แม้จำเลยจะมีและจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้า ก็ถือเป็นกรรมในบทมาตราเดียวกัน ไม่ต่างกัน เพราะการที่จำเลยจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าได้ จำเลยย่อมจะต้องมีอาวุธปืนนั้นไว้ในครอบครองอยู่ก่อนเมื่อจำเลยมีอาวุธปืนสำหรับการค้าและจำหน่ายอาวุธปืนดังกล่าวไปทั้งหมดแล้วก็ไม่มีอาวุธปืนสำหรับการค้าเหลืออยู่ในความครอบครองของจำเลยอีก ดังนั้น การที่จำเลยมีและจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าจึงเป็นความผิดต่อเนื่องกรรมเดียวตั้งแต่เริ่มมีจนเลิกมีคือจำหน่ายอาวุธปืนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายอาวุธปืนสำหรับการค้าเพียงกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12802/2558
เมื่อผู้เสียหายทั้งสองยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 คำร้องดังกล่าวย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของคดีอาญาและไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 253 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีส่วนอาญายังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์ยังคงอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ การกำหนดค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งซึ่งศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 46 จึงต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญาให้เป็นที่ยุติเสียก่อน แม้ผู้ร้องทั้งสองจะมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจหยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัย เพื่อให้เป็นไปตามผลแห่งคดีอาญาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกคดีส่วนแพ่งขึ้นวินิจฉัย และกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นผู้เสียหายคดีนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10434/2558
แม้ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ได้ ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครอง เมื่อจำเลยไม่ได้ฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงรับฟังยุติว่าจำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ตามฟ้องรวมถึงความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย และความผิดดังกล่าวเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6899/2557
เมื่ออาวุธปืนที่จำเลยมีและพยายามจำหน่ายสำหรับการค้าเป็นอาวุธปืนพกออโตเมติก (STAR) ขนาด .38 (9 มม.) ไม่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานอนุญาต และจำเลยยังมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่น ซองกระสุนปืน และเครื่องกระสุนปืนของกลางอื่นอีก การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกกระทงหนึ่งด้วย จึงต้องลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6368/2557
การมีอาวุธปืนซึ่งนายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 55, 78 วรรคหนึ่ง ส่วนการมีกระสุนปืนที่สามารถใช้ร่วมกันได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง การที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตรา ย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิดสองฐานนี้ออกจากกัน แม้ว่าจำเลยจะมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองในเวลาเดียวกัน อาวุธปืนและกระสุนปืนใช้ร่วมกันได้ การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษให้ถูกต้องจึงไม่อาจแก้ไขให้เรียงกระทงลงโทษในส่วนนี้ได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11092/2556
อาวุธปืนของกลางสามารถใช้ยิงได้กับกระสุนปืนเล็กกลขนาด .223 (5.56 มิลลิเมตร) แสดงให้เห็นว่าอาวุธปืนของกลางถูกดัดแปลงแก้ไขจนสามารถใช้ยิงกับกระสุนปืนเล็กกลของกลางได้ เจตนาในการมีอาวุธปืนของกลางและกระสุนปืนเล็กกลของกลางของจำเลย จึงมีความประสงค์เดียวกันเพื่อที่จะใช้กระสุนปืนเล็กกลของกลางเข้ากับอาวุธปืนของกลาง ทั้งอาวุธปืนและกระสุนปืนมีไว้ในครอบครองด้วยกัน โดยกระสุนปืนนั้นเป็นกระสุนปืนที่ใช้ยิงได้กับอาวุธปืน ซึ่งถือว่าเป็นกรรมเดียว เช่นนี้ การกระทำของจำเลยในการมีอาวุธปืนของกลางและกระสุนปืนเล็กกลของกลางจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาฎีกาที่ 5139/2545
การที่นายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืนส่วนบุคคล (แบบ ป.3) ให้แก่ผู้ขออนุญาต ถือได้ว่านายทะเบียนอาวุธปืนได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนได้แล้ว ส่วนการไปซื้อหรือรับโอนอาวุธปืนตามแบบ ป.3 ดังกล่าว แล้วนำไปดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน (แบบ ป.4) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องมาเพื่อควบคุมอาวุธปืนในราชอาณาจักรให้รู้ว่าอาวุธปืนแต่ละกระบอกอยู่ในครอบครองของผู้ใดเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ขออนุญาตเพิ่งได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเมื่อนายทะเบียนอาวุธปืนออกใบอนุญาตแบบ ป.4 ให้
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 23 (2) กำหนดให้แบบ ป.3 มีอายุ 6 เดือน นับแต่วันออก การที่จำเลยซื้อและครอบครองอาวุธปืนตามแบบ ป.3 แล้วดำเนินการขอจดทะเบียนรับใบอนุญาตแบบ ป.4 ภายในกำหนดเวลา จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
คำพิพากษาฎีกาที่ 8350/2547
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดมีเครื่องกระสุนปืน ซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน ให้ออกให้แก่บุคคลสำหรับใช้ในการป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน หรือในการกีฬา หรือยิงสัตว์ และวรรคสอง บัญญัติว่า ใบอนุญาตนั้นให้ออกสำหรับอาวุธปืนแต่ละกระบอก แต่ไม่ได้บัญญัติว่าให้ออกใบอนุญาตโดยเฉพาะสำหรับให้มีเครื่องกระสุนปืนด้วย แสดงว่าเมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ การที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนเป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนขนาด .22 แล้ว การที่จำเลยมีกระสุนปืนขนาด .22 เพื่อใช้กับอาวุธปืนดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีความผิด แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตให้มีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่จำเลยได้รับใบอนุญาต และจำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2540 พกพาปืน
เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นและพบอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนของกลางในกระเป๋าเอกสารซึ่งปิดอยู่และวางอยู่ที่เบาะหลังรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับเมื่อปรากฏว่ากระเป๋าเอกสารที่อาวุธปืนของกลางบรรจุอยู่ภายในนั้นโดยสภาพมีกุญแจล็อกถึง 2 ด้าน ทั้งวางอยู่ที่เบาะด้านหลัง การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นได้ยาก ทั้งจำเลยมีเจตนาเพียงขนย้ายสิ่งของ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการพาติดตัว
คำพิพากษาฎีกาที่ 856/2505
คำว่าเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัด ทำ หรือใช้ประกอบกระสุนอันเป็นเครื่องกระสุนปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ.2490 มาตรา 4(2) นั้น คงมีแต่เฉพาะดินส่งกระสุนเท่านั้นที่บัญญัติไว้โดยตรงจึงไม่หมายถึงแต่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใดของกระสุนปืน เช่น หัวกระสุน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เหลือมาจากการใช้กระสุนปืนไปแล้วเท่านั้น ดังนั้น การที่จำเลยมีหัวกระสุนไว้จึงไม่เป็นความผิด
– คำพิพากษาฎีกาที่ 267/2506 (เอาปลอกกระสุนไปสวมไม้ตะพด…..)
จำเลยมีปลอกกระสุนปืนอยู่เพียง 2 ปลอก และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีไว้เพื่ออัดหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กลับได้ความว่ามีไว้ใช้สวมปลายไม้ตะพด ปลอกกระสุนปืนดังกล่าวจึงไม่มีสภาพเป็นเครื่องหรือสิ่งสำหรับอัดหรือทำหรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืนตามบทวิเคราะห์ศัพท์มาตรา 3 (2) แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 จำเลยไม่มีความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนโดยมิได้รับอนุญาต
คำพิพากษาฎีกาที่ 3606/2525 พกปืนเฝ้าบ้าน
จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยในแฟลตที่เกิดเหตุ แฟลตจึงเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลย และดาดฟ้าของแฟลตเป็นบริเวณของแฟลตซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย การที่จำเลยพกพาอาวุธปืนอยู่บนดาดฟ้าของแฟลตจึงเป็นการพกพาอาวุธปืนในบริเวณที่อยู่อาศัยของตน ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 (ที่แก้ไขแล้ว) มาตรา 8 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
คำพิพากษาฎีกาที่ 8943/2542
บ้านเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริเวณเพิงหน้าบ้านเป็นบริเวณของบ้านซึ่งใช้เป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยด้วย จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของตนจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3027/2526 จำเป็นต้องพกปืน
จำเลยเก็บปืนและเงิน 70,000 บาท ไว้ในลิ้นชักรถ เมื่อจำเลยนั่งรถไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป และการที่จำเลยขับรถไปส่งผู้เสียหายกับพวกแล้วพากันไปนั่งดื่มสุราและเบียร์ โดยทิ้งเงินไว้ในรถซึ่งจอดอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 – 6 วา แสดงว่าจำเลยมิได้ห่วงใยเกี่ยวกับความปลอดภัยของทรัพย์สิน การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2528
การที่จำเลยที่ 1 ถือปืนกลับบ้านพร้อมจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของที่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง และการพาอาวุธปืนนั้นไปเป็นการป้องกันไม่ให้จำเลยที่ 2 นำไปใช้กระทำผิดและนำกลับบ้านเท่านั้น มิได้มีเจตนาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาฎีกาที่ 3729/2528
การกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้นต้องได้ความว่า จำเลยได้นำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในถนนหรือทางสาธารณะหรือนำเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยการกระทำที่เป็นสาระสำคัญคือการนำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในขณะกระทำผิด หากปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่หยิบเอาอาวุธปืนสั้นของเพื่อนที่วางไว้บนโต๊ะหน้าร้านขายอาหารริมถนนมาเหน็บไว้ที่เอว และคงนั่งอยู่ที่โต๊ะไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2529
จำเลยพาอาวุธปืนไปที่หน้าโรงงานของบริษัทที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้มีอาวุธปืนติดตัว เนื่องจาก นาง ก. พานางสาว น. ไปพบบิดามารดาของจำเลยที่บ้านจำเลยเพื่อเจรจาในการที่จะสู่ขอนางสาว น. เป็นภรรยาจำเลย นาง ก. และนางสาว น. จะกลับบ้าน เป็นเวลาดึกมากแล้ว จำเลยจึงนั่งรถไปส่งบุคคลทั้งสองที่บริษัท การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่เป็นกรณีที่สมควรรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาฎีกาที่ 7803/2543 จำนำปืน
ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่” การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม
คำพิพากษาฎีกาที่ 7356/2546 เฝ้าสวน
การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง จะต้องเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ใช่กรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปที่ขนำนากุ้งไม่มีเลขที่ หมู่ที่ 3 ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อันจะต้องพาอาวุธปืนติดตัวไป ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ทั้งไม่ได้ความว่าขนำนากุ้งดังกล่าวเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแต่อย่างใด เพียงการพาอาวุธติดตัวไปที่ขนำนากุ้งหาเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่ ฟ้องเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ไม่ได้ ปัญหาว่าฟ้องคดีอาญาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2518
พิพากษาว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 11 มม.จากนายทะเบียนท้องที่ตามใบอนุญาตที่ 1876/2515 กระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลางขนาด 11 มม. (จำนวน 128 นัด กับ 30 ปลอก ) ใช้กับอาวุธปืนของจำเลยได้ดังนี้ การมีกระสุนปืนรวมทั้งปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงแล้ว หากมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่เป็นความผิดตามนัยแห่งมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงถือได้ว่ากระสุนปืนกับปลอกกระสุนปืน จำเลยมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนของจำเลย ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ เป็นการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัวโดยไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2494
เมื่อมีใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนแล้ว การมีกระสุนปืนสำหรับอาวุธปืนนั้น ไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษอีกเพราะการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน เป็นการอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัว