ผู้รับจำนำปืนซึ่งครอบครองปืนอยู่ก็ไม่สามารถถือครองไว้ได้เช่นกันครับ เพราะ ใบอนุญาตฯนั้นออกให้แก่บุคคลเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ หากจะนำไปจดทะเบียนขอใบอนุญาติแก่ปืนกระบอกดังกล่าวก็ ไม่สามารถทำได้ เรียกเป็นศัพท์ที่เราคุ้นหูกันได้ว่า ปืนผิดมือ

ก่อนอื่น ท่านจำต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับ การจำนำ และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เนื่องด้วย “อาวุธปืน” มีกฎหมายควบคุมโดยเฉพาะจึงค่อนข้างซับซ้อนพอควรครับ ในวันนี้ เราจึงขออาสามาให้คำตอบทุกท่าน โดยสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย โดยการเรียบเรียงประเด็นดังนี้ครับ

อันดับแรก เข้าใจหลักกฎหมายเกี่ยวข้องกับการ “จำนำ”

อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้

มาตรา 747 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การจำนำ คือการที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำครอบครองเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
          ในการบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งให้ผู้จำนำทราบล่วงหน้า ถ้าผู้จำนำยังเพิกเฉย ผู้รับจำนำอาจนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้ (มาตรา ๗๖๔ มาตรา ๗๖๕ มาตรา ๗๖๖ มาตรา ๗๖๗ และมาตรา ๗๖๘)
          การจำนำสิ้นสุดเมื่อหนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้ว หรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว เป็นต้น การที่ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อมทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)

สำหรับการ จำนำปืน นั้น ตามกฎหมายจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ไปยังผู้รับจำนำปืน ผู้รับจำนำปืนเพียงแต่มีการ “ครอบครอง” แทนผู้จำนำเท่านั้น

สรุป ดังนั้น หากวัตถุแห่งการจำนำคือ อาวุธปืน กรรมสิทธิ์ในปืน จึงยังอยู่ที่ผู้จำนำครับ ผู้รับจำนำปืนไว้ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในปืน ที่จะครอบครองเพื่อนำปืนไปใช้งาน หรือ จดทะเบียนขอใบอนุญาติแต่อย่างใด

สอง ทำความเข้าใจในส่วน “พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ”

ขั้นตอน การขอมีอาวุธปืนถูกกฏหมาย ฉบับมนุษย์เงินเดือน บ้านอยู่ต่างจังหวัด

ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่

มาตรา 7 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน

ตามมาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่ จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ซึ่งใบอนุญาตสำหรับปืนกระบอกใด ก็ออกให้เฉพาะต่อบุคคลนั้น เมื่อการจำนำนั้น ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้อยู่ในการครอบครองของผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และมาตรา 758

สรุป ดังนั้น ผู้รับจำนำปืนซึ่งครอบครองปืนอยู่ก็ไม่สามารถถือครองไว้ได้เช่นกันครับ เพราะ ใบอนุญาตฯนั้นออกให้แก่บุคคลเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ หากจะนำไปจดทะเบียนขอใบอนุญาติแก่ปืนกระบอกดังกล่าวก็ ไม่สามารถทำได้ เรียกเป็นศัพท์ที่เราคุ้นหูกันได้ว่า ปืนผิดมือ ครับผม

หากรับจำนำปืนมา ต้องคืนหรือไม่ แล้วเงินที่ให้ไปหล่ะ ?

ส่งมอบปืนจำนำคืน

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคักไม่เกินห้าปีหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรค สองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท

หมวด 6 บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ

ตอบ จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อผู้รับจำนำปืน ไม่อาจครอบครองปืนได้ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ทั้งที่เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการ จำนำปืน ดังนั้น ผู้รับจำนำปืน จึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาวุธปืนคืนให้แก่ผู้นำมาจำนำปืนในท้ายที่สุดแล้วตามกฎหมาย

เพราะหากฝ่าฝืนเท่ากับว่าเรามีปืนผิดมือ คือ ครอบครองปืนมีทะเบียน แต่ทะเบียนเป็นของผู้อื่น(ผู้จำนำปืน) มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ครับ

หากแต่ฟ้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินแทนได้นะ

กู้ยืมเงิน รับจำนำปืน

ถึงแม้สัญญาจำนำจะไม่เกิดขึ้น แต่ยังเหลือส่วนสัญญากู้ยืมเงินที่ยังอาจเรียกร้องกันได้อยู่ครับ

ทั้งนี้ สัญญานั้นมีการกู้ยืมเงินกันเกินกว่า 2,000 บาท หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตามกฎหมายมาตรา

การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

มาตรา 653 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

แต่อย่างไรก็ดี หลักฐานเป็นหนังสือการกู้ยืมเงินนี้จะทำขึ้นในภายหลังก็ได้ครับ หากตกลงกันต่อไปได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ก่อนหรือในขณะฟ้องคดีกู้ยืมเงิน โดยในการฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา มาตรา 193/30

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการบริการทางกฎหมายสำหรับ “การจำนำปืน” โดยเฉพาะ ติดต่อเรา ณัฐภัทร เฟิร์ม ที่นี่ NATTAPATFIRM.COM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีให้บริการทุกท่านครับ

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.