ก่อนอื่น ท่านจำต้องศึกษากฎหมายเกี่ยวกับ การจำนำ และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ เนื่องด้วย “อาวุธปืน” มีกฎหมายควบคุมโดยเฉพาะจึงค่อนข้างซับซ้อนพอควรครับ ในวันนี้ เราจึงขออาสามาให้คำตอบทุกท่าน โดยสามารถทำความเข้าใจได้ง่าย โดยการเรียบเรียงประเด็นดังนี้ครับ
สารบัญ
อันดับแรก เข้าใจหลักกฎหมายเกี่ยวข้องกับการ “จำนำ”
อันว่าจำนำนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำส่งมอบสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้
มาตรา 747 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การจำนำ คือการที่ผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตนเป็นเจ้าของให้แก่ผู้รับจำนำครอบครองเพื่อเป็นการประกันว่าตนจะชำระหนี้ (มาตรา ๗๔๗ และมาตรา ๗๔๘)
ในการบังคับจำนำ ผู้รับจำนำต้องแจ้งให้ผู้จำนำทราบล่วงหน้า ถ้าผู้จำนำยังเพิกเฉย ผู้รับจำนำอาจนำทรัพย์สินที่จำนำนั้นออกขายทอดตลาดได้ (มาตรา ๗๖๔ มาตรา ๗๖๕ มาตรา ๗๖๖ มาตรา ๗๖๗ และมาตรา ๗๖๘)
การจำนำสิ้นสุดเมื่อหนี้ที่นำมาจำนำระงับไป เช่น มีการชำระหนี้กันแล้ว หรือได้หักกลบลบหนี้กันแล้ว เป็นต้น การที่ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับไปสู่การครอบครองของผู้จำนำย่อมทำให้การจำนำสิ้นสุดลงเช่นกัน (มาตรา ๗๖๙)
สำหรับการ จำนำปืน นั้น ตามกฎหมายจะไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ไปยังผู้รับจำนำปืน ผู้รับจำนำปืนเพียงแต่มีการ “ครอบครอง” แทนผู้จำนำเท่านั้น
สรุป ดังนั้น หากวัตถุแห่งการจำนำคือ อาวุธปืน กรรมสิทธิ์ในปืน จึงยังอยู่ที่ผู้จำนำครับ ผู้รับจำนำปืนไว้ จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในปืน ที่จะครอบครองเพื่อนำปืนไปใช้งาน หรือ จดทะเบียนขอใบอนุญาติแต่อย่างใด
สอง ทำความเข้าใจในส่วน “พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ”
ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่
มาตรา 7 พระราชบัญญัติ อาวุธปืน
ตามมาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืน หรือ เครื่องกระสุนปืน เว้นแต่ จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ซึ่งใบอนุญาตสำหรับปืนกระบอกใด ก็ออกให้เฉพาะต่อบุคคลนั้น เมื่อการจำนำนั้น ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์ที่จำนำให้อยู่ในการครอบครองของผู้รับจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 747 และมาตรา 758
สรุป ดังนั้น ผู้รับจำนำปืนซึ่งครอบครองปืนอยู่ก็ไม่สามารถถือครองไว้ได้เช่นกันครับ เพราะ ใบอนุญาตฯนั้นออกให้แก่บุคคลเป็นการเฉพาะรายเท่านั้น ไม่อาจโอนให้แก่กันได้ หากจะนำไปจดทะเบียนขอใบอนุญาติแก่ปืนกระบอกดังกล่าวก็ ไม่สามารถทำได้ เรียกเป็นศัพท์ที่เราคุ้นหูกันได้ว่า ปืนผิดมือ ครับผม
หากรับจำนำปืนมา ต้องคืนหรือไม่ แล้วเงินที่ให้ไปหล่ะ ?
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคักไม่เกินห้าปีหรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้นั้นฝ่าฝืนมาตรา 8ทวิ วรรค สองด้วย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาท
หมวด 6 บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ตอบ จากที่ได้กล่าวไปข้างต้น เมื่อผู้รับจำนำปืน ไม่อาจครอบครองปืนได้ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ทั้งที่เป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการ จำนำปืน ดังนั้น ผู้รับจำนำปืน จึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาวุธปืนคืนให้แก่ผู้นำมาจำนำปืนในท้ายที่สุดแล้วตามกฎหมาย
เพราะหากฝ่าฝืนเท่ากับว่าเรามีปืนผิดมือ คือ ครอบครองปืนมีทะเบียน แต่ทะเบียนเป็นของผู้อื่น(ผู้จำนำปืน) มีโทษ จำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท ครับ
หากแต่ฟ้องเป็นสัญญากู้ยืมเงินแทนได้นะ
ถึงแม้สัญญาจำนำจะไม่เกิดขึ้น แต่ยังเหลือส่วนสัญญากู้ยืมเงินที่ยังอาจเรียกร้องกันได้อยู่ครับ
ทั้งนี้ สัญญานั้นมีการกู้ยืมเงินกันเกินกว่า 2,000 บาท หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ตามกฎหมายมาตรา
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
มาตรา 653 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
แต่อย่างไรก็ดี หลักฐานเป็นหนังสือการกู้ยืมเงินนี้จะทำขึ้นในภายหลังก็ได้ครับ หากตกลงกันต่อไปได้ แต่ต้องทำเป็นหนังสือ ก่อนหรือในขณะฟ้องคดีกู้ยืมเงิน โดยในการฟ้องเรียกให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา มาตรา 193/30
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือต้องการบริการทางกฎหมายสำหรับ “การจำนำปืน” โดยเฉพาะ ติดต่อเรา ณัฐภัทร เฟิร์ม ที่นี่ NATTAPATFIRM.COM ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีให้บริการทุกท่านครับ