จัดซื้อจัดจ้าง
สารบัญ
อะไรคือการ จัดซื้อจัดจ้าง ?
การจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หมายถึงการซื้อสินค้า เช่าสินค้า การจ้างเหมาบริการ การจ้างทำของ รวมถึงการจ้างก่อสร้างทุกโครงการ ที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการต้องผ่านขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างตามที่กำหนดไว้ใน พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560
ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ
ขั้นตอนที่ 1. จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างและการทำรายงานขอซื้อขอจ้าง
คือ หน่วยงานของรัฐได้รับอนุมัติงบประมาณแล้วให้จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีพร้อมกำหนดขอบเขตงานหรือสเปคของพัสดุที่ต้องการจากนั้นจึงจัดทำรายงานขอซื้อขอจ้างเสนอไปยังหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบต่อไปด้วยแผนที่ประกอบด้วยชื่อ,โครงการ,วงเงินและช่วงเวลาที่จะจัดซื้อจัดจ้าง โดยต้องเผยแพร่แผนให้สาธารณชนได้รับทราบผ่านทาง www.gprocurement.go.th
ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
พรบ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560
ได้กำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างไว้ 3 วิธีอันได้แก่
2.1 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป เป็นวิธีที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำประกาศการจัดซื้อจัดจ้างและเผยแพร่ให้ผู้ประกอบการและสาธารณชนทราบโดยทั่วกันหากผู้ประกอบการรายใดสนใจยื่นข้อเสนอต้องทำการลงทะเบียนเป็นผู้ค้าภาครัฐที่ www.gprocurement.go.th รวมทั้งต้องมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งนี้การประกาศการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปมี 3 วิธีคือ
1 วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (E-Market) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าในกรณีที่วงเงินเกิน 500 บาทขึ้นไปซึ่งเป็นสินค้าที่มีคุณลักษณะเฉพาะไม่ซับซ้อนและมีมาตรฐานเช่นกระดาษตลับผงหมึกแฟ้มเอกสารเครื่องถ่ายเอกสารเครื่องปรับอากาศคอมพิวเตอร์หรือสินค้าอื่นที่ได้กำหนดคุณลักษณะไว้ในระบบ E catalog
2 วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในวงเงินเกิน 500 บาทขึ้นไปและที่ไม่ได้กำหนดไว้ใน E Market เช่นเครื่องมือแพทย์เวชภัณฑ์ยางานก่อสร้างงานวางระบบสารสนเทศเป็นต้น
3 วิธีสอบราคาเป็นการซื้อหรือการจ้างในวงเงินเกิน 50,000 บาทแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาทซึ่งจะใช้วิธีนี้เฉพาะกรณีที่ไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี market หรืออีบิดดิ้งเนื่องจากพื้นที่นั้นไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตได้
2.2 วิธีคัดเลือก เป็นวิธีที่หน่วยงานของรัฐส่งหนังสือเชิญชวนไปยังผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขให้เขายื่นข้อเสนอตามวันเวลาและสถานที่ที่กำหนดโดยต้องไม่น้อยกว่า 3 รายการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีคัดเลือกใช้ได้ใน 7 กรณีดังนี้1 เมื่อใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปแล้วแต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก
2 เมื่อต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีคุณลักษณะพิเศษหรือซับซ้อนหรือให้บริการโดยผู้ประกอบการที่มีความชำนาญเป็นพิเศษและประกอบการที่มีจำนวนจำกัด
3 เมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องใช้พัสดุ
4เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีคุณลักษณะหรือข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ
5เมื่อจำเป็นต้องซื้อพัสดุโดยตรงจากต่างประเทศ
6เมื่อเป็นการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่ใช้ในราชการลับหรือที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศและ
7 เมื่อต้องการจ้างซ่อมพัสดุที่ต้องมีการถอดตรวจและต้องประเมินค่าเสียหายก่อนแล้วจึงประเมินค่าซ่อมได้เช่นซ่อมเครื่องจักรซ่อมเครื่องยนต์เครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น
2.3.วิธีเฉพาะเจาะจง เป็นวิธีที่หน่วยงานของรัฐจะส่งหนังสือเชิญชวนหรือดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกับผู้ประกอบการเพียงรายเดียวที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดให้เขายื่นข้อเสนอหรือเข้ามาเจรจาต่อรองราคากับหน่วยงานของรัฐโดยตรงเพื่อจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีเฉพาะเจาะจงใช้ได้ใน 7 กรณีเช่นกัน ดังนี้
1 เมื่อใช้ทั้งวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือกแล้วแต่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอ
2 เมื่อต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีวงเงินไม่เกิน 500,000 บาท
3 เมื่อต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีผู้ประกอบการหรือตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศ
4 เมื่อต้องการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุเพื่อนำไปใช้โดยฉุกเฉิน
5เมื่อต้องการซื้อพัสดุเพิ่มเติมหรือจ้างต่อเนื่องกับรายเดิมเพื่อความสมบูรณ์และต่อเนื่องในการใช้พัสดุ
6 เมื่อเป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด
7เมื่อต้องการซื้อหรือเช่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นต้องซื้อเฉพาะที่แห่งนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 3 ประกาศผู้ชนะและการขออนุมัติสั่งซื้อ
หลังจากดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามกระบวนการที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนและได้ผู้ชนะการเสนอราคาแล้วให้คณะกรรมการเสนอเรื่องขออนุมัติการสั่งซื้อหรือสั่งจ้างต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐและประกาศผู้ชนะการเสนอราคาผ่านเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางและเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐพร้อมทั้งติดประกาศที่หน่วยงานนั้นด้วย >อ่านเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 4 จัดทำสัญญาเมื่อประกาศชื่อผู้ชนะ
ในการจัดซื้อจัดจ้างหน่วยงานของรัฐจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เป็นผู้ชนะสามารถอุทธรณ์การตัดสินได้ภายในระยะเวลา 7 วันหากครบกำหนดแล้วไม่มีผู้อุทธรณ์หรือการอุทธรณ์ฟังไม่ขึ้นหน่วยงานของรัฐจึงเชิญผู้ประกอบการที่เป็นผู้ชนะเข้ามาทำสัญญากับตามแบบที่กำหนดได้อันหนึ่งหน่วยงานของรัฐต้องประกาศเผยแพร่สาระสำคัญในสัญญาหรือข้อตกลงที่ได้ลงนามแล้วในเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลาง >อ่านเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 5 การบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุเมื่อถึงกำหนดส่งมอบงาน
ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุตรวจรับของตามที่ระบุไว้ในสัญญาทางผู้ประกอบการส่งของล่าช้าอาจจะต้องเสียค่าปรับให้หน่วยงานของรัฐพรบ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับนี้ ในการดำเนินการตรวจรับพัสดุนั้น ตามระเบียบฯ ได้แยกเป็น 2 ประเภทการตรวจรับดังนี้ คือ การตรวจรับพัสดุในงานซื้องานจ้างทั่วไป (ข้อ 175) และ การตรวจรับพัสดุในงานจ้างก่อสร้าง (ข้อ 176) >อ่านเพิ่มเติม