ช่วงนี้ทาง สำนักกฎหมาย ณัฐภัทร เฟริม มักจะประสบพบเจอปัญหาลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยอ้างสาเหตุต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิดที่ทำให้ ผลประกอบการลดลง เคยมีประวัติอาชญากร หรือแม้กระทั่งการกระทำผิดกฎระเบียบของบริษัท เพื่อที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ในบทความนี้จะขอนำเสนอว่า เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างแล้วมีสิทธิเรียกร้องอะไรต่อนายจ้างบ้าง และจะต้องดำเนินการอย่างไร?
สารบัญ
สิทธิที่จะเรียกร้องหากถูกไล่ออก(เลิกจ้าง)
1. เรียกค่าชดเชย
ขาดไม่ได้เลยสำหรับการเลิกจ้าง สิ่งที่ตามมาคือ “ค่าชดเชย” โดยปกติหากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยที่ลุกจ้างไม่ได้กระทำผิดอันใด นายจ้างจะต้องใช้เงิน “จำนวนหนึ่ง” แก่ลูกจ้างตามระยะเวลาทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างได้นำเงินดังกล่าวไปใช้จ่ายจุนเจือครอบครัวในระหว่างเวลาที่หางานใหม่ สำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิจะได้รับเงินค่าชดเชยนี้ จะต้องมีหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
1.1 ถูกเลิกจ้าง
ก. ถูกเลิกจ้าง คือ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างคนนั้นๆออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม หรือก็คือไม่ใช่กรณีที่ลูกจ้างตกลงกับนายจ้างลาออกจากงาน ตามที่ สำนักกฎหมายฯ เคยประสบพบเจอ นายจ้างมักจะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยโดยอ้างว่า “ลูกจ้างเป็นฝ่ายลาออกเอง” หรือก็คือนำใบลาออกไปให้ลูกจ้างเซ็นต์ ดังนั้นแล้ว สำนักกฎหมายฯ ขอเตือนท่านทั้งหลายที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ว่า “ห้ามเซ็นต์เอกสารอะไรในลักษณะที่เป็นการยินยอมลาออก หรือยินยอมรับเงินชดเชยเพียงจำนวนเท่านั้นเท่านี้จนกว่าจะได้ตรวจสอบสิทธิที่ตนมีเสียก่อน ไม่ว่านายจ้างจะอ้างเหตุผลอย่างใดๆก็ตาม” หรือ
อีกวิธีการหนึ่งที่ถือว่ายอดฮิตในวงการ คือ “การทำสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลาทีละฉบับ” ซึ่งการทำสัญญาเช่นนี้หากนายจ้างคนใดไม่ให้ลูกจ้างคนนั้นต่อสัญญาโดยไม่มีสาเหตุ หากงานที่ให้ลูกจ้างคนนั้นทำเป็นงานตามปกติธุรกิจของนายจ้าง ไม่ใช่เป็นครั้งคราวหรือตามฤดูกาล ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง หรือพูดง่ายๆ คือ แม้ลูกจ้างคนนั้นสิ้นสุดสัญญาลงแล้วนายจ้างก็ยังคงดำเนินธุรกิจหรือยังคงดำเนินกิจการในลักษณะเดิมอยู่
อนึ่ง หากนายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานโดยไม่มีสาเหตุ และไม่จ่ายค่าจ้างระหว่างเวลาดังกล่าว ย่อมถือเป็นการเลิกจ้างด้วย
1.2 ทำงานครบ 120 วัน
ข. ทำงานครบ 120 วัน เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย คือ ลูกจ้างคนนั้นจะต้องทำงานมาแล้ว 120 วัน หรือก็คือ 4 เดือน มองดูผิวเผินอาจไม่สำคัญอะไร แต่สำนักกฎหมายฯย้ำว่า สำคัญมาก! เพราะว่า แม้ขาดไปเพียงวันเดียว เช่น 119 วัน ลูกจ้างคนนั้นก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยแล้ว ในส่วนนี้นายจ้างหัวหมอมักจะหลีกเลี่ยงโดยวิธีการทำสัญญาแบบมีกำหนดเวลา 3 เดือน และทำสัญญาจ้างลูกจ้างคนนั้นๆใหม่ ทุกๆ 3 เดือน แต่สำนักกฎหมายฯ ขอบอกว่าหากลูกจ้างคนใดพบเจอเหตุลักษณะนี้ ไม่ต้องกังวล เนื่องจากในทางกฎหมายแรงงานหรือศาลแรงงานมักมองว่าเป็นการทำสัญญาหลีกเลี่ยงกฎหมายและจะนับเวลาทำงานต่อกันไป โดยถือเสมือนว่าได้มีการทำสัญญาเพียงครั้งเดียว
สำหรับจำนวนเงินค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับ ก็จะผูกโยงไปกับระยะเวลาทำงานด้วย คือ ยิ่งทำงานมานานมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีสิทธิได้รับค่าชดเชยมาก ดังนี้ (1 ซอง = 1 เดือน)
ทำงานมาครบ 120 วัน แต่ ยังไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 30 วัน (1เดือน) หรือ 1 ซอง
ทำงานมาครบ 1 ปี แต่ ยังไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 90 วัน (3เดือน) หรือ 3 ซอง
ทำงานมาครบ 3 ปี แต่ ยังไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 180 วัน (6เดือน)หรือ 6 ซอง
ทำงานมาครบ 6 ปี แต่ ยังไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 240 วัน (8เดือน) หรือ 8 ซอง
ทำงานมา ครบ 10 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน 300 วัน (10เดือน) หรือ 10 ซอง
1.3 โดนไล่ออกจากงานโดยไม่มีความผิด
ลูกจ้างผู้นั้นจะต้องไม่ถูกไล่ออกเพราะกระทำความผิด
ทางสำนักกฎหมายของเรา ต้องขอย้ำว่า การที่ลูกจ้างถูกไล่ออกเพราะทำผิดเพียงเล็กน้อย ยังมีสิทธิได้รับค่าชดเชยอยู่ โดยความผิดที่ร้ายแรงถึงขนาดจะไม่ได้รับค่าชดเชยมีต่อไปนี้
1). ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
2). จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
3). ประมาทเลินเล่อทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
4). ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
5). ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
6). ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
2. สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
หากจะพูดในภาษาบ้านๆนั้นเรียกว่า “ค่าตกใจ” กฎหมายกำหนดให้นายจ้างที่กำลังจะเลิกจ้างนั้นจะต้องบอกกล่าวแก่ลูกจ้างว่าจะเลิกจ้างตนเป็นการล่วงหน้า 1 รอบการจ่ายค่าจ้าง เช่น จ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 30 ของทุกเดือน หากนายจ้างบอกเลิกจ้างในวันที่ 15 สิงหาคม การเลิกจ้างย่อมมีผลในวันที่ 30 กันยายน โดยหากนายจ้างผู้นั้นบอกกล่าวเลิกจ้างไม่ครบตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และให้ลูกจ้างออกจากงานในทันที ย่อมต้องใช้ค่าตกใจนี้แก่ลูกจ้าง เป็นจำนวนค่าจ้างเท่ากับจำนวนวันที่ขาดไป
3. ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
สำหรับลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการนั้นมาครบ 1 ปี กฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดวันหยุดประจำปีให้ลูกจ้างผู้นั้นจำนวน 6 วัน โดยสามารถให้มากกว่า 6 วันก็ได้ ดังนั้นแล้ว หากลูกจ้างคนใดถูกเลิกจ้างโดยที่ตนยังไม่ได้ใช้สิทธิหยุดประจำปีย่อมสามารถเรียกเงินในส่วนวันหยุดประจำปีที่สะสมไว้นี้ได้
4. ค่าจ้าง, ค่าล่วงเวลา, ค่าทำงานในวันหยุดที่ค้างชำระ
5. คืนหลักประกัน
สำหรับงานที่กฎหมายแรงงานอนุญาตให้เรียกหลักประกันได้ อาทิ งานสมุห์บัญชี งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง ฯลฯ ในวันที่เข้าทำงานหากลูกจ้างคนใดได้ให้หลักประกันหรือได้จัดให้มีประกันการทำงานไว้แก่นายจ้าง เมื่อต้องออกจากงานนายจ้างย่อมจะต้องคืนหลักประกันนั้นๆแก่ลูกจ้าง
6. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม หมายความว่าอย่างไร ? สำนักกฎหมายต้องขอบอกว่า กฎหมายไม่ได้ให้ความหมายของคำดังกล่าวไว้ แต่สามารถเทียบได้กับคำพิพากษาต่าง ๆ ได้ โดยเท่าที่ศาลแรงงานเคยตัดสินมา กรณีที่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมมีดังต่อไปนี้
ก.
ข.
สำหรับสิทธิที่จะได้รับเงินตามข้อ 1. ถึง 5. นั้น หากนายจ้างไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างผู้นั้นจะต้องชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าว และจะต้องเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างนั้นในจำนวนร้อยละ 15 ต่อปีทุกๆ 7 วัน อีกด้วย
สำหรับสิทธิที่จะได้รับเงินตามข้อ 6. นั้น หากนายจ้างไม่จ่ายโดยไม่มีเหตุอันสมควร นายจ้างผู้นั้นจะต้องชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ของจำนวนเงินดังกล่าว
ขั้นตอนที่ควรปฎิบัติเมื่อถูกเลิกจ้าง
สำหรับในส่วนนี้ทางสำนักกฎหมายขอพูดถึงขั้นตอนหรือวิธีการที่จะได้มาซึ่งเงินที่นายจ้างจะต้องจ่าย โดยสามารถแยกได้ ดังนี้
ขั้นแรกให้ ร้องเรียนพนักงานตรวจแรงงาน สำหรับเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามข้อ 1. ถึง ข้อ 5. นั้นลูกจ้างสามารถนำเรื่องไปร้องเรียนต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ที่ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดนั้นๆได้ โดยหากเป็นพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะต้องนำเรื่องไปร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่นั้นๆ โดยแบ่งเป็น 10 พื้นที่ ด้วยกัน (พื้นที่ 1:รับผิดชอบเขตบางรัก ปทุมวัน ยานนาวา บางคอแหลม สาทร ,พื้นที่ 2: รับผิดชอบเขตจอมทอง ทุ่งครู บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะ ,พื้นที่ 3: รับผิดชอบเขต คลองเตย บางนา ประเวศ พระโขนง วัฒนา สวนหลวง ,พื้นที่ 4: รับผิดชอบเขตคันนายาว บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง ,พื้นที่ 5: รับผิดชอบเขตดินแดง พญาไท รายเทวี ห้วยขวาง ,พื้นที่ 6: รับผิดชอบเขตคลองสาน ธนบุรี บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ,พื้นที่ 7: รับผิดชอบเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ,พื้นที่ 8: รับผิดชอบเขตดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร สัมพันธวงศ์ ,พื้นที่ 9: รับผิดชอบเขตจตุจักร ดอกเมือง บางเขน บางซื่อ หลักสี่ ,พื้นที่ 10: รับผิดชอบเขตคลองสามวา สายไหม มีนบุรี ลาดกระบัง สะพานสูง หนองจอก) อ้างอิง สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้งหมด
สำหรับเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามข้อ 6. อยู่นอกเหนืออำนาจของพนักงานตรวจแรงงาน ดังนั้นในส่วนนี้ลูกจ้างต้องนำเรื่องไปฟ้องยังศาลแรงงานเอง
ต่อมา เมื่อพนักงานตรวจแรงงาน โดย กระทรวงแรงงาน รับเรื่องร้องเรียนดังกล่าวไว้แล้วจะต้องทำการสอบสวนลูกจ้างและจะต้องมี หนังสือเรียกนายจ้างมาสอบสวน หากเห็นว่านายจ้างจะต้องจ่ายเงินดังกล่าวก็จะมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินนั้นๆแก่ลูกจ้างภายในกำหนดเวลา หากนายจ้างไม่จ่ายเงินดังกล่าวแล้วจะมีโทษทางอาญาตามมา
ความเห็นของทนายความ
ตามประสบการณ์ที่สำนักกฎหมายเคยพบเจอมา นายจ้างมักนำเงินไปวางต่อศาลแรงงานและฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน โดยในชั้นนี้จะต้องใช้ระยะเวลา และทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายเช่นกัน
ฟ้องคดีโดยตรงต่อศาลแรงงาน เป็นอีกวิธีการที่จะทำให้ลูกจ้างได้รับเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ซึ่งวิธีการนี้สามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมรวมเข้าด้วยกันกับการฟ้องเรียกเงินอื่นๆได้ แต่มีข้อเสียคือจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
ติดต่อทนาย
สำหรับท่านใดที่มีเรื่องต้องการสอบถาม หรือยังไม่เข้าใจในหลักกฎหมายแรงงาน ขั้นตอนการช่วยเหลือ เมื่อถูกเลิกจ้าง หรือไล่ออก แล้วต้องการจะดำเนินการ สามารถสอบถามเข้ารับคำปรึกษาทางกฎหมายเข้ามาได้ที่ @Lineทนายความโดยตรง หรือ เบอร์โทร 0614206970 ทนายโฟน