ในปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า บุหรี่ไฟฟ้า มีจำหน่ายและพบเห […]

ในปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า บุหรี่ไฟฟ้า มีจำหน่ายและพบเห็นได้ง่ายทั้งตลาดนัดทั่วไปที่เปิดขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างโจ่งแจ้ง รวมถึงได้มี ร้านบุหรี่ไฟฟ้า ออนไลน์ อยู่จำนวนมากบนโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้บางคนอาจเกิดข้อสงสัยกันว่า บุหรี่ไฟฟ้า ในไทย ถูกกฎหมายแล้วหรือไม่? และ กรณีถูกตรวจค้นจากด่านตรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตำรวจมีอำนาจในการตรวจค้น จับกุม และยึดบุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงเรียกเงินค่าปรับในกรณีพกพาบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ทำให้วันนี้ สำนักงานกฎหมายณัฐภัทร จะเข้ามาให้คำตอบว่า บุหรี่ไฟฟ้า กับ กฎหมายไทย นั้นมีสภาพการณ์เป็นอย่างไร

บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายไทยหรือไม่

บุหรี่ไฟฟ้า คือ อุปกรณ์สูบพ่นควันที่มีสารนิโคตินอยู่ภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หลักการทำงานและผลลัพธ์คล้ายกับบุหรี่ตัว คือ มีสารออกฤทธิ์แก่ร่างกายหากแต่เป็นการใช้ไฟฟ้ากลั่นควันบุหรี่แทนพลังงานไฟเผาไหม้ใบยาสูบปกติ ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นนี้ 

หากแต่ถ้าเป็นเรื่องของกฎหมาย บุหรี่ไฟฟ้าได้ถูกควบคุมโดยหน่วยงานรัฐอย่าง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค เนื่องจากหน่วยงานรัฐเล็งเห็นได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้านั้นไม่มีการตรวจสอบถึงกลไกลการทำงานที่ปลอดภัย ทั้งด้วยสารเคมีในน้ำยาและระบบปฎิบัติการของตัวเครื่องเอง ด้วยเหตุนี้ บุหรี่ไฟฟ้าจึงผิดกฎหมายไทยจากการไม่ถูกรับรองและตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย

โทษตามกฎหมายของผู้พกพาหรือครอบครอง

ด้วยฐานความคิดจากหลักความปลอดภัย ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถครอบครองได้ในทฤษฎีกฎหมายไทย แต่อย่างไรก็ตามด้วยตลาดออนไลน์และการวางจำหน่ายที่ไม่รัดกุมและปฎิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทำให้เกิดการครอบครองบุหรี่ไฟฟ้าได้ง่ายต และจำนวนมากขึ้นจากการเข้าถึงที่ง่ายด้วย ร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าออนไลน์ การพกพาซ่อนที่สะดวกขึ้น ทำให้หน่วยงานที่เข้ามาแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ด้วยมาตรการทางภาษีต่อไป คือ กรมศุลกากร – Thai Customs ที่กำหนดโทษแก่ ผู้ครอบครองและรับไว้ซึ่งของหนีภาษี มีหลักว่า ผู้ครอบครองสินค้าหนีภาษี มีความผิดฐานรับไว้เป็นของซึ่งรู้ว่าไม่ผ่านศุลกากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ปี 2560 มีโทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10 เท่าของมูลค่าสินค้านั้น (เปรียบเทียบราคาสินค้าค่าปรับจากมูลค่ากลางในตลาดปัจจุบัน)

สรุปได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้ายังผิดกฎหมายไทยอยู่ในปี 2023 หากแต่มีบทลงโทษจาก พ.ร.บ.ศุลกากร เท่านั้น จากเหตุผลด้านความปลอดภัยโดยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคเห็นสมควร และมอบอำนาจแก่เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการลงโทษตามกฎหมาย

ตำรวจมีอำนาจจับกุมหรือไม่?

ท่านผู้อ่านอาจเคยพบเห็นข่าวหรือเคยเจอสถาการณ์ที่ตำรวจตรวจค้นรถหรือตัวท่าน และพบบุหรี่ไฟฟ้าในการครอบครอง ซึ่งแท้จริงแล้ว การที่ตำรวจมีอำนาจจับกุมและยึดของกลางที่ใช้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาได้นั้นจะต้องอาศัยอำนาจจากตัวบทกฎหมายที่ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฎิบัติหน้าที่เท่านั้น

กฎหมายที่ให้อำนาจจับบุหรี่ไฟฟ้า

ซึ่งอำนาจของกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ตาม กฎหมายไทย ได้แก่ คำสั่ง ห้ามนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษี ตามกฎหมาย อ้างอิง ประกาศกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ.2557 และ ห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า อ้างอิง คำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2558 และ ห้ามสูบบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่สารธารณะ อ้างอิง พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 

ทำให้ด้วยเหตุผลที่อ้างอิงตามกฎหมายลายลักอักษรที่ประเทศไทยยึดถือปฎิบัติแล้ว ประชาชนทั่วไปไม่มีความผิดฐานครอบครอง ด้วยหลักกฎหมายที่อ้างอิงนั้นมีเพียงฐานความผิดที่ นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า ขายบุหรี่ไฟฟ้า และ สูบในพื้นที่สารธารณะ เท่านั้น

หากท่านไม่ได้นำเข้า ค้าขาย หรือ สูบในพื้นที่สาธารณะ ตำรวจไม่มีอำนาจจับกุมและยึดทรัพย์สินซึ่งคือบุหรี่ไฟฟ้าของท่านได้ มิเช่นนั้นจะเป็นการ ปฎิบัติหน้าที๋โดยมิชอบ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เนื่องจากหน่วยงานที่มีอำนาจในการรับผิดชอบตามข้อห้ามที่ผิดกฎหมายไทยมีเพียง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค และ เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เพื่อเปรียบเทียบปรับในกรณีครอบครองเฉพาะเหตุผลด้านมาตรการทางภาษี

พบด่านตำรวจปฎิบัติหน้าที่มิชอบ

หากท่านได้รับการกลั่นแกล้งจากเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ได้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงดังเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งไม่มีอำนาจจับหรือเปรียบเทียบปรับในกรณีครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า(สิ่งของที่ไม่ได้เสียภาษีและนำเข้าในราชอาณาจักรไทย)ที่เป็นหน้าที่ของกรมศุลกากรตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ท่านสามารถร้องเรียนต่อ ศูนย์ดํารงธรรมกระทรวงมหาดไทย หรือ ศูนย์ดำรธรรมจังหวัดที่ใกล้เคียงท่าน ตาม คู่มือการร้องเรียนร้องทุกข์ ได้ทันที เนื่องจากเป็นหน่วยงานอิสระจากอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เราใคร่แนะนำ 

ท้ายนี้ หวังว่าบทความ บุหรี่ไฟฟ้า กับ กฎหมายไทย จะช่วยตอบคำถามแก่ผู้ทุกข์ร้อนและอาจถูกกลั่นแกล้ง หรือ เดือดร้อนจากความไม่ทราบกฎหมาย และเจ้าหน้าที่รัฐที่ตีความตัวบทกฎหมายให้มิชอบด้วยกฎหมาย และดำรงความยุติธรรมรวมถึงเป็นความรู้แก่ผู้สนใจเรื่องราวของ บุหรี่ไฟฟ้า และ กฎหมาย ได้ไม่มากก็น้อย หากท่านมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อย่ารอช้าที่จะติดต่อ ทนายความ ปรึกษา ฟรี ของสำนักงานกฎหมายณัฐภัทร 

รับคำปรึกษากฎหมายติดต่อด่วนตลอด 24 ชั่วโมง

ทนายความประจำสนง.