ดาวน์โหลด ฟรี!
สัญญาค้ำประกัน
โดย
ณัฐภัทร เฟิร์ม
f.a.q.
รวมข้อถาม – ตอบ เกี่ยวกับข้อสัญญาค้ำประกัน
คลิกที่หัวข้อเพื่อเลือกอ่าน
หนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกัน คือสัญญาที่มีบุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ผู้ค้ำประกัน โดยที่ ผู้ค้ำประกันตกลงให้สัญญาแก่เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ หากลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) ไม่ชำระหนี้ที่ค้ำประกันนั้น ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกัน จะต้องเป็นบุคคลภายนอก (เช่น ไม่ใช่ตัวเจ้าหนี้หรือลูกหนี้เสียเอง)
โดยหนังสือค้ำประกันหรือสัญญาค้ำประกันมักถูกนำมาใช้ในกรณีที่ เจ้าหนี้ (เช่น ผู้ให้กู้ยืมเงิน ธนาคาร) ต้องการให้มีหลักประกันการชำระหนี้หรือการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หรือในทางกลับกัน ลูกหนี้ (เช่น ผู้กู้ยืมเงิน) อาจมีความน่าเชื่อถือทางการเงินไม่เพียงพอ เจ้าหนี้จึงต้องการบุคคลที่สามซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยมักเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงิน ได้แก่ ผู้ค้ำประกัน เข้ามารับผิดในหนี้ดังกล่าวนั้นด้วยในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ดังกล่าวนั้น
เมื่อผู้ค้ำประกันได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขและข้อตกลงการค้ำประกันกับเจ้าหนี้และลูกหนี้จนเป็นที่พอใจแล้ว ผู้ค้ำประกันจะต้องจัดทำหนังสือค้ำประกันเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยผู้ค้ำประกัน โดยอาจมีพยานลงนามในหนังสือค้ำประกันด้วยหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากกฎหมายค้ำประกันกำหนดให้ การค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญจึงจะสามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้
โดย ผู้ค้ำประกันอาจจัดทำคู่ฉบับของหนังสือค้ำประกันอย่างน้อย 3 ฉบับ เพื่อให้แต่ละฝ่ายเก็บไว้อ้างอิงไว้เป็นหลักฐานได้ฝ่ายละ 1 ฉบับ (เช่น เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และตัวผู้ค้ำประกันเอง) ผู้ค้ำประกันนำหนังสือค้ำประกันที่ลงนามเรียบร้อยแล้วไปชำระอากรแสตมป์ ตามอัตรา ระยะเวลา และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากหนังสือค้ำประกันและคู่ฉบับ ถือเป็นตราสารที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระอากรแสตมป์
ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากถูกทวงถามจากเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาเงินและดอกเบี้ยที่ตนต้องชำระให้แก่เจ้าหนี้แทนลูกหนี้ไปนั้นจากลูกหนี้ได้
ซึ่งผู้ค้ำประกันควรแจ้งให้ลูกหนี้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อมีการชำระหนี้แทนลูกหนี้ไป เนื่องจากหากลูกหนี้ไม่รู้แล้วได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ซ้ำอีก ผู้ค้ำประกันจะไม่มีสิทธิจะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ โดยผู้ค้ำประกันอาจต้องฟ้องเจ้าหนี้ให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ เพื่อเรียกเงินที่ผู้ค้ำประกันชำระไปนั้นคืน
ปรึกษาทนายความ หากคุณต้องการคำแนะนำส่วนบุคคลหรือความช่วยเหลือที่ตรงกับกรณีของคุณโดยเฉพาะ เราขอแนะนำให้คุณปรึกษาทนายความที่จะอุทิศเวลาในการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที
การปรึกษาดังกล่าวจะเป็นไปในรูปแบบใด? ทนายความจะอุทิศเวลาการทำงานให้กับคุณเป็นเวลา 30 นาที คุณจะสามารถสนทนาแลกเปลี่ยนทางโทรศัพท์กับทนายความได้เป็นเวลา 30 นาที คุณถาม ทนายความตอบ
ทนายความจะติดต่อฉันเมื่อไหร่และทางใด? ทนายความจะโทรศัพท์ติดต่อคุณภายใน 24 ชม. วันทำการหลังจากที่ได้รับการสั่งซื้อจากคุณ
ทำไมต้อง 30 นาที แล้วถ้าหากฉันต้องการเวลามากกว่านั้นล่ะ? จากประสบการณ์ของเราแล้ว ระยะเวลา 30 นาทีนั้นเป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนัดพบครั้งแรกกับทนายความ หากน้อยกว่านั้นทนายความอาจจะมีเวลาไม่พอที่จะตอบคำถามของคุณทั้งหมด หากมากกว่านั้นกรณีของคุณอาจจำเป็นต้องมีการทำงานในเชิงลึกมากกว่า หลังจากหมดเวลา 30 นาทีไปแล้วคุณสามารถซักถามกับทนายความต่ออีกได้
ADS.
โฆษณาของผู้สนับสนุนเรา
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนหลักของเรา 062-4436667